Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26261
Title: การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนวิชาศิลปศึกษาด้วยกลวิธีระดมสมอง
Other Titles: The development of creative thinking of Prathom Suksa five students learing Art education by brainstorming technique
Authors: วิรัตน์ คุ้มคำ
Advisors: สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนวิชาศิลปศึกษาด้วยกลวิธีระดมสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อ แบบ ก. (Torrance Tests of Creative Thinking, Figural Form A) ของ ดร. อี พอล ทอร์แรนซ์ แบบทดสอบฉบับนี้ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ชุด คือ กิจกรรมชุดที่ 1 เป็นการวาดภาพต่อเติมจากสิ่งเร้าซึ่งเป็นกระดาษรูปไข่สีเขียว 1 ภาพ กิจกรรมชุดที่ 2 เป็นการวาดภาพต่อเติมให้สมบูรณ์จากสิ่งเร้าซึ่งเป็นเส้นลักษณะต่างๆ จำนวน 10 เส้น กิจกรรมชุดที่ 3 เป็นการต่อเติมภาพจากสิ่งเร้าซึ่งเป็นเส้นคู่ขนานจำนวน 30 คู่ 2. แผนการสอนวิชาศิลปศึกษาด้วยกลวิธีระดมสมอง ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 8 แผน ซึ่งผู้วิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ แก้ไข แล้วนำไปทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่อง แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริง ตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชาย จำนวน 14 คน และหญิง 18 คน จากชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสีสุก สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างก่อนการเรียน โดยใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อแบบ ก.หลังจากนั้น ได้ทำการสอนกลุ่มตัวอย่างตามแผนการสอนที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเอง สัปดาห์ละ 2 วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แล้วให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบชุดเดิมอีกครั้ง นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้ง 2 ครั้ง มาเปรียบเทียบเพื่อศึกษาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการทดสอบค่า t (t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆ ด้าน หลังการเรียนศิลปศึกษาด้วยกลวิธีระดมสมองสูงกว่าก่อนการเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสอนศิลปศึกษาด้วยกลวิธีระดมสมอง ช่วงส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้พัฒนาสูงขึ้นได้
Other Abstract: The purpose of this study was to study the development of creative thinking of Prathom Suksa Five students learning art education by brainstorming technique. The instruments used in this research were : 1.Torrance Tests of Creative Thinking, Figural Form A. which consisted of 3 activities : 1) create a picture from a green curved paper , 2) to complete pictures from 10 various lines, 3) to create pictures from 30 pairs of straight lines. 2. Eight researcher – made Art lesson plans approved by the specialists. Sampling group of the population included 14 boys and 18 girls from prathom suksa five, Watsrisuk School under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan. These students were selected by means of simple random sampling. First of all, the subjects were tested with Torrance Tests of Creative Thinking, Figural Form A, then they were taught with the eight lesson plans 2 days a week for 4 weeks. After that, the subjects were examined which the same tests. The Scores of both test then were compared the statistical significant difference by using t-test at the level of .05. The result of this research indicated that the creative scores of all aspects after learning art education by brainstorming technique were higher than before learning. This finding showed that teaching art education by brainstorming technique could develop creative thinking of prathom suksa five students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26261
ISBN: 9745813354
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wirat_Ku_front.pdf502 kBAdobe PDFView/Open
Wirat_Ku_ch1.pdf702.31 kBAdobe PDFView/Open
Wirat_Ku_ch2.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Wirat_Ku_ch3.pdf622.73 kBAdobe PDFView/Open
Wirat_Ku_ch4.pdf380.75 kBAdobe PDFView/Open
Wirat_Ku_ch5.pdf772.86 kBAdobe PDFView/Open
Wirat_Ku_back.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.