Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26431
Title: ผลความแตกต่างระหว่างการให้รางวัล และการไม่ให้รางวัล ต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในชั้นประถมศึกษา ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมแตกต่างกัน
Other Titles: Differential effects of reinforcement versus non-reinforcement upon the crative thinking of different socioeconomic status of elementary school children
Authors: สุพัตรา พรกิจประสาน
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา (1) ผลของการให้รางวัลทันที และการให้รางวัลช้าต่อความคิดแคล่วคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของเด็กในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมสูงและต่ำ (2) ปฏิสัมพันธ์ที่อาจเป็นไปได้ระหว่างเงื่อนไขการให้รางวัลและระดับชั้นเรียน และระหว่างเงื่อนไขการให้รางวัลและสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 180 คน จากโรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ และโรงเรียนวัดใหม่ช่องลม ในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2522 แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่มคือ กลุ่มให้รางวัลทันที กลุ่มให้รางวัลช้า และกลุ่มไม่ให้รางวัลแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนชายหญิง ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมสูงและต่ำจำนวนเท่าๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แบบสอบถามสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม และแบบสอบถามการเลือกรางวัล, การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางและทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความคิดแคล่วคล่องของเด็กในเงื่อนไขให้รางวัลทันทีสูงกว่าเด็กในเงื่อนไขไม่ให้รางวัล และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของเด็กในเงื่อนไขให้รางวัลทันทีไม่แตกต่างจากเด็กในเงื่อนไขไม่ให้รางวัล 3.ความคิดแคล่วคล่องของเด็กในเงื่อนไขให้รางวัลทันทีสูงกว่าเด็กในเงื่อนไขให้รางวัลช้าและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของเด็กในเงื่อนไขให้รางวัลทันทีไม่แตกต่างจากเด็กในเงื่อนไขให้รางวัลช้า 5.ความคิดแคล่วคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของเด็กในเงื่อนไขให้รางวัลช้าไม่แตกต่างจากเด็กในเงื่อนไขไม่ให้รางวัล 6.ความคิดแคล่วคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของเด็กในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเด็กในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7.ความคิดแคล่วคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของเด็กในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเด็กในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 8. ความคิดแคล่วคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของเด็กในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ไม่แตกต่างกัน 9. เด็กที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมสูงมีความคิดแคล่วคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มสูงกว่าเด็กที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 10. ไม่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการให้รางวัล และระดับชั้นเรียนและระหว่างการให้รางวัล และสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมต่อความคิดแคล่วคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม
Other Abstract: The purpose of this research were to investigate (a) the Effects of Immediate-Reinforcement and Dalayed-Reinforcement on Fluency, Flexibility and Originality of Prathom Suksa 4, 5 and 6 School Children with High and Low Socioecomic Status, and (b) the possible Interactions between Reward Conditions and Grade Levels and between Reward Conditions and Socioeconomic Status. The subjects were 180 school children in Bangkok from Samsaen Kindergarden School, Piboon Upatham School and Watmaichonglom School in the academic year 1979. The Prathom Suksa 4, 5 and 6 school children with high and low socioeconomic status were equally divided into three experimental group namely, immediate-reward condition, delayed-reward condition, and no-reward condition. Each group consisted of 30 boys and 30 girls. The research instruments were creative thinking tests, socioeconomic status questionnaire and reward-choiced questionnaire. The procedures of data analysis were one-way analysis of variance and three-way analysis of variance. The Newman-Keuls method was applied for comparing the difference between pairs of groups means. The results were as follow : 1. The fluency score of the children under immediate-reward condition was higher than that under no-reward condition at .05 significance level. 2.The differences between the flexibility and originality scores of the children under immediate-reward and under no-reward condition were not significant at .01 level. 3. The fluency score of the children under immediate-reward condition was higher than that under delayed-reward condition at .01 significance level. 4. The differences between flexibility and originality scores of the children under immediate-reward and under delayed-reward condition were not significant at .01 level. 5. The differences between: fluency, flexibility and originality scores of the children under delayed-reward condition and under no-reward condition were not significant at .01 level. 6. The fluency, flexibility and originality scores of Prathom Suksa 4 and 5 school children were significantly different at at .01 level. 7. The fluency, flexibility and originality scores of Prathom Suksa 4 and 6 school children were significantly different at .01 level. 8. The fluency, flexibility and originality scores of Prathom Suksa 5 and 6 school children were not significantly different at .05 level. 9.The fluency, flexibility and originality scores of the children with high socioeconomic status were higher than those with low socioeconomic status at .01 significance level. 10. There were no significant interactions between reward conditions and grade levels and between reward conditions and socioeconomic status on fluency, flexibility and originality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26431
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supartra_Po_front.pdf465.26 kBAdobe PDFView/Open
Supartra_Po_ch1.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Supartra_Po_ch2.pdf658.25 kBAdobe PDFView/Open
Supartra_Po_ch3.pdf703.47 kBAdobe PDFView/Open
Supartra_Po_ch4.pdf413.93 kBAdobe PDFView/Open
Supartra_Po_ch5.pdf389.16 kBAdobe PDFView/Open
Supartra_Po_back.pdf752.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.