Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26063
Title: ชีวภูมิอากาศวิทยาและการเคลื่อนย้ายมวลชีวภาพของกล้าไม้วงศ์ยางบางชนิดในป่าเต็งรัง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Phenology and biomass allocation of some dipterocarpaceous seedlings in a dry dipterocarp forest, Chiang Mai province
Authors: เยาวลักษณ์ วงศ์สิงห์
Advisors: พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pipat.P@Chula.ac.th
Subjects: กล้าไม้ป่า
ป่าเต็งรัง -- ไทย -- เชียงใหม่
ป่าผลัดใบ -- ไทย -- เชียงใหม่
ชีวมวลป่าไม้ -- ไทย -- เชียงใหม่
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาชีวภูมิอากาศวิทยา (Phenology) และการเคลื่อนย้ายมวลชีวภาพ (Biomass alllocation) ของกล้าไม้วงศ์ยาง 3 ชนิด คือ พลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) เหียง (D. obtusifolius Teijsm. ex Miq.) และเต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) จากแปลงศึกษาถาวรในป่าเต็งรังที่ความสูง 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งกล้าไม้เป็น 3 ขนาด โดยใช้ความสูงเป็นเกณฑ์ดังนี้ กล้าไม้ขนาดเล็กสูง 16-35 ซม. กล้าไม้ขนาดกลางสูง 36-75 ซม. และกล้าไม้ขนาดใหญ่สูง 76-130 ซม. ศึกษาชีวภูมิอากาศวิทยาโดยวัดความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นที่ระดับพื้นดิน ขนาดใบ และนับจำนวนใบพร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนสีใบทุกเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 ถึงเดือนกรกฎาคม 2554 ผลการศึกษาพบว่ากล้าไม้พลวง เหียงและเต็งผลิใบใหม่ในเดือนพฤษภาคมและสีของใบเริ่มเปลี่ยนหลังจากเข้าสู่ฤดูแล้ง 2 เดือน โดยใบของกล้าไม้พลวงและเต็งเปลี่ยนสีในเดือนมกราคม และกล้าไม้เหียงเปลี่ยนสีในเดือนกุมภาพันธ์ กล้าไม้เหียงมีอายุใบมากที่สุดคือ 13 เดือน รองมาคือพลวงและเต็ง ซึ่งมีอายุใบเท่ากันคือ 9 เดือน จำนวนใบผลิใหม่และหลุดร่วงของกล้าไม้พลวงและเต็งในฤดูแล้ง (พ.ย.- เม.ย.) แตกต่างจากฤดูฝน (พ.ค.-ต.ค) แต่ไม่แตกต่างสำหรับกล้าไม้เหียง จำนวนใบผลิใหม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความชื้นในดินแต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอุณหภูมิอากาศสูงสุด ศึกษาการเคลื่อนย้ายมวลชีวภาพระหว่างใบ ลำต้น และราก ช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ ผลการศึกษาพบว่าน้ำหนักรากมีค่ามากกว่าน้ำหนักส่วนเหนือดินในทุกชนิดและทุกขนาด เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนใบ ลำต้น และรากของกล้าไม้ชนิดเดียวกันในแต่ละขนาด รวมทั้งจากการพิจารณาอัตราส่วนระหว่างส่วนที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงต่อส่วนที่ไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงพบว่ากล้าไม้พลวงและเต็งมีสัดส่วนแตกต่างกันตามขนาดกล้าไม้ แต่กล้าไม้เหียงทุกขนาดมีอัตราส่วนดังกล่าวไม่แตกต่างกันค่าอัตราส่วนของส่วนมวลชีวภาพเหนือดินและใต้ดินที่มีค่าน้อยกว่า 1.0 ชี้ให้เห็นว่ากล้าไม้ทุกชนิดและทุกขนาดสะสมมวลชีวภาพส่วนรากเป็นปริมาณมาก เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเคลื่อนย้ายมวลชีวภาพระหว่างชนิด พบว่า รูปแบบการเคลื่อนย้ายมวลชีวภาพของกล้าไม้ขนาดเล็กแตกต่างน้อยกว่ากล้าไม้ขนาดใหญ่ จากการศึกษาสรุปได้ว่า ชีวภูมิอากาศวิทยาของกล้าไม้วงศ์ยางในป่าเต็งรังมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างฤดูกาลอย่างชัดเจน เนื่องจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้แก่ ความชื้นในดิน และอุณหภูมิอากาศซึ่งกล้าไม้แต่ละชนิดมีรูปแบบการเคลื่อนย้ายมวลชีวภาพแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้จะมากขึ้นตามขนาดของกล้าไม้
Other Abstract: Phenology and biomass allocation was studied in 3 species of dipterocarpaceous seedlings, namely, Dipterocarpus tuberculatus Roxb., D. obtusifolius Teijsm. ex Miq. and Shorea obtusa Wall. ex Blume from a permanent plot in a Dry Dipterocarp forest locating on an altitude of 800 MSL at Queen Sirikit Botanic Garden, Chiang Mai Province. The seedlings were classified by height into 3 sizes (small 16-53 cm, midium 36-75 cm, and large 76-130 cm). The phenological study was done by measurement of total height, stem diameter at ground level, size of leaf, and counting of leaf number. Also, the change of leaf color was recorded. The measurements had been conducted monthly from April 10 to July 11. The results showed that new leaf began to expand in May, then the change of leaf color was clearly seen in 2 months after the dry season.Leaf color of D. tuberculatus and S. obtusa changed in January, that of D. obtusifolius was happened in February. Leaf age of D. obtusifolius seedling was the longest (13 months), following by D. tuberculatus and S. obtusa with a same age (9 months). Number of new leaf and flushed leaf of D. tuberculatus and S. obtusa seedlings in the dry season (November-April) was statistical difference from those in wet season (May-October). But this difference was not found for D. obtusifolius seedling. The number of new leaf positively correlated with soil moisture but negatively correlated with monthly maximum air-temperature. The study of biomass allocation among leaves, stem, and root of seedlings was done in the wet season when the leaves fully expanded. The underground weight was always higher than that of aboveground for all species and sizes of seedlings. When the ratios among leave:stem:root weight and and ratio of weight between photosyntheic and non-photosynthetic organs were compared among the 3 sizes of seedlings within a species, the results showed that those ratios varied by size of seedlings for D. tuberculatus and S. obtusa. However, the ratios were not significant difference among sizes of D. obtusifolius seedlings. The value of top/root weight which was always less than 1.0 implied that all of seedlings accumulated huge amount of biomass in root. Comparing the pattern of biomass allocation among the species, it was obvious that small size of seedlings had more similar pattren than that of the large size of seedlings. In conclusion, seasonal variation was clearly seen for the phenology of dipterocarpaceous seedlings in this dry dipterocarp forest because envrionmental factors, such as soil moisture and air temperature, significantly differed between the seasons. The pattern of biomass allocation among species was more or less similar depending on the seedlings size.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26063
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1869
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1869
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yoawwaluk_wo.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.