Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26205
Title: อิทธิพลของสภาพครอบครัวที่มีต่อการอ่าน ของเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนสายน้ำทิพย์
Other Titles: The influence of family condition on reading of grade 4 students, Sai Namtip School
Authors: สหัทยา ชินสมบูรณ์
Advisors: กล่อมจิตต์ พลายเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของสภาพครอบครัวที่มีต่อการอ่านของเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนสายน้ำทิพย์ โดยศึกษาการอ่านของเด็กนักเรียนตามตัวแปรต่าง ๆ คือ อาชีพของผู้ปกครองและระดับการศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง การเห็นความสำคัญของการอ่านของผู้ปกครอง ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการอ่านของเด็กนักเรียน จำนวนบุตรของผู้ปกครอง ตลอดจนศึกษากิจกรรมที่ผู้ปกครองส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่นักเรียนต้องการให้บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนจัด ความช่วยเหลือในการอ่านที่นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการ และประโยชน์ที่เด็กนักเรียนคิดว่าได้รับจากการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ปีการศึกษา 2526 ของโรงเรียนสายน้ำทิพย์ จำนวน 140 คน และผู้ปกครองของเด็กนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 4 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงค่าร้อยละ การทดสอบความสัมพันธ์ใช้ไค-สแควร์ (Chi-Square Test) ผลการวิจัยพบว่าระดับการศึกษา อาชีพและสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับการอ่านของเด็กนักเรียนในด้านจำนวนหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนที่นักเรียนมีอยู่ที่บ้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 สำหรับการเห็นความสำคัญของการอ่านของผู้ปกครองไม่มีวามสัมพันธ์กับการอ่านของเด็กนักเรียนที่ระดับนัยสำคัญ .01 ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการอ่านของเด็กนักเรียนมีความสัมพันธ์กับการอ่านของเด็กนักเรียนในด้านประเภทของหนังสือที่นักเรียนชอบอ่าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 จำนวนบุตรของผู้ปกครองไม่มีวามสัมพันธ์กับการอ่านของเด็กนักเรียนที่ระดับนัยสำคัญ .01 ผลการศึกษาถึงการอ่านของเด็กนักเรียนในด้านต่าง ๆ มีดังนี้ นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 43.57 มีหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนอยู่ที่บ้าน 1-20 เล่ม รองลงมาคือ นักเรียนจำนวนร้อยละ 20.71 มีหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนอยู่ที่บ้าน 21-40 เล่ม ประเภทของหนังสือที่นักเรียนชอบอ่าน นักเรียนชอบอ่านการ์ตูนมากที่สุดร้อยละ 28.57 รองลงมาได้แก่นิทานร้อยละ 23.58 สารคดีประวัติศาสตร์ร้อยละ 14.29 สารคดีวิทยาศาสตร์ร้อยละ 10.00 จำนวนเวลาที่นักเรียนอ่านหนังสือต่อวันพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 37.86 ใช้เวลาอ่านหนังสือไม่แน่นอนในแต่ละวัน นอกนั้นมีนักเรียนประมาณร้อยละ 14.29-17.85 ใช้เวลาอ่านหนังสือวันละ 15 นาทีถึงมากกว่า 60 นาที สำหรับแหล่งที่นักเรียนได้หนังสือที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนอ่านพบว่า นักเรียนได้อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนจากที่บ้านจำนวนมากที่สุดร้อยละ 61.43 รองลงมาได้จากห้องสมุดโรงเรียนร้อยละ 22.14 ส่วนนักเรียนที่ไม่เคยได้อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือแบบเรียนนั้นไม่มี กิจกรรมที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กของตน คือให้เงินซื้อหนังสืออ่าน คิดเป็นร้อยละ 24.28 รองลงมาคือ ซื้อหนังสือพิมพ์ให้อ่าน คิดเป็นร้อยละ 23.57 สำหรับผู้ปกครองที่ไม่เคยส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กของตนคือ ผู้ปกครองที่มีอาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 1.42 กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เด็กนักเรียนต้องการให้บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน จัดมากที่สุด คือ จัดการแข่งขันตอบคำถามจากหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 37.14 รองลงมาคือ จัดให้มีชมรมห้องสมุด คิดเป็นร้อยละ 22.86 สิ่งที่เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือในการอ่านมากที่สุด คือ การอธิบายความหมาย คิดเป็นร้อยละ 42.86 รองลงมาคือการสะกดตัวอักษร คิดเป็นร้อยละ 25.00 ประโยชน์ที่เด็กนักเรียนส่วนใหญ่คิดว่าได้รับจากการอ่านหนังสือคือ ได้ค้นคว้าหาความรู้ที่ต้องการ คิดเป็นร้อยละ 37.86 รองลงมาคือ เพิ่มความรอบรู้ คิดเป็นร้อยละ 34.28 ข้อเสนอแนะ 1. ผลจากการวิจัยพบว่ามีผู้ปกครองอาชีพค้าขายและอาชีพรับจ้าง จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็กของตนน้อยกว่าผู้ปกครองอาชีพใช้วิชาชีพ ฉะนั้นสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบในการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ ควรได้จัดพิมพ์กิจกรรมใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมการอ่านเผยแพร่ไปตามโรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียนได้มีโอกาสอ่านและใช้เป็นคู่มือในการส่งเสริมหรือนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กของตน 2. ผู้ปกครองควรมีบทบาทในการเอาใจใส่และดูแลการเรียนการอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กของตน ด้วยการให้คำปรึกษา ช่วยแก้ปัญหา และส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมที่เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน 3. ครูและบรรณารักษ์ของโรงเรียนควรร่วมมือในด้านการสอนและการศึกษาถึงปัจจัยจากทางโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อการอ่านของเด็ก และสำหรับบรรณารักษ์สามารถมีบทบาทได้มากยิ่งขึ้นด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ภายในห้องสมุดโรงเรียนตามความสนใจของเด็กหรือตามที่บรรณารักษ์เห็นว่าจะมีประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด
