Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26369
Title: | การกำจัดสีน้ำกากส่าระหว่างการใช้โพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ร่วมกับแกลบเผา หรือซิลิกาอะลูมินา หรือเถ้าลอย |
Other Titles: | Color removal in distillery slop using polyaluminium chloride with burned husk or silica-alumina or fly ash |
Authors: | อำนาจ ฐิตศิริวิริยะ |
Advisors: | เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความสามารถในการกำจัดสีน้ำกากส่า โดยใช้โพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์เป็นโคแอกูแลนท์ ร่วมกับวัสดุเหลือทิ้ง คือ แกลบเผา ชิลิกาอะลูมินา และเถ้าลอย ที่ผ่านตะแกรงร่อนขนาด 100 และ 200 เมช สำหรับใช้เป็นแกนเกาะในกระบวนการโคแอกูเลชัน ทดลองโดยใช้จาร์เทสโดยใช้อัตราการกวนเร็วที่ 100 รอบต่อนาที เป็นเวลา 1 นาที อัตราการกวนช้าที่ 20 รอบต่อนาที เป็นเวลา 20 นาที และเวลาในการรวมตะกอน 1 ชั่วโมง น้ำกากส่าที่ใช้ในงานวิจัยนี้มี 2 ประเภท คือ น้ำกากส่าที่ผ่านการบำบัดโดยบ่อบำบัดทางชีวภาพ โดยการเก็บกักในบ่อระยะเวลา 392 วัน ลักษณะสมบัติของน้ำเสียเจือจางด้วยน้ำ 5 เท่า มีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 8.1-8.3 ค่าตะกอนแขวนลอยอยู่ระหว่าง 200-500 มก./ล. ค่าซีโอดีอยู่ระหว่าง 4,600-4,900 มก./ล. และค่าความเข้มสีประมาณ 900-1,200 เอสยู และน้ำกากส่าที่ไม่ผ่านการบำบัดทางชีวภาพ ลักษณะสมบัติของน้ำเสียเจือจางด้วยน้ำ 5 เท่า มีค่าตะกอนแขวนลอยอยู่ระหว่าง 900-1,000 มก./ล. ค่าซีโอดีอยู่ ระหว่าง 16,000-17,000 มก./ล. ค่าความเข้มสีประมาณ 1,300-1,500 เอสยู และปรับค่าพีเอชด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้มีค่าอยู่ระหว่าง 8.1-8.3 ผลการทดลองโดยใช้น้ำกากส่าที่ผ่านระบบบำบัดทางชีวภาพพบว่า การใช้ปริมาณโพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ 8 กรัม/ลิตร สามารถกำจัดสีได้ 94.64% มีชั้นตะกอน 85% และกำจัดค่าซีโอดี 82.78% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ ร่วมกับวัสดุเหลือทิ้งที่เหมาะสมคือ การใช้โพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ 8 กรัม/ลิตร ร่วมกับเถ้าลอยขนาด 200 เมช ปริมาณ 30 กรัม/ลิตร สามารถกำจัด สีได้ 92.16% มีชั้นตะกอน 40% กำจัดค่าชีโอดี 81.35% และเสียค่าใช้จ่าย 86.6 บาท/ลบ.ม. น้ำกากส่า ส่วนผลการศึกษาน้ำกากส่าที่ไม่ผ่านระบบบำบัดทางชีวภาพ พบว่าการใช้ปริมาณโพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ 10 กรัม/ ลิตร สามารถกำจัดสีได้ 65.89% มีชั้นตะกอน 42% และกำจัดค่าซีโอดี 29.90% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้โพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ ร่วมกับวัสดุเหลือทิ้งที่เหมาะสมคือ การใช้โพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ 10 กรัม/ลิตร ร่วมกับเถ้าลอยขนาด 200 เมช ปริมาณ 10 กรัม/ลิตร สามารถกำจัดสีได้ 60.66 มีชั้นตะกอน 22% กำจัดค่าซีโอดี 25.89% และเสียค่าใช้จ่าย 165.2 บาท/ลบ.ม. น้ำกากส่า |
Other Abstract: | This research investigated the possibility of enhancing the color removal efficiency in distillery slop using polyaluminium chloride with burned husk, silica alumina and fly ash as a core coagulant in the coagulation process. The experiment was carried out by using the Jar Test. The samples were mixed by rapid mixing at 100 rpm for 1 minute followed by slow mixing at 20 rpm for 20 minutes. They were then left to sedimentate for 1 hour. There are 2 type of the distillery slop in this research. The first one was distillery slop treated by an oxidation pond at a retention time of 392 days. The characteristics of wastewater which was diluted with water 5 times were as follows: pH, 8.1-8.3; suspended solids, 200-500 mg/l; COD, 4,600-4,900 mg/1; and color intensity, 900-1,000 SU. The other type of distillery slop was not treated by a biological treatment. The characteristics of wastewater which was diluted with water 5 times were as follows: suspended solids, 200-500 mg/1; COD, 4,600-4,900 mg/1; color intensity, 900-1,000 SU, adjusted pH about, 8.1-8.3 by sodium hydroxide. The experimental results of the distillery slop treated by a biological treatment indicated that by using polyaluminium chloride at 8 g/1, the color removal efficiency was at 94.64% with a sedimentation of 85%. and COD removal efficiency of 82.78%. By comparison, using polyaluminium chloride (8 g/l) with fly ash at 30 g/1 (at sieve number 200 mesh) as a core coagulant, the results indicated that the color removal efficiency was at 92.16% with a sedimentation of 44%, COD removal efficiency of 81.35%. The estimated cost was 86.6 bath/m3 of distillery slop. The result of distillery slop which was not treated by a biological treatment indicated that by using polyaluminium chloride at 10 g/1, the color removal efficiency was at 65.89% with a sedimentation of 42% and COD removal efficiency of 29.90%. By comparison, using polyaluminium chloride (10 g/1) with fly ash at 10 g/1 (at sieve number 200 mesh) as a core coagulant, the results indicated that the color removal efficiency was at 60.66% with a sedimentation of 22%, COD removal efficiency of 25.89%. The estimated cost was 165.2 bath/m3 of distillery slop. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26369 |
ISBN: | 9741737734 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amnard_ti_front.pdf | 5.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnard_ti_ch1.pdf | 971.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnard_ti_ch2.pdf | 9.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnard_ti_ch3.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnard_ti_ch4.pdf | 30.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnard_ti_ch5.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amnard_ti_back.pdf | 30.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.