Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26808
Title: การวิเคราะห์โมเดลทางเลือกของความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึก
Other Titles: An analysis of alternative models of school engagement on learning achievement with deep learning as mediator
Authors: ยุวดี พันธ์สุจริต
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: ความผูกพัน
การเรียนรู้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนของนักเรียนที่มีภูมิหลังต่างกัน (2)เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลทางเลือกที่มีการส่งผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึกแบบบางส่วนและแบบสมบูรณ์ และเปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลที่มีเส้นทางเชิงการส่งผ่านต่างกัน และ (3) เพื่อวิเคราะห์ศึกษารูปแบบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนที่มีการส่งผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัด สพฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 975 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (3-way MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรลแบบโมเดลอิทธิพลตัวแปรส่งผ่าน (mediation model) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมีระดับความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนอยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนหญิงมีความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนสูงกว่านักเรียนชาย นักเรียนกลุ่มที่บิดามารดาอยู่ด้วยกันมีความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนสูงกว่ากลุ่มที่บิดามารดาหย่าร้าง/แยกกันอยู่/เสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่มีความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนสูงกว่านักเรียนที่อาศัยอยู่กับญาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลทางเลือกที่มีการส่งผ่านของการเรียนรู้แบบลุ่มลึกสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งสองโมเดล โดยโมเดลที่มีการส่งผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึกแบบบางส่วนสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าสถิติ Chi-square = 2.133, df = 4, p-value = 0.7114, GFI = 0.999, RMSEA = 0.000 และมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 0.533 ดีกว่าโมเดลที่มีการส่งผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึกแบบสมบูรณ์ ซึ่งมีค่าสถิติความสอดคล้อง Chi-square = 9.936, df = 5, p-value = 0.077, GFI = 0.997, RMSEA = 0.032) และมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.988 3. ความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนมีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยโมเดลที่มีการส่งผ่านแบบสมบูรณ์มีอิทธิพลทางอ้อมของความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และโมเดลที่มีการส่งผ่านแบบบางส่วนความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าอิทธิพลทางอ้อมผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึก
Other Abstract: The proposes of this research were: (1) to analyze and compare school engagement level of student with different backgrounds; (2) to develop and validate alternative mediation models with deep learning as partial and complete mediator, and to compare the goodness of fit of different mediation models; and (3) to study the pattern of direct and indirect effect pattern of school engagement via deep learning on learning achievement. The sample consisted of 975 ninth grade students in OBEC schools Bangkok. The research data were collected using questionnaire and analyzed by descriptive statistics, 3-way MANOVA, Pearson correlation and LISREL mediation model. The research findings were as follows: 1. Students had high level of school engagement. Girls had higher school engagement than boys, students whose parents living together had higher school engagement than those parents divorced/separated/death, and students who live with their parents had higher school engagement than students who live with relatives. 2. The two alternative mediation