Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26550
Title: การศึกษาการใช้เครื่องควบแน่นในโรงงานผลิตน้ำแข็งซองเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
Other Titles: A study of condensers in the block-ice manufacturing for energy conservation
Authors: กัณฐกา บุณยวัฒน
Advisors: มิ่งศักดิ์ ตั้งตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการใช้เครื่องควบแน่นในโรงงานผลิตน้ำแข็งซองเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ศึกษาโดยวิธีตรวจวัดข้อมูลจากโรงงานผลิตน้ำแข็ง นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ประสิทธิภาพของเครื่องควบแน่นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water-Cooled Condenser, WCC) กับเครื่องควบแน่นแบบระเหยด้วยลมธรรมชาติ ( Natural-Draft Evaporative Condenser, NDEC) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเลือกใช้ รวมทั้งเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตควบคู่กันไปด้วย เปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องควบแน่นด้วยการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำความเย็น (COPr) และค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการใช้ไฟฟ้ารวมในการทำความเย็น (COPt) กำหนดให้อุณหภูมิเครื่องระเหยและอุณหภูมิกระเปาะเปียกเป็นตัวแปรควบคุม แต่ในระบบการทำความเย็นที่ศึกษาไม่มีอุปกรณ์ควบคุมตัวแปรที่กำหนด จึงตรวจวัดข้อมูลจำนวนหนึ่งแล้วคัดเลือกชุดข้อมูลของวัฏจักรทั้งสองที่มีตัวแปรควบคุมใกล้เคียงกันมาวิเคราะห์ เครื่องควบแน่นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ มีค่าเฉลี่ย COPr และ COPt มากกว่าเครื่อง ควบแน่นแบบระเหยด้วยลมธรรมชาติ 16% และ 14% ตามลำดับ แม้ว่าเครื่องควบแน่นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ มีการใช้กำลังไฟฟ้าของพัดลมที่หอทำความเย็นมากกว่า แต่พัดลมและพื้นที่ปริมาณมากของแผ่นกรุที่หอทำความเย็นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อน ระหว่างน้ำหล่อเย็นกับอากาศ ปัญหาเฟาลิ่งพบว่า เครื่องควบแน่นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำเครื่องเก่าที่ไม่ได้ทำความสะอาด มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (U) น้อยกว่าเครื่องที่ติดตั้งใหม่ 10% แม้มองไม่เห็นความสกปรกที่เกิดด้านในเครื่องควบแน่นแบบเปลือกและท่อ แต่ที่หอทำความเย็นมีความสกปรกที่เกิดขึ้นจากตะไคร่น้ำและโคลนอย่างชัดเจน
Other Abstract: To comparative study of Water-Cooled Condenser (WCC) and Natural-Draft Evaporative Condenser (NDEC) in the block-ice manufacturing in order to be the selective use for energy conservation. Additionary, provide both way to maintenance and improve the manufacturing process. To compare the Coefficient of Performance of Refrigeration (COPr) and total Coefficient of Performance of Refrigeration (COPt), set evaporating temperature and wet bulb temperature as the controlled variable. How ever in the field could not control them, so selected nearly condition from number of collective data. Finding preview, Water-Cooled Condenser obtains higher both COPr and COPt than Natural-Draft Evaporative Condenser: 16% and 14% respectively. Even Water-Cooled Condenser consumes more electric power of the cooling-tower fan 1but the fan and the fill area of the cooling tower increase much heat transfer efficiency between coolant water and air. Fouling effect; the foul condenser has less overall heat transfer coefficient (U) 10 % than the clean one. Even shell & tube condenser can not be defined the inner fouling but there are algea, mud in the cooling tower which take effect.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26550
ISBN: 9745315389
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kantaka_bo_front.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open
Kantaka_bo_ch1.pdf872.55 kBAdobe PDFView/Open
Kantaka_bo_ch2.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Kantaka_bo_ch3.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open
Kantaka_bo_ch4.pdf10.26 MBAdobe PDFView/Open
Kantaka_bo_ch5.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Kantaka_bo_ch6.pdf544.41 kBAdobe PDFView/Open
Kantaka_bo_back.pdf29.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.