Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26552
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศานุตม์ สุทธิพิศาล
dc.contributor.advisorกิตติ ต.รุ่งเรือง
dc.contributor.authorปิติพร อุ้ยสว่าง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-28T04:27:20Z
dc.date.available2012-11-28T04:27:20Z
dc.date.issued2546
dc.identifier.isbn9741735162
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26552
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการศึกษาทางระบาดวิทยาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ cross-sectional โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบและเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสูบบุหรี่กับสภาวะโรคปริทันต์อักเสบอนามัยช่องปากและอัตราการสูญเสียฟันในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานผู้สูงอายุของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่มีอายุ 49-72 ปี ที่เข้าร่วมโครงการการวิจัยเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและได้รับการตรวจฟัน 2,276 คน แลได้รับการตรวจสภาวะปริทันต์ 2,005 คน โดยจะได้รับการตรวจสภาวะปริทันต์เมื่อมีฟันอย่างน้อย 6 ซี่ใน 2 ส่วนของช่องปากที่สุ่มเลือกมา ทำการตรวจหาปริมาณคราบจุลินทรีย์ วัดความลึกของร่องลึกปริทันต์ การร่นของเหงือกและการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ซี่ละ 6 ตำแหน่ง การวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบได้จากระดับร่องลึกปริทันต์ร่วมกับการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ส่วนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้จากการตอบแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้สูงอายุในกลุ่มตัวอย่างเป็นโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 82.0 ซึ่งแบ่งเป็นโรคปริทันต์อักเสบระดับต้นร้อยละ 42.2 ระดับกลางร้อยละ 29.3 และระดับรุนแรงร้อยละ 10.5 จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ one way ANOVA พบว่าค่าเฉลี่ยความลึกของร่องลึกปริทันต์และค่าเฉลี่ยการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์มีค่ามากที่สุดในกลุ่มที่สูบบุหรี่ รองลงมาคือกลุ่มที่เคยสูบ และกลุ่มที่ไม่สูบตามลำดับ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p<0.01) ส่วนค่าเฉลี่ยฟันที่สูญเสียไปและค่าเฉลี่ยร้อยละของคราบจุลินทรีย์มีค่ามากที่สุดในกลุ่มที่สูบบุหรี่ รองลงมาคือกลุ่มที่เคยสูบ และกลุ่มที่ไม่สูบตามลำดับ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p<0.05) ส่วนผลการวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงโดยใช้สถิติ Logistic Regression Analysis และควบคุมตัวแปรที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบคือ โรคเบาหวาน ปริมาณคราบจุลินทรีย์และอายุ พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบเป็น 2.3 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (95% CI: 1.54-8.62) และยังพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงเป็น 4.2 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (95% CI: 2.58-8.62) ส่วนผู้ที่เคยสูบบุหรี่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงเป็น 2.2 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (95% CI: 1.41-3.43) นอกจากนี้การเป็นโรคปริทันต์อักเสบยังขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาการสูบสะสม โดยผู้ที่สูบมากกว่า 10 packyears จะมีโอกาสเป็นโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 2.4 เท่า (95% CI: 1.40-3.96) และระยะเวลาที่กลุ่มตัวอย่างเลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีผลในการลดความชุกของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดยเฉพาะในระดับต้นและระดับกลาง จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าโรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่มีความชุกสูงในผู้สูงอายุของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคปริทันต์อักเสบได้มากกว่าผู้ที่เคยสูบบุหรี่หรืไม่สูบบุหรี่ ระยะเวลาการเลิกสูบบุหรี่มีผลลดความชุกของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มตัวอย่างนี้ ดังนั้นการสูบบุหรี่จึงเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยง (risk indicator) อย่างหนึ่งของโรคปริทันต์อักเสบ
dc.description.abstractalternativeThe objective of this epidemiological study is to determine the prevalence and extent of periodontal disease and the relationship between cigarette smoking and periodontitis in the elderly workers of Electricity Generating Authority of Thailand. The medical and dental surveys were conducted in 49-72 year-old subjects, who submitted in the cardiovascular risk factor identification project of Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. 2,005 out of 2,276 subjects who had at least 6 teeth in two randomly selected quadrants per person, were qualified for periodontal examinations. This included measuring of plaque accumulation, probing pocket depth and gingival recessions on 6 sites per tooth. The periodontal status of each subject was categorized by criteria based on the extent and severity of probing depth and clinical attachment loss. Smoking habits were obtained using questionnaires. We found that 82.0% of subjects had periodontitis, which could be categorized into 42.2% of mild periodontitis. 29.3% of moderate periodontitis and 10.5% of severe periodontitis. By using one way ANOVA, current smokers had significantly more clinical attachment loss, deeper pocket depth (p<0.01). more number of missing teeth and more plaque score (p<0.05) than former or non smokers. From multiple logistic regression analysis, after adjusting for age, diabetes and plaque score. This study revealed that current smokers were about 2.3 times more likely to have periodontitis than non smokers (95% Cl: 1.54-3.57). Furthermore, current smokers were about 4.72 times more likely to have severe periodontitis than non smokers (95% Cl: 2.58<8.62), whereas, former smokers were 2.2 times more likely to have severe periodontitis than non smokers (95% Cl: 1.41-3.43). Among current smokers, there was a trend of dose-response relationship between life time exposure of cigarette smoking (packyears) and the odds of having periodontitis (P < 0.01)ม ranging form OR= 2.0 (95%. Cl: 0.96-4.10) for the smokers of 5 10 packyears to OR = 2.4 (95% Cl: 1.40-3.96) for the smokers of > 10 packyears. The effect of smoking cessation on the decrease in the prevalence of periodontitis was revealed after 6 years, especially in the mild and moderate periodontitis case. In conclusion, periodontitis is highly prevalent in the elderly workers of EGAT. Concurred with other studies, current smokers had significant higher prevalence of severe periodontitis than former or non smokers. Long term effects of smoking cessation is associated with the decrease risk of having periodontitis in this population. Therefore, smoking is one of the risk indicator for periodontitis.
dc.format.extent4225781 bytes
dc.format.extent3000501 bytes
dc.format.extent3629589 bytes
dc.format.extent1985125 bytes
dc.format.extent12188091 bytes
dc.format.extent6790704 bytes
dc.format.extent21126215 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับสภาวะของโรคปริทันต์ในพนักงานผู้สูงอายุของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยen
dc.title.alternativeThe association between cigarette smoking and periodontal disease in the elderly workers of Electricity Generating Authority of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปริทันตศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitiporn_ui_front.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_ui_ch1.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_ui_ch2.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_ui_ch3.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_ui_ch4.pdf11.9 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_ui_ch5.pdf6.63 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_ui_back.pdf20.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.