Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26274
Title: การเปรียบเทียบเทคนิคการเลือกตัวอย่าง ในการประมาณจำนวนผลส้มเขียวหวานต่อต้น
Other Titles: Comparison of sampling techniques for estimating total tangerine fruits on a tree
Authors: สุรพร อิสสระเดชกุล
Advisors: อภิชาติ พงษ์ศรีหดูลชัย
สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยครั้งรี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการสุ่มเลือกกิ่งปลายตัวอย่าง 4 วิธีสำหรับการประมาณค่าจำนวนผลส้มเขียวหวานทั้งหมดต่อต้น วิธีการทั้ง 4 ได้แก่ (1) สุ่มกิ่งปลายโดยตรงและมีความน่าจะเป็นในการเลือกกิ่งเท่ากันทุกกิ่ง (DS-EP) (2) สุ่มกิ่งปลายโดยตรงและมีค่าความน่าจะเป็นในการเลือกกิ่งเป็นสัดส่วนกับขนาดพื้นที่หน้าตัดของกิ่ง (DS-PPS) (3) สุ่มหลายขั้นตอนจากจุดที่แตกแขนงตั้งแต่โคนต้นไปจนถึงกิ่งปลายและมีความน่าจะเป็นในการเลือกกิ่งแต่ละขั้นตอนเท่ากันทุกกิ่ง (RP-EP) (4) สุ่มหลายขั้นตอนจากจุดที่แตกแขนงตั้งแต่โคนต้นไปจนถึงกิ่งปลาย และมีความน่าจะเป็นในการเลือกกิ่งแต่ละขั้นตอนเป็นสัดส่วนกับขนาดของกิ่ง (RP-PPS) โดยได้กำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งปลายไม่เกิน 2 เซนติเมตร การศึกษาทำโดยสุ่มต้นตัวอย่าง จำนวน 20 ต้น จากต้นทั้งหมด 6,200 ต้น ที่ปลูกในสวนเทพสถิตย์ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ซึ่งเป็นส้มที่มีอายุ 6 ปี การเลือกสวนทำโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าความแปรปรวนของทั้ง 4 วิธี พบว่า วิธีที่ 2 (DS-PPS) เป็นวิธีให้ค่าความแปรปรวนต่ำสุด 18 ต้น ในจำนวนทังหมด 20 ต้นที่ศึกษาเกี่ยวกับจำนวนกิ่งปลายตัวอย่างที่เหมาะสมพบว่าถ้าใช้กิ่งตัวอย่าง 8 กิ่ง จะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของค่าประมาณจำนวนผลทั้งหมดของสวนน้อยกว่า 20% ในระดับความเชื่อมั่น 90% อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าความแปรปรวนของทั้ง 4 วิธี อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงทั้งนี้ เนื่องจากจำนวนผลบนกิ่งปลายมีความแปรปรวนมาก ดังนั้นการกำหนดขนาดของกิ่งปลายให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมอาจจะเหมาะสมหว่าขนาดที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
Other Abstract: The objectives of this research were to study and compare four different sampling methods for selecting terminal branches in estimating total tangerine fruits per tree. The four methods employed in this study were (1) direct selection-equal probability with replacement (DS-EP), (2) direct selection-probability proportional to cross section area with replacement (DS-PPS), (3) random path-equal probability with replacement (RP-EP), and (4)random path-probability proportional to cross section area with replacement (RP-PPS). The terminal branches defined in this study were those branches which had diameter not greater than two centimeters. Twenty trees were randomly selected with replacement from 6,200 trees. All of these trees were six years old planted in Thepsatit Orchard, Viharn Dang District, Saraburi Province which was purposively selected. Out of 20 trees studies, it was found that method 2 (DS-PPS), as compared with other three methods, gave minimal variances in 18 trees. The results of the study also revealed that 8 terminal branches were the optimum size for estimating average fruit per tree in the orchard which would yield a coefficient of variation less than 20 percent with 90 percent confidence level. Nevertheless, it was worth mentioning that all of the sampling techniques used in the study gave relatively low precision due to high variation of variation of number of fruits on each terminal. It was, therefore, recommended that bigger terminal might be more appropriate than the one used in this study.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26274
ISBN: 9745680141
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suraporn_Is_front.pdf406.41 kBAdobe PDFView/Open
Suraporn_Is_ch1.pdf419.69 kBAdobe PDFView/Open
Suraporn_Is_ch2.pdf331.01 kBAdobe PDFView/Open
Suraporn_Is_ch3.pdf667.53 kBAdobe PDFView/Open
Suraporn_Is_ch4.pdf676.42 kBAdobe PDFView/Open
Suraporn_Is_ch5.pdf277.54 kBAdobe PDFView/Open
Suraporn_Is_back.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.