Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26236
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความจุปอด กับประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต และระยะเวลาในการกลั้นลมหายใจ
Other Titles: Relationships between the vital capacity and the efficiency of blood circulation and the duration of breath holding
Authors: สันติ โภคสมบัติ
Advisors: อนันต์ อัตชู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจุปอดกับประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต ความจุปอด กับระยะเวลาในการกลั้นลมหายใจและประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต กับระยะเลาในการกลั้นลมหายใจ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีสมรรถภาพทางกายสมบูรณ์ ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ จำนวน 200 คน มีอายุเฉลี่ย 17.56 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 52.26 กิโลกรัม และส่วนสูงเฉลี่ย 166.62 เซนติเมตร ผู้เข้ารับการทดสอบทุกคนต้องเข้ารับการทดสอบความจุปอด ระยะเวลาในการกลั้นลมหายใจ และทดสอบประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต นำผลที่ได้จากการทดสอบ มาวิเคราะห์ตามสถิติ โดยหาค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยปรากฏว่า ประสิทธิภาพของการไหลเวียนโลหิตกับความจุปอดไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ความจุปอดกับระยะเวลาในการกลั้นลมหายใจ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต กับระยะเวลาในการกลั้นลมหายใจ ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationships between the vital capacity of the lungs, the efficiency of blood circulation, and the duration of breath holding. Population sampling groups were secondary school children of Dhebsirin School. Those 200 students have strong physical and have the average ages of 17.56 years, weight of 52.26 kilograms and height of 166.62 centimetres. All of them were tested lung capacity, duration of breath holding, and the efficiency of blood circulation. The results of the tests had been statistically analyzed to find the maximum score minimum score, means, standard deviation, correlation coefficiency tests of correlation. The results of the analysis showed that there was no significant relationship between the efficiency of blood circulation and the vital capacity of the lungs and between the efficincy of blood circulation and the duration of breath holding at .05 level. However, there was significant relationship between the vital capacity of the lungs and the duration of breath holding at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26236
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_Po_front.pdf384.83 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Po_ch1.pdf813.07 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Po_ch2.pdf286.02 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Po_ch3.pdf284.27 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Po_ch4.pdf513.9 kBAdobe PDFView/Open
Santi_Po_back.pdf410.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.