Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26546
Title: | รูปแบบการสื่อสารในครอบครัว ของพ่อแม่ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Family communication patterns of parents in Bangkok metropolitan area |
Authors: | ปาริชาติ ธาราพัตราพร |
Advisors: | อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารในครอบครัว และการเปิดรับข่าวสารของพ่อแม่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลูกในวัยเด็ก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการหาค่าสถิติแบบ One way ANOVA, ตารางไขว้ 2 ตัวแปร (crosstabulation) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวของพ่อแม่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลูกในวัยเด็ก มีรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบปิดมากที่สุด รองลงมาคือครอบครัวแบบเปิด 2. พ่อแม่มีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน จากการดูโทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวี มากที่สุด รองลงมาคือ การอ่านหนังสือพิมพ์ และการฟังวิทยุ 3. พ่อแม่มีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคล โดยการพูดคุยกับลูกมากที่สุด รองลงมาคือการพูดคุยระหว่างพ่อแม่ และพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวที่อยู่บ้านเดียวกัน 4. ครอบครัวที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบเปิดมีปริมาณการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนมากกว่าครอบครัวที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบปล่อย ในขณะที่ครอบครัวที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบเปิดและแบบปิดมีปริมาณการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนไม่แตกต่างกัน 5. ครอบครัวที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบปล่อยมีปริมาณการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลน้อยกว่าครอบครัวที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบปิดและแบบเปิด ในขณะที่ครอบครัวที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบปิด และแบบเปิดมีปริมาณการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study family communication patterns and media exposure of parents in Bangkok. Questionnaires were used to collect data from 450 subjects which were randomly selected. Percentage, means, one way ANOVA and crosstabulation were used to analyze data through SPSS/PC Computer program. . The results of the study were as the followings: 1. In the families whose parents had young children, Closed and open family communication pattern were mostly used, respectively. 2. Television, cable T.V., newspaper and radio were the mass media to which the parents were exposed most, respectively. 3. Parents were exposed most to mediated person, talking' with‘ their children, talking with themselves and family members living in the same house, respectively. 4. Comparing the families which there were open family communication pattern to the families which there were random family communication pattern on the amount of media exposure, the former were exposed to mass media more than the latter. However, there was no difference of amount of media exposure between the families whose family communication pattern were open and closed. 5. Comparing among the three family communication patterns, the families whose family communication pattern were random were less exposed to mass media than the families whose family communication patterns were closed and open. There was no difference in mediated person exposure between the closed and open family communication pattern. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2546 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26546 |
ISBN: | 9741754159 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parichart_ta_front.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichart_ta_ch1.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichart_ta_ch2.pdf | 6.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichart_ta_ch3.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichart_ta_ch4.pdf | 12.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichart_ta_ch5.pdf | 5.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichart_ta_back.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.