Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26740
Title: การวางแผนงานของการพัฒนาและสร้างเครื่องทุ่นแรงต้นแบบ ของกองอุตสาหกรรมในครอบครัว
Other Titles: Project planning for development and construction of labour-saving devices prototype of cottage industrial division
Authors: สำรวย เกษตรสกุลชัย
Advisors: เหรียญ บุญดีสกุลโชค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โครงการพัฒนาและสร้างเครื่องทุ่นแรงต้นแบบ
การวิเคราะห์ข่ายงาน (การวางแผน)
เกอร์ท (การวิเคราะห์ข่ายงาน)
การวางแผน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในแต่ละปีงบประมาณ กองอุตสาหกรรมในครอบครัวจะมีโครงการที่จะพัฒนาและสร้างเครื่องทุ่นแรงต้นแบบประมาณ 5 โครงการ แต่เนื่องจากกรรมวิธีการดำเนินโครงการเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา ที่มีขบวนการและผลลัพธ์จากการดำเนินงานไม่แน่นอน จึงเป็นการยากต่อการคาดการณ์เพื่อวางแผนดำเนินโครงการ ในการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการวางแผนดำเนินโครงการพัฒนาและสร้างเครื่องทุ่นแรงต้นแบบของกองอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยนำเอาเทคนิคเกอทและแผนภูมิเข้ามาประยุกต์ เกอทเป็นเทคนิคที่ประกอบด้วย ทฤษฎีโครงข่าย , ทฤษฎีความน่าจะเป็นและการจำลองแบบปัญหา ในการนำเอาเทคนิคเกอทเข้ามาประยุกต์ จะใช้วิธีการศึกษากรรมวิธีการดำเนินโครงการโดยละเอียด แบ่งกรรมวิธีออกเป็นกิจกรรมใหญ่และย่อยพร้อมทั้งสร้างโครงข่ายย่อยที่แสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรมย่อยต่าง ๆเพื่อใช้เป็นตัวแทนของกิจกรรมใหญ่ๆ และสร้างโครงข่ายใหญ่เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรมใหญ่ๆ ที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โครงการบรรลุตามเป้าหมาย ดำเนินการแจกแจงข้อมูลและกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาพารามิเตอร์ที่ใช้สำหรับอธิบายโครงข่ายของกิจกรรมต่างๆ สร้างแบบฟอร์มสำหรับเตรียมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์โครงข่ายของกิจกรรมต่างๆ ด้วยวิธีการจำลองแบบปัญหาโดยโปรแกรม เกอท ทรี ซึ่งจะทำให้ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้วิเคราะห์หาผลลัพธ์ที่ต้องการ จากการใช้เทคนิคเกอทวิเคราะห์พฤติกรรมการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ จะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ โอกาสที่กิจกรรมจะประสบความสำเร็จและเวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการกำหนดงานโดยใช้แผนภูมิแบบแกรนท์ให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ และนำมาคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง วิธีการวางแผนงานและแบบฟอร์มที่ได้จากการนำเอาเทคนิคเกอทและแผนภูมิเข้าไปประยุกต์นี้จะเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ในการวางงานในปีต่อๆ ไป โดยเปลี่ยนแปลงข้อมูลในส่วนที่มีลักษณะเฉพาะโครงการได้
Other Abstract: In each budget year, the Cottage Industrial Division will undertake about 5 projects in the development and construction of labour - saving devices prototype. Because of the uncertainty and unpredictability associated with any research and development project of this nature, it is difficult incorporate such projects into the Division’ Annual Plan in terms of time and budget allocation. The objective of this research is to construct a pattern for project planning in the development and construction labour-saving devices prototype of Cottage Industrial Division by appling GERT and chart techniques. GERT technique is a combination of network theory, probability theory and simulation. In appling GERT to the construction a pattern in this case, it si necessary to study the nature of project of interest in detail. A project is broken down into major activities and subactivities. Subnetwork are constructed to illustrate relationship between subactivities and a master network to represent those between the major activities which affect the total project performance. The type of data required, data collection method are specified, followed by analysis of data to identify the parameter the network. Preliminary data coding form will be construced for analysis of the network via simulation using the available and convenient GERT III package to yield the desired output: Analysis by the GERT technique will give the probability of successful completion and the expected mean time required for each activity. These can be used in conjunction with Gantt chart for job scheduling and job assignment and use to estimate expenses required for the project. The pattern for project planning developed under this research the methodology and appropriate forms can be readily employed in subsequent annual planning of the Division, and only project-specific data need still to be acquired.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26740
ISBN: 9745667528
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samruay_Ka_front.pdf426.27 kBAdobe PDFView/Open
Samruay_Ka_ch1.pdf372.65 kBAdobe PDFView/Open
Samruay_Ka_ch2.pdf887.33 kBAdobe PDFView/Open
Samruay_Ka_ch3.pdf596.92 kBAdobe PDFView/Open
Samruay_Ka_ch4.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Samruay_Ka_ch5.pdf838.77 kBAdobe PDFView/Open
Samruay_Ka_ch6.pdf346.49 kBAdobe PDFView/Open
Samruay_Ka_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.