Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26736
Title: ความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของศึกษานิเทศก์ ประจำสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 5
Other Titles: Role expectations in academic affairs of the provincial elementary school office supervisors in region 5
Authors: สำราญ ชวนวัน
Advisors: วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ศึกษานิเทศก์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติของศึกษานิเทศก์ประจำสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 5 2. เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาททางด้านวิชาการของศึกษานิเทศก์ ประจำสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 5 3. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังระหว่างผู้บริหารกับครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาททางด้านวิชาการของศึกษานิเทศก์ ประจำสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 5 สมมติฐานของการวิจัย ความคาดหวังระหว่างผู้บริหารกับครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาททางด้านวิชาการของศึกษานิเทศก์ ประจำสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 5 โดยการสุ่มตัวอย่าง แยกเป็น ผู้บริหาร 229 คน และ ครูผู้สอน 307 คน รวมตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 536 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ ( Check list ) มาตราส่วนประเมินค่า ( Rating Scale) และแบบปลายเปิด ( Open - ended) แบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน 536ฉบับ ได้รับกลับคืน 458 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.46 จากผู้บริหารจำนวน 188 ฉบับ และจากครูผู้สอน 270 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการหาค่าร้อยละ ( Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation ) และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้วยค่า z- test สรุปผลการวิจัย 1. ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคาดหวังเกี่ยวกับคุณสมบัติของศึกษานิเทศก์ว่าศึกษานิเทศก์ควรมีวุฒิอย่างต่ำปริญญาตรี มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี มีประสบการณ์เป็นครูมาก่อนมากกว่า 7 ปีขึ้นไป ทำการนิเทศได้อย่างน้อย 2 วิชา/กลุ่มประสบการณ์ และมีประสบการณ์สอนวิชาที่จะทำการนิเทศมาก่อน 3 – 4 ปี และเสนอแนะว่า ศึกษานิเทศก์ควรมีความเป็นกันเองกับครู มีมนุษยสัมพันธ์ มีบุคลิกดี มีความประพฤติดี มีคุณธรรม มีความรู้รอบตัวดี และมีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติงาน 2. ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของศึกษานิเทศก์อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย และเสนอแนะว่า ศึกษานิเทศก์ควรจะมีโอกาสในการออกนิเทศให้ทั่วถึงทุกโรงเรียน สาธิตการสอน จัดอบรมและสัมมนาครู ประสานงานและให้บริการด้านการเรียนการสอน จัดทำและให้บริการยืมสื่อการเรียนแก่ครู และติดตามผลและประเมินผลโครงการเรียนการสอน 3. ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของศึกษานิเทศก์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Other Abstract: Purposes: The purposes of the study were indicated as follows: 1. To study the role expectations of administrators and teachers concerning the qualification of the provincial elementary school office supervisors in educational region 5. 2. To study the role expectations of administrators and teacher concerning academic affairs of the provincial elementary office supervisors in educational region 5. 3. To compare the role expectations of administrators and teachers concerning academic affairs of the provincial elementary office supervisors in educational region 5. Hypothesis: The role expectations of administrators and teachers concerning academic affairs of the provincial elementary office supervisors in region 5 were not significant different. Methodology: The samples of this research consisted of 229 administrators and 307 teachers in region 5 which were selected by using the Stratified Random Sampling Technique, which made the total of 536 samples. The instruments used in this research were check list, rating scale and open-ended questionnaire. The total 536 questionnaires were sent out, 458 or 85.46 percent were returned 188 questionnaires from administrators and 270 questionnaires from teachers. The data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation and test of significance at .01 level by Z-test. Findings: 1. The role expectations of administrators and teachers concerning the qualification of supervisors were as follows: The supervisors should have at least Bachelor’s degree, the age is about thirty to forty years of age, they should have at least seven years of practical teaching experience in the public schools, should be an expert in teaching at least two subjects, have more than three year experience in those supervised subjects. They suggested that the supervisors should be friendly with teachers, passess good human relation, good personality, good character, good knowledge and pay the most attention to their work. 2. The administrators’ and the teacher’ role expectation of the supervisors concerning the academic affairs are rated at the level of next to the most approval and they suggested that the supervisors should have the chance to supervise in every school, demonstrate teaching, arrange the teachers’ training and seminar, coordinate and help teaching service, making and sending the texts and teaching-aids to teacher, follow-up and evaluate the teaching programs. 3. The role expectations of administrators and teachers concerning the academic affairs of supervisors were not significantly different at the level of .01, therefore the hypothesis is failed to be rejected.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26736
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samran_Ch_front.pdf557.05 kBAdobe PDFView/Open
Samran_Ch_ch1.pdf718.18 kBAdobe PDFView/Open
Samran_Ch_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Samran_Ch_ch3.pdf791.77 kBAdobe PDFView/Open
Samran_Ch_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Samran_Ch_ch5.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Samran_Ch_back.pdf818.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.