Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26107
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิสระ นิติฑัณฑ์ประภาศ
dc.contributor.authorชาลินี นิธินันทน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-26T06:48:13Z
dc.date.available2012-11-26T06:48:13Z
dc.date.issued2517
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26107
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517en
dc.description.abstractในแต่ละครอบครัว การเงินและความสุขความเจริญกับประโยชน์จากการเงินที่จะเกิดขึ้นแก่พ่อบ้าน แม่บ้าน ลูกบ้านทั่วถึงกันนั้น สำคัญอยู่ที่วิธีการหาเงินและจ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รั่วไหล การเงินของรัฐบาลหรือที่เรียกว่า การคลังและการงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศอย่างแท้จริงแล้ว ก็ต้องอาศัยหลักการเช่นเดียวกัน ประเทศไทยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า อัตราส่วนของรายจ่ายของรัฐต่อรายได้ประชาชาติสูงขึ้นทุกปีเป็นลำดับ ดังนั้นการรับและการใช้จ่ายเงินจึงจำเป็นจะต้องให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด มาตรการที่ใช้ในการควบคุมการรับและการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพนั้นได้แก่ กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดี แม้จะมีกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ เป็นมาตรการในการควบคุมการรับและการใช้จ่ายเงินแล้วก็ตาม แต่ปรากฏว่าการรับจ่ายเงินยังขาดวิธีการควบคุมที่ดีและเหมาะสม ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2509) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – พ.ศ. 2514) ซึ่งรัฐบาลได้จัดทำขึ้นนั้น ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจทั้ง ๒ ฉบับ โดยเฉพาะแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก จริงอยู่มาตรการการควบคุมการรับจ่ายเงินจะเป็นเหตุหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้แผนพัฒนาประเทศไม่บรรลุเป้าหมาย แต่ก็น่าจะได้ศึกษาถึงวิธีการงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมงบประมาณในทางกฎหมาย โดยการศึกษาข้อมูลของกฎหมายและระเบียบดังกล่าวที่เป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งทำให้แผนพัฒนาประเทศไม่บรรลุเป้าหมาย วิธีการงบประมาณที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ได้แก่ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 203 พ.ศ. 2515 นั้น เป็นวิธีการงบประมาณซึ่งประกอบด้วยการกระทำ 3 ขั้น คือ ขั้นการจัดเตรียมงบประมาณ (budget preparation) ขั้นการอนุมัติงบประมาณ (budget adoption) และขั้นการบริหารงบประมาณ (budget execution) ในการกระทำแต่ละขั้น มีการควบคุมการดำเนินงานโดยฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ การควบคุมการดำเนินงานโดยฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในแต่ละขั้นนั้นมีข้อบกพร่องอันควรจะได้รับการแก้ไข ปรับปรุง เพื่อให้การควบคุมงบประมาณแผ่นดินในทางกฎหมายมีประสิทธิภาพ อันจะทำให้เป็นผลดีแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
dc.description.abstractalternativeIt is really essential to a family’s financial welfare that the family efficiently produces income and spends it wisely. Government’s financial welfare-basically the same relies upon her efficient and wise fiscal and budgeting policies. At present, the ration of Thai Government expenditure to-national income shows an increasing trend. Therefore, revenue and expenditure must receive the most careful attention. The essential means to control them are supposedly laws and regulations enacted by either the legislators or the government. However, it has been proved that they are not as effective as expected-as shown in the results of the National Economic Development Plan, First Stage (B.E. 2504 – B.E. 2509) and the National Economic and Social Development Plan, Second Stage (B.E. 2510 – B.E. 2514). The result particularly in the latter was far below the expected target. It is conceived that one of the factors contributing to much a failure is an ineffective control on the governmental revenue and expenditure. Therefore, it would be worthwhile to review the means to control them – the laws and regulations – by digging into the details created a loophole for such a failure to the plans. Budgeting procedures-for Thai Government’s budget stated in the Budgeting Procedures Act, B.E. 2502; and the Second Amendment, B.E. 2503; the Third Amendment, B.E. 2511; and the National Executive Council’s Decree No. 203, have been grouped into 3 parts, i.e :- budget preparation, budget adoption, and budget execution. Each part must pass the controls of both executive and legislative branches. But it is believed that such controls have some loopholes and must be sealed and corrected in order to improve the legal means to cope with the control of governmental budget, and consequently to assist in gearing activities to an effective National Economic and Social Planning in the future.
dc.format.extent586144 bytes
dc.format.extent375960 bytes
dc.format.extent1365549 bytes
dc.format.extent1642264 bytes
dc.format.extent2004619 bytes
dc.format.extent470389 bytes
dc.format.extent713328 bytes
dc.format.extent1313594 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการควบคุมงบประมาณแผ่นดิน ของประเทศไทยในทางกฎหมายen
dc.title.alternativeThe legal aspect of the budgetary control in the government of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charlinee_Ni_front.pdf572.41 kBAdobe PDFView/Open
Charlinee_Ni_intro.pdf367.15 kBAdobe PDFView/Open
Charlinee_Ni_ch1.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Charlinee_Ni_ch2.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Charlinee_Ni_ch3.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Charlinee_Ni_ch4.pdf459.36 kBAdobe PDFView/Open
Charlinee_Ni_ch5.pdf696.61 kBAdobe PDFView/Open
Charlinee_Ni_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.