Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26746
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิภาวรรณ มนุญปิจุ-
dc.contributor.advisorสรชัย พิศาลบุตร-
dc.contributor.authorสุนีย์ นุ้ยจันทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-28T11:27:29Z-
dc.date.available2012-11-28T11:27:29Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26746-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อทราบความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดของอาจารย์ และนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงบริการห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ทั้ง 3 แห่งให้สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดในด้านบริการที่ให้แก่ผู้ใช้ ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามซึ่งได้สร้างขึ้น จำนวน 2 ชุด ไปยังอาจารย์ และนิสิตนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ปีการศึกษา 2522-2523 ด้วยการสุ่มตัวอย่าง รวม 324 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 316 ชุด คิดเป็นร้อยละ 97.53 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ทั้งอาจารย์และนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์เห็นว่าห้องสมุดมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนมาก และต่างเข้าใช้ห้องสมุดมากกว่าสัปดาห์ละครั้งเป็นส่วนใหญ่ โดยนิสิตนักศึกษาทั้ง 2 ระดับเข้าใช้ห้องสมุดในชั่วโมงที่ว่างจากการเรียน วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการใช้ห้องสมุดของอาจารย์ก็เพื่อค้นคว้าประกอบการสอน รองลงมาได้แก่การใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าประกอบการวิจัย ส่วนนิสิตนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโทเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าประกอบการเรียนตามหลักสูตรมากที่สุด รองลงมาได้แก่การยืมหนังสือ วารสารและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ในด้านการเรียนรู้วิธีใช้ห้องสมุดนั้น อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้วิธีสอบถามจากบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีใช้วิธีศึกษาด้วยตนเองมากที่สุด ส่วนนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโท ผู้ที่ใช้วิธีสอบถามจากบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดกับผู้ที่ใช้วิธีศึกษาด้วยตนเองมีจำนวนเท่ากัน บริการห้องสมุดที่อาจารย์และนิสิตนักศึกษาเคยใช้มากที่สุดคือบริการให้ยืมหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รองลงมาได้แก่บริการถ่ายเอกสาร สำหรับความพอใจที่อาจารย์และนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์มีต่อบริการห้องสมุดนั้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ในด้านความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดพบว่า สิ่งที่อาจารย์และนิสิตนักศึกษาคณะ เภสัชศาสตรมีความต้องการตรงกันคือ ต้องการให้เพิ่มจำนวนสิ่งพิมพ์ในสาขาวิชาชีพทั้งหนังสือตำรา หนังสืออ้างอิง และวารสาร ความต้องการอันดับรองลงมาคือการเพิ่มจำนวนสิ่งพิมพ์ที่ใช้อ่านเพื่อความรู้ทั่วไป การจัดให้มีที่นั่งเฉพาะบุคคลสำหรับการค้นคว้า การจัดทำบรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง การขยายเวลาทำการของห้องสมุด การจัดกิจกรรมพิเศษเป็นครั้งคราว เป็นต้น นอกจากนี้จากการพิจารณาถึงความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละมหาวิทยาลัย ผู้ใช้บริการห้องสมุดของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัยต้องการให้ห้องสมุดจัดบริการขอถ่ายสำเนาบทความวารสารจากต่างประเทศ จัดทำดรรชนีบทความวารสารภาษาไทยในหัวข้อที่น่าสนใจ และจัดให้มีอุปกรณ์โสตทัศนวัสดุไว้ให้ยืม ผู้ใช้บริการห้องสมุดของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลต้องการให้ห้องสมุดจัดทำดรรชนีบทความวารสารภาษาไทยในหัวข้อที่น่าสนใจ และผู้ใช้บริการห้องสมุดของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากต้องการให้จัดบริการขอถ่ายสำเนาบทความวารสารจากต่างประเทศแล้วยังต้องการให้ห้องสมุด เปิดทำการในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ด้วย ความคิดเห็นของอาจารย์และนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ที่มีต่อระเบียบและกฎเกณฑ์ของห้องสมุดนับว่าแตกต่างกัน โดยอาจารย์เห็นว่ามีความหมาะสมดีแล้ว แต่นิสิตนักศึกษาเห็นว่าควรปรับปรุงในเรื่องเวลาทำการ จำนวนเล่มที่ให้ยืมออก และระยะเวลาในการให้ยืม ในด้านหนังสือ วารสารและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆของห้องสมุด ทั้งอาจารย์และนิสิตนักศึกษาเห็นว่าควรได้รับการปรับปรุงทั้งในด้านความทันสมัย ลำจำนวนเล่ม ในด้านบุคลากร อาคารสถานที่ และครุภัณฑ์ก็ควรจะได้เพิ่มจำนวนบุคลากร ขยายเนื้อที่ห้องสมุด และเพิ่มที่นั่งอ่าน ส่วนในด้านบริการต่าง ๆที่ห้องสมุดได้จัดทำอยู่แล้วควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ห้องสมุดทราบมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์คือ ควรหาทางเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ ขยายเนื้อที่ห้องสมุด เพิ่มจำนวนบุคลากรให้พอเพียง หากเพิ่มจำนวนบุคลากรไม่ได้ก็ควรตั้งงบประมาณจ้างนิสิตนักศึกษาช่วยงานห้องสมุด ควรจัดอำนวยความสะดวกในเรื่องยานพาหนะเพื่อใช้ในการยืมระหว่างห้องสมุด ควรกำหนดให้มีการสอบวิชาการใช้ห้องสมุดและการค้นข้อสนเทศแก่นิสิตนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ควรให้บรรณารักษ์มีส่วนร่วมในโครงการการศึกษาของคณะ ส่งเสริมให้บรรณารักษ์ได้ศึกษาต่อ หรือฝึกอบรมทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ และควรหาทางให้เภสัชกรรมสมาคมฯ ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ด้วย ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อผู้บริหารห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ ตือ ควรจัดหาสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยมาไว้ในห้งอสมุดให้มากขึ้น ติดต่อบริษัทยาเพื่อขอรับข้อสนเทศทางยาใหม่ ๆ มาไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ ปรับปรุงการแจ้งข่าวสารของห้องสมุด ติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับบริการค้นข้อสนเทศใหม่ ๆ และควรได้มีการร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดให้มากขึ้น ควรสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และในด้านการให้บริการชุมชนด้วยการทำให้ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมตำรายาไทย และให้บุคลภายนอกเช่น ศิษย์เก่า และบุคลากรในวงการสาธารณสุขอื่น ๆ ได้มาใช้บริการของห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อสถาบันที่สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ คือ ควรให้มีวิชาเลือก สำหรับนิสิตนักศึกษาที่ต้องการทำงานในห้องสมุดเฉพาะสาขาต่าง ๆ เช่นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งมีรายวิชาที่เน้นในเรื่องวรรณกรรมที่สำคัญในสาขาวิชาย่อย เช่น สาขาเภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น โดยมีบุคลากรในวิชาชีพนั้น ๆ ร่วมทำการสอนด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe purpose for this research is to study the various needs for pharmacy library services of faculty members and students at Chulalongkorn, Mahidol and Chiengmai Universities. The findings will be used and a guideline in improving library services to meet the current needs and to encourage interlibrary cooperation. Data were collected from 316 completed questionnaires, or 97.53 percent of the total 324, sent to randomly chosen from faculty members, graduate and undergraduate students of the academic year B.E. 2522-2523. It was found that both faculty members and students indicated the library was very important for their works and education. They used the library services more than once a week. Students used the library services after classes. Faculty members depended unpon the library primarily for preparations of their lecture materials, and to a lesser extent-for their research work. Graduate and undergraduate students used the library as a sources of references for their current studies. Most Faculty member preferred asking for assistance from library staff in their search for books and articles, while undergraduates students went about themselves and graduate students half depending on themselves and library staff. The most often used services were for circulations and photocopying, in that order. Both faculty members and students were moderately pleased with the library services. Their primary needs for the improvement of the services and facilities are the increase of professional publications, especially textbooks, reference books and journals. The library should also prouder more general publications and study carrels. Expansion of library hours, compiling subject bibliographies and library activities on special occasions are required. Users in the Faculty of Pharmacy, Chulalongkorn University would like their library to provide them with the service of acquiring the photocopies of journal articles from aboard, the service of indexing Thai journal articles in their field and audiovisual materials were also requested for loan. Users in the Faculty of Pharmacy, Mahidol University would like their library to provide the service of indexing Thai Journal articles, while users in the Faculty of Pharmacy, Chiengmai University indicated their specific needs for acquiring the photocopies of journal articles from aboard and also called for services on weekends. As to opinion on library regulations, faculty member appeared to be satisfied while students asked for improvement of library hours, the number of library materials to be loaned and the length of loan. Both faculty members and students agreed that the library materials should be up to date and increased in number. They also indicated the needs for expansion of library space together with the increase of readers’ seats and library personnel are generally required. Improvement of public relations according to library services is recommended. Recommendations to the faculty administrators are to provide more budget to be appropriate for the procurement of additional textbooks and journals, the expansion of library space and for the recruitment of library staff and also part-time student assistants. The provision of a delivery service to facilitate interlibrary cooperative must be supported. Further recommendations are to enlist librarians in appropriate educational program as well as provide them opportunities to be further trained domestically or abroad, and asking for support from the Thai Pharmaceutical Association to Join in the development of library in general. Librarians in charge are recommended to acquire additional materials such as pharmaceutical manufacturers’ brochure to be used for research work, to improve and update the library newsletters, to provide search techniques for current technology and new developments, to improve interlibrary cooperation, and extending library services to outsiders and alumni. The promotion of cultural and community programs as a token to meet university’s role are also recommended. The recommendations to the schools of library science is that the course work for an advanced degree in library sciences be provided with sufficient electives to fulfill the need for specific king of librarian for each institution such as pharmacy, veterinary and engineering. The topic should emphasize on the literature on those subject areas, and effort should be made to contact specialists in each field for their contribution towards teaching and consultation.-
dc.format.extent650036 bytes-
dc.format.extent524989 bytes-
dc.format.extent904567 bytes-
dc.format.extent664942 bytes-
dc.format.extent1932633 bytes-
dc.format.extent594680 bytes-
dc.format.extent734549 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectห้องสมุดเฉพาะ-
dc.subjectห้องสมุดกับผู้อ่าน-
dc.subjectห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา-
dc.titleการสำรวจความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดในคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยen
dc.title.alternativeA survey of users' needs in the Faculty of Pharmacy Librariesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_Nu_front.pdf634.8 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Nu_ch1.pdf512.68 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Nu_ch2.pdf883.37 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Nu_ch3.pdf649.36 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Nu_ch4.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_Nu_ch5.pdf580.74 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Nu_back.pdf717.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.