Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26207
Title: ผลของการมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อภาพลักษณ์ของผู้ป่วย ภายหลังการตัดเต้านมออก
Other Titles: Effects of the particidation in self-help group on body image of mastectomee
Authors: สายใจ พัวพันธ์
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อภาพลักษณ์ของผู้ป่วยภายหลังการตัดเต้านมออก ตัวอย่างประชากร คือผู้ป่วยหญิง โรคมะเร็งเต้านมภายหลังการผ่าตัดนมข้างใดข้างหนึ่งออก ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในระยะหลังผ่าตัดตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในกลุ่มอย่างน้อย 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา เดือนหลังผ่าตัดจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบวัดภาพลักษณ์ของผู้ป่วยภายหลังการตัดเต้านมออก เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 ชุดที่ 2 แบบวิเคราะห์ปฏิกิริยาสัมพันธ์ในกลุ่มช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้ป่วยภายหลังการตัดเต้านมออก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงโดยวิธีการหาดัชนีของความสอดคล้องของสก๊อต 3 ครั้ง ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.72,0.70 และ 0.74 ตามลำดับ และหาความเที่ยงภายในจากสูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์ของความคงที่ของเพียร์สันได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของผู้ป่วยภายหลังการตัดเต้านมออกระยะก่อนการเข้ากลุ่ม และระยะหลังการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง อีกครั้งหนึ่งด้วยแบบสัมภาษณ์ชุดเดิม ทุกครั้งที่จัดกลุ่มช่วยเหลือตนเองผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นผู้นำกลุ่มและทำการบันทึกเสียงการสนทนาของสมาชิกขณะเข้ากลุ่ม แล้วทำการวิเคราะห์ปฏิบัติกริยาสัมพันธ์ในกลุ่มทันทีจากการจัดกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ( t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดนมออก 2 เดือน ที่มีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตนเองมีภาพลักษณ์ต่อตนเองในทางบวกมากกว่าระยะก่อนการเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตนเอง กับคะแนนการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของผู้ป่วยภายหลังการตัดเต้านมออกมีความสัมพันธ์ในทางบอก 3. เปรียบเทียบลักษณะการมีส่วนร่วมหรือการมีปฏิกริยาสัมพันธ์ในกลุ่มช่วยเหลือตนเอง พบว่า มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ในส่วนที่มุ่งงานของกลุ่มมากกว่าส่วนที่สนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม 4. เนื้อหาที่ผู้ป่วยให้ความสนใจมากที่สุด คือ เนื้อหาเกี่ยวกับ โรค การรักษาการปฏิบัติตัวขณะรับการรักษา เนื้อหาที่ผู้ป่วยให้ความสนใจรองลงมา คือ เนื้อหาเกี่ยวกับความคิดความรู้สึกของผู้ป่วยที่มีต่อโรค การรักษา และผลกระทบของการรักษา และเนื้อหารที่ผู้ป่วยให้ความสนใจน้อยที่สุด คือ เนื้อหาด้านเพศสัมพันธ์
Other Abstract: The purpose of this experimental research was to study the effects of the participation in self-help group on body image of mastectomee. The research samples consisted of fifteen breast cancer female patients who have had mastectomy at least two days at National Cancer Institute and they had participated in self- help group on voluntarily basis. The samples were required to participate in group at least 5 times during two months post mastectomy. The two instruments used in this research, developed by the researcher, were “Body Image of Mastectomee Interviewing Questionnaire” and “The Interaction in Self-Help Group Analysis.” The content validity of these instruments were done by panel of experts. The reliability of the interviewing questionnaire tested by α– coefficient was 0.91. The reliability of the analysis tested by Intra and Inter Observers Reliability of Scott were 0.72, 0.70 and 0.74. Internal reliability of the later instrument tested by Pearson’s product Moment Correlation was 0.86. Data collection had been done by interviewing the samples before and after the experiment. The researcher always performed the role of group leader. Verbal communication during each experiment had been recorded and analyzed by the researcher. Arithmetic mean, standard deviation, t-test, Pearson’s Product Moment Correlation and percentage wee statistical procedures used to analyze the gathered data. On the basis of data analysis. The following results were found 1. Two months post mastectomy patients who had participated in self-help group had significant positive body image in post-experiment more than pre-experiment. 2. The correlation between the score on participation and on the change of body image of the mastectomee is significant positive. 3. The participation of interaction in self-help group of the mastectomee indicated their concentration on group tasks more than supporting group management. 4. The most interested topic discussed in the group were on the disease, its treatment and their compliance during treatment period. Topics on the feeling and opinion regarding to the disease, its treatment and their effects were the second group of interest. The mastectomee showed the least interest on the content of sexual relationship.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26207
ISBN: 9745681563
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saichai_Pa_front.pdf436.11 kBAdobe PDFView/Open
Saichai_Pa_ch1.pdf586.3 kBAdobe PDFView/Open
Saichai_Pa_ch2.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Saichai_Pa_ch3.pdf654.69 kBAdobe PDFView/Open
Saichai_Pa_ch4.pdf428.28 kBAdobe PDFView/Open
Saichai_Pa_ch5.pdf852.98 kBAdobe PDFView/Open
Saichai_Pa_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.