Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26206
Title: การนำเสนอโครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A proposed projecct of mathematics co-curricular activities in lower secondary schools, Bangkok metropolis
Authors: สหัสศรี เพ็งบุญ
Advisors: พร้อมพรรณ อุดมสิน
พันทิพา อุทัยสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์และนักเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร ในด้านวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม การวางแผนจัดกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรม ประเภทของกิจกรรม ประโยชน์ของกิจกรรม การประเมินผลกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรม 2. เพื่อเสนอโครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งทำหน้าที่เป็นครูที่ปรึกษากิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์หรือทำหน้าที่สอนคณิตศาสตร์จำนวน 126 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ 495 คน ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ขึ้น 1 ชุด ถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรประเภทดังกล่าว ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามมาสร้างโครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ นำโครงการที่สร้างขึ้นไปให้ผู้รงคุณวุฒิพิจารณาและประเมินโครงการ แล้วปรับปรุงแก้ไขเสนอเป็นโครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร สรุปผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์และนักเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ สรุปได้ดังนี้ 1.1 วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ครูคณิตศาสตร์ปละนักเรียนมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเกือบทุกข้อ วัตถุประสงค์ที่ครูคณิตศาสตร์และนักเรียนเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากอันดับแรกคือ เพื่อให้ได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น 1.2 เกี่ยวกับการวางแผนจัดกิจกรรม ผู้ริเริ่มในการจัดกิจกรรมควรเป็นครูที่ปรึกษากิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์หรือครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ควรดำเนินงานในรูปคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยครูคณิตศาสตร์และนักเรียนที่เป็นสมาชิกชุมนุมคณิตศาสตร์ เงินที่นำมาใช้จัดกิจกรรมควรได้มาจากงบประมาณของโรงเรียน เวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมควรจัดในชั่วโมงกิจกรรมชุมนุมหรือระหว่างเวลาพัก การเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการัดกิจกรรมควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับระดับชั้น วุฒิภาวะ และความสนใจขงนักเรียน สถานที่ที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมคือ ในห้องเรียน 1.3 การกำหนดครูที่ปรึกษาควรใช้วิธีนักเรียนเลือก โดยครูที่ปรึกษาควรมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำ ส่วนนักเรียนควรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฉพาะเรื่อง 1.4 ประเภทกิจกรรมที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่อยู่ในระดับมากอันดับแรกคือ แข่งขันตอบปัญหาระหว่างโรงเรียน รองลงมาคือแข่งขันตอบปัญหาภายในโรงเรียน 1.5 การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนมีประสบการณ์ มีความรู้ในคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และช่วยให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกันได้ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง 1.6 ควรประเมินผลกิจกรรมที่จัดทุกครั้ง โดยสังเกตความกระตือรือร้นของนักเรียนและผลงานที่นักเรียนทำ แล้วนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการจัดกิจกรรมครั้งต่อ ๆ ต่อไป 1.7 สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมลำดับแรกก็คือ เวลาในการจัดมีน้อย รองลงมาคือขาดงบประมาณและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ 2. โครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ที่นำเสนอสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครนั้น ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล นิยาม วัตถุประสงค์ของโครงการ แนวการจัดกิจกรรรม ประเภทของกิจกรรม การประเมินผลกิจกรรมและตัวอย่างแผนงานจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์
Other Abstract: The purposes of this research were as followes:- 1. To study the mathematics teachers’ and the students’ opinions concerning the organization of mathematics co-curricular activities for lower secondary schools in the following aspects: objectives, activity planning, teachers’ and students’ participation, types of activities, usefulness of activities, activity evaluation, and problems in organizing. 2. To propose mathematics co-curricular activity project. The samples of this research were 126 lower secondary school teachers who are acting as the consultants of mathematics co-curricular activities or teaching mathematics, and 495 lower secondary school students who participated in mathematics co-curricular activities. The samples were administered the questionnaires concerning organization mathematics co-curricular activities which was constructed by researcher. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic means, and standard deviation. The researcher set up the co-curricular activity project based on the above analyzed data. Then validated by the experts. Research Findings 1. The opinions of teachers and students concerning the organization of mathematics co-curricular activities were as follows: 1.1 Mathematics teachers and students agreed at the high level in the objectives of the co-curricular activity were appropriate. The objective appeared at the highest means scores was to increase mathematics knowledges. 1.2 Concerning the activity planning, the mathematics co-curricular activity teachers acting as consultants or the teachers teaching mathematics should initiate the activities. The activities should be carried out by the committee composed of mathematics teachers and the students who were the members of the school mathematics club. The expense used in organizing the activities should come from the school budget. The activities should be organized during the activities period or during the school break period. The audio-visual aids used in organizing the activities should be appropriate to the students’ education level, the students’ age, and the students’ interest; the suitable place for organizing the activities should be the students’ classroom. 1.3 Teachers acting as the consultants should be selected by the students. Those consultants should be responsible in advising students while the students should participate in organizing the particular activities. 1.4 According to this research, inter-school mathematics contest was the most suitable activity for lower secondary schools. The next suitable activity was in school mathematics contest. 1.5 Participation in activities provided the students more experiences and knowledges in mathematics, and helped the students to be a good teamworker. Moreover, the students gained more initiative, and creative thinking, and self confidence. 1.6 Each activity was evaluated by observing their enthusiasm and the outcomes of that activities. The result of evaluation should be utilized in next activities. 1.7 The problems confronted were lack of time, budget, and audio-visual aids. 2. Mathematics co-curricular activity project was proposed for lower secondary schools in Bangkok Metropolis in the following aspects: rationality, definition, objectives, activity organizing guidelines, types of activity act, evaluation and example of mathematics activities plans.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26206
ISBN: 9745646792
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sahussri_Pa_front.pdf553.47 kBAdobe PDFView/Open
Sahussri_Pa_ch1.pdf400.02 kBAdobe PDFView/Open
Sahussri_Pa_ch2.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sahussri_Pa_ch3.pdf410.18 kBAdobe PDFView/Open
Sahussri_Pa_ch4.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sahussri_Pa_ch5.pdf736.81 kBAdobe PDFView/Open
Sahussri_Pa_ch6.pdf739.16 kBAdobe PDFView/Open
Sahussri_Pa_back.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.