Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26697
Title: | การเปรียบเทียบสังคมพืชของป่าที่ถูกรบกวนในจังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Comparison of plant communities of disturbed forests in Phayao Province |
Authors: | สายฝน สิทธิมงคล |
Advisors: | พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์ วีระชัย ณ นคร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเปรียบเทียบสังคมพืชของป่าที่ถูกรบกวนในจังหวัดพะเยา ได้ดำเนินการโดยเลือกพื้นที่ศึกษาตาม ลักษณะการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ คือ มีการใช้สอยทั่วไปเท่านั้นเป็นป่าแบบที่ 1 มีการเลือกตัดไม้ยืนต้นร่วมด้วย เป็นป่าแบบที่ 2 และผ่านการทำการเกษตรเป็นป่าแบบที่ 3 ตามลำดับ และสุ่มวางแปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 40x40 ตารางเมตร ในป่าแบบละ 6 แปลง เก็บข้อมูลสังคมพืชประเภทไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้เลื้อย ในฤดูร้อน (เมษายน พ.ศ.2545) ฤดูฝน (ตุลาคม พ.ศ.2545) และฤดูหนาว (มกราคม พ.ศ.2546) พบพรรณไม้ทั้งหมด 120 ชนิด 54 วงศ์ป่าแบบที่ 1 พบ 66 ชนิด 31 วงศ์ป่าแบบที่ 2 พบ 91 ชนิด 45 วงศ์และป่าแบบที่ 3 พบ 92ชนิด 45 วงศ์มี ดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 2.70, 3.01 และ 3.06 ในป่าแบบที่ 1,2 และ 3 ตามลำดับ พบว่าสังคมพืชป่าทั้งแบบที่ 1,2 และ 3 เป็นสังคมป่าเต็งรัง มีเหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) เป็นไม้เด่นในสังคมป่าทุกแบบ ไม้เด่นลำดับที่ 2 และ 3 ในป่าแบบที่ 1 คือ แงะหรือเต็ง (Shorea obtusa Wall.) และ ฮักหลวงหรือรักใหญ่ (Gluta usitata Wall.) ตามลำดับ ป่าแบบที่ 2 คือ ตึงหรือพลวง {D. tuberculatus Roxb.) และ เหมือดหรือเหมือดโลด (Aporosa villosa Baill.) ตามลำดับ และป่าแบบที่ 3 คือ มะเกิ้มหรือมะกอก เกลื้อน (Canarium subulatum Guill.) และ ตึงหรือพลวง (D. tuberculatus Roxb.) ตามลำดับ สังคมพืชของป่าแบบ ที่ 2 และ 3 มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดคือร้อยละ 74.32 และสังคมพืชของป่าแบบที่ 1 และ 3 มีความคล้ายคลึง กันน้อยที่สุดคือร้อยละ 62.03 การใช้ประโยชน์ในป่าแต่ละแบบไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมพืชอย่างรุนแรง แต่พบว่าการใช้ ประโยชน์ในพื้นที่ป่าทุกแบบมีผลทำให้ความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่มีค่าต่ำกว่าป่าเต็งรังธรรมชาติและ ป่าเต็งรังที่มีการฟื้นตัวแบบไม่ถูกรบกวน ในป่าแบบที่ 1 พบว่าความลาดชัน (5.32 ± 1.13 องศา) และการมีชนิดและจำนวนพืชคลุมดินประเภทไม้ล้มลุกและไม้เลื้อยที่น้อย มีผลทำให้หน้าดินถูกชะได้ง่ายและมีกระบวนการเกิดดิน กรวดมาก โดยในดินชั้นบนมีกรวดขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตรปนอยู่มากที่สุด (ร้อยละ 45.8) รองลงมาคือ ป่าแบบ ที่ 2 (ร้อยละ 25.4) และป่าแบบที่ 3 (ร้อยละ 16.1) ส่งผลให้สภาพพื้นที่ป่าแบบที่ 1 มีความแห้งแล้งสูง ป่าแบบที่ 2 และ 3 พบพรรณพืชบางชนิดบ่งชี้ถึงความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น ข่าลิง (Globa obscura K. Larsen) ทีพบทั้งป่าแบบที่ 2 และ 3 ดอกดิน (Aeginetia indica Roxb.) ว่านหัวสืบ (Disporum calcaratum Don) และปุ่มเป้ง (Phoenix loureiris Kunth) ที่พบเฉพาะในพื้นที่ป่าแบบที่ 3 และพืชดังกล่าวมักจะพบได้ในพื้นที่ที่มีการรบกวนน้อยเท่านั้น |
Other Abstract: | Plant communities and soil types of three disturbed forests in Phayao Province were studied during April 2002 - January 2003. Disturbed forests were divided into forest type I, II and III based on different utilization by human. Six sampling plots, each with 40x40 m2 were studied in each forest type. The studied plants were trees, shrubs, herbs and climbers. One hundred and twenty species of plants in 54 families were identified. There were 66 species of 31 families, 91 species of 45 families, and 92 species of 45 families in the plot of forest type I, II, and III, respectively. The species diversity indices of forest type I, II, and III were 2.70, 3.01, and 3.06, respectively. It was found that plant communities of forest type I, II and III were dry-dipterocarp forest. The first dominant tree species in all forest types was Hiang (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.). The second and third dominant tree species in forest type I were Teng (Shorea obtusa Wall.) and Rag yai (Gluta usitata Wall.). Those of forest type II were Phluang (D. tuberculatus Roxb.) and Mueat (Aporosa villosa Baill.). For the forest type III, they were Ma goem (Canarium subulatum Guill.) and Phluang (D. tuberculatus Roxb.). Plant communities in forest type II and III were the most similar, similarity index was 74.32% whereas the similarity index of plant communities in forest type I and III was 62.03%. Human activities in each forest type did not cause great effect to the plant communities. However, the species diversity indices of all disturbed forest types were lower than those of the natural or undisturbed dry dipterocarp forest. Results showed that human activities, hill slope, and the abundant of ground layer species (herbs and climbers) of the forest type I affected soil erosion and laterization. The laterite in soil of the forest type I was 45.8%, 25.4% at forest type II and was lowest at 16.1% in soil of forest type III. Therefore, the forest type I was drier than the others. There were some species that indicate the moisture and fertilizer of soil in forest type II and III. For example, Kar ling (Globa obscura K.Larsen) was found in forest type II and III. Dok din (Aeginetia indica Roxb.), Wan huao seub (Disporum calcaratum Don), and Poom peng (Phoenix loureiris Kunth) were found only in forest type III and these species always found in less disturbed forests. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26697 |
ISBN: | 9741739362 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saifon_si_front.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saifon_si_ch1.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saifon_si_ch2.pdf | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saifon_si_ch3.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saifon_si_ch4.pdf | 12.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saifon_si_ch5.pdf | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saifon_si_ch6.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saifon_si_back.pdf | 8.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.