Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26489
Title: การลดเวลาไร้ประสิทธิภาพโดยประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ : กรณีศึกษาสายการผลิตย่อยเคมีโรงงานผลิตซิพแทนทาลัมคาปาซิเตอร์
Other Titles: Application of industrial engineering techniques for inefficient time reduction : A case study of chemical plant of chip tantalum
Authors: อุษา รุจิภัตต์
Advisors: ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต โดยอาศัยเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มุ่งลดเวลาไร้ประสิทธิภาพ และจัดทำข้อมูลมาตรฐานเวลาการทำงานของสายการผลิตย่อยเคมี โรงงานผลิตชิพแทนทาลัมคาปาซิเตอร์ เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ใช้ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาโดยใช้คิวซี เครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง เทคนิคการวิเคราะห์ Why-Why Analysis เทคนิคการปรับปรุงงาน ECRS เทคนิคการศึกษาการทำงานและการศึกษาเวลา และเทคนิคการจัดสมดุลการผลิต การลดเวลาไร้ประสิทธิภาพ เริ่มจากการสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาในสายการผลิต แล้วนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้แผนผังก้างปลา จากนั้นนำสาเหตุที่ได้มาวิเคราะห์ ความสัมพันธ์โดยแผนผังความสัมพันธ์ เพื่อหาลำดับการแก้ไขก่อนและหลัง หลังวิเคราะห์ปัญหาสามารถสรุปสาเหตุของปัญหาได้ 5 ข้อ จึงนำสาเหตุทั้ง 5 ข้อมาวิเคราะห์โดยอาศัยเทคนิค Why-Why Analysis วิเคราะห์จุดประสงค์และกิจกรรม ศึกษาวิธีการทำงานและเวลาการทำงาน เพื่อกำหนดวิธีการปรับปรุงงาน โดย ECRS และการจัดสมดุลการผลิต แล้วจึงกำหนดแนวทางแก้ไข และแผนปฏิบัติการในการแก้ไข หลังแก้ไขปัญหา พบว่าเวลาไร้ประสิทธิภาพลดลงจาก 22.9% เหลือ 14.8% ทำให้สามารถลดความสูญเปล่าของค่าแรงงานลงได้ 148,192 บาท ต่อ เดือน และได้มาตรฐานเวลาการทำงานแต่ละขั้นตอนย่อย เพื่อนำไปควบคุมการทำงานของพนักงาน และเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนผลิตอีกด้วย
Other Abstract: To reduce inefficient time in factory and prepare the standard data for operation time. เท this thesis studies Chemical plant of Chip Tantalum Capacitor factory .The application the Industrial Engineering technique such as QC story, 7 QC tools, 7 new QC tools, Why-Why Analysis , ECRS, Method and Time study and Line Balancing technique were use for problem solving. For inefficient time reduction, first is to understand situation of the factory then analyze the cause of inefficient time problem by using Fish-Bone diagram. Then bring the causes to fine the relation, the relation will present the sequencing of cause and priority of its. Its have 5 causes of inefficient time problem. The five causes of inefficient time problem were analyzed by Why-Why Analysis technique, Method and Time study. And its were solved by ECRS and Line Balancing technique. After implement, the inefficient time was reduced form 22.9% to 14.8%. It could reduction operation loss 148,192 bath per month. For the standard time result, it can use for operation controlling and planning.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26489
ISBN: 9741737335
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usa_ru_front.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Usa_ru_ch1.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Usa_ru_ch2.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open
Usa_ru_ch3.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Usa_ru_ch4.pdf15.08 MBAdobe PDFView/Open
Usa_ru_ch5.pdf16.32 MBAdobe PDFView/Open
Usa_ru_ch6.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Usa_ru_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.