Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26404
Title: การศึกษาเพื่อการออกแบบศาลาการเปรียญวัดหงส์รัตนาราม
Other Titles: A study for architectural design of sala Karnbarian in Wat Hongrattanaram
Authors: ฐากูร อนันตโชค
Advisors: เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี
ภิญโญ สุวรรณคีรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Abstract: ศาลาการเปรียญเป็นศาสนสถานที่สำคัญในวัด ใช้สำหรับทำบุญบำเพ็ญกุศลทั่วไป ฟังเทศน์ฟังธรรม และใช้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมของพระสงฆ์ ปัจจุบันศาลาการเปรียญที่มีคุณค่าในอดีตได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่วนศาลาการเปรียญที่สร้างขึ้นใหม่ก็ขาดความต่อเนื่องทางพัฒนาการรูปแบบสถาปัตยกรรม การศึกษาเพื่อการออกแบบศาลาการเปรียญวัดหงส์รัตนาราม จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรม และแนวทางในการออกแบบศาลาการเปรียญในอดีต เพื่อนำมาใช้ออกแบบศาลาการเปรียบวัดหงส์รัตนาราม ซึ่งเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า และมีความจำเป็นจะต้องสร้างศาลาการเปรียญขึ้นในวัดเพื่อให้มีเสนาสนะสำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นสัดส่วน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาศาลาการเปรียญในพระอารามหลวงในกรุงเทพฯ ทั้งหมด 87 วัด ในเรื่องผังบริเวณ รูปทรงอาคาร การใช้สอย ระบบโครงสร้าง และการประดับตกแต่งทางสถาปัตยกรรม จากการศึกษาทำให้พบว่า ศาลาการเปรียญได้มีการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน ทำให้ทราบแนวทางในการออกแบบศาลาการเปรียญ คือ ศาลาการเปรียญควรจะตั้งอยู่ใกล้ทางเข้าหลักด้านหน้าเขตพุทธาวาส และอยู่ไม่ไกลจากเขตสังฆาวาส โดยมีลานโล่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน รูปทรงและผังพื้นของศาลาการเปรียญเกิดขึ้นจากการใช้สอย โดยเพิ่มศาลาขวาง มุขหน้า-หลัง หรือมุขลด เข้ากับส่วนโถงประธานซึ่งเป็นรูปทรงหลักในลักษณะที่แตกต่างกันทำให้รูปทรงของศาลาการเปรียญมีความแตกต่างกันออกไป การใช้สอยศาลาการเปรียญมีความซับซ้อนมากกว่าในอดีต จึงต้องมีส่วนบริการเพิ่มขึ้น ที่สำคัญได้แก่ ห้องน้ำ และห้องเก็บของ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้างที่ใช้กันมากในปัจจุบันแทนการใช้โครงสร้างไม้หรือก่ออิฐถือปูน แต่การวางตำแหน่งเสาและผนังส่วนใหญ่ยังคงยึดตามอย่างในอดีต การประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมภายนอกจะเน้นที่เครื่องปิดหลังคา และลายหน้าบัน ส่วนภายในจะเน้นที่ฝ้าเพดาน และมีการแสดงภาพพุทธประวัติที่ส่วนคอสอง หรือเป็นภาพแขวนผนัง
Other Abstract: Sala Karnbarian is an important building in a temple. It is used to conduct general good deeds, to practice religious precepts and to study dharma for monks. Nowadays, the old valuable Sala Karnbarians were abandoned, where as and the new ones are lack of the development of architectural style. The objectives of study for architectural design of Sala Karnbarian in Wat Hong Rattanaram are to learn the development of Sala Karnbarian architectural style and the design criteria of Sala Karnbarian in former times in order to design Sala Karnbarian in Wat Hong Rattanaram, which is of historical importance, and possesses valuable architectures. It is necessary to have Sala Karnbarian specifically for those public activities in the temple. This research includes 87 study cases of royal temples in Bangkok, particularly in layout, mass, usage, structural system and architectural decoration of Sala Karnbarian. It is found that Sala Karnbarian has been developed its architectural style since the time of King Rama I to the present. The design criteria of Sala Karnbarian are as following. It should be located close to the main entrance in front of Buddha area and not far from the monk area. There should be open space in the same area. Mass design and planning of Sala Karnbarian are setup according to its uses. Sala Khwang, front and rare porch or lower porch are added to the main hall in difference ways cause difference architectural form. The use of Sala Karnbarian is now more complex than in the past, hence more services must be added, especially toilets and storage rooms. At the present, reinforce concrete structure is used in stead of wood and masonry structure. However, the column and wall positions are constructed as in the past. The architectural decoration is done mostly on the roof decoration and pediment. Interior decoration is made mostly on the ceiling. Pictures of Buddha story are painted at the frieze or as picture frame on the wall.
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26404
ISBN: 9741737106
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thakoon_an_front.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open
Thakoon_an_ch1.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Thakoon_an_ch2.pdf13.17 MBAdobe PDFView/Open
Thakoon_an_ch3.pdf49.28 MBAdobe PDFView/Open
Thakoon_an_ch4.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open
Thakoon_an_ch5.pdf15.66 MBAdobe PDFView/Open
Thakoon_an_ch6.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open
Thakoon_an_back.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.