Other Abstract: The Purposes of this research were to study the influene of family condition on the reading skills of grade 4 students, Sai Namtip School, to study the reading of grade 4 students with the following variables on parents: education, occupation, economic status, reading habits, and their opinions on their children’s reading and the number of their children. Studied together were the reading activities supporting their children, the reading activities which school librarians should do to respond to the students’ need, the reading assistance which most students need, and the usefulness the students got from reading. The subjects were 140 grade 4 students of Sai Namtip School in 1983 and the students’ parents. The Research instrument was a questionnaire constructed by the researcher; the procedures of data analysis were percentage distribution and chi-square test. A Significant difference was found at .1 regarding the parents’ education, occupations and economic status that was associated with the number of other books except textbook that children have at home, but no significant difference of the parents’ reading habits and the number of their children. A significant difference was found at .01 regarding the parents’ opinions on their children’s reading that was associated with the types of books of books that children like to read. It was found the most students have other books except textbooks at home: 1-20 titles (43.57%) and 21-40 titles (20.71%). The Types of books that most students like to read were comics (28.57%), stories (23.58%), history (14.29%) and science 10.00%). The time that most students spend on reading per day was uncertain (37.86%) and others spend on reading between 15 to more than 60 minutes (14.29 – 17.85%). Most students read books home (61.43%), School libraries (22.14%) and none of them never read books. Reading activities that most parents supported were giving money to their children to buy the books (24.28%) and buying the newspaper for their children (23.57%). The parents who never supported the reading activities of their children were employees (1.42%). The reading activities which students needed from the school librarian were competitions answering the questions from the books (37.14%), library club (22.86%). The reading assistance which most students needed were explaining the meaning (42.86%) and spelling words (25.00%). The usefulness that most students got from reading were searching their information needs (37.86%) and gaining knowledge (34.28%) Recommendations 1. The result of analysis stated that the children whose parents were businessmen and employees paid less attention to reading than those whose parents were professional. The institutes or offices that involved or were responsible for the campaign of legibility should publish and activity materials supporting reading to distribute to schools and offices in order that parents can read and use them as their manuals for supporting or dividing their children’s reading habits. 2. The parents should use their roles in taking care of their children’s studying and reading. They should divide the reading habits for their children by giving advice, solving problems and supporting their children to do activities concerning reading habits. 3. Teachers and school librarians should join together in teaching and they should study the school factors that influenced the children’s reading. For the school librarians their role can be increased by providing some activities in school libraries according to the children’s interest or any activities the school librarians consider to be useful to the children.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26205
ISBN: 9745642266
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sahattaya_Ch_front.pdf488.38 kBAdobe PDFView/Open
Sahattaya_Ch_ch1.pdf484.77 kBAdobe PDFView/Open
Sahattaya_Ch_ch2.pdf714.57 kBAdobe PDFView/Open
Sahattaya_Ch_ch3.pdf303.39 kBAdobe PDFView/Open
Sahattaya_Ch_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sahattaya_Ch_ch5.pdf617.33 kBAdobe PDFView/Open
Sahattaya_Ch_back.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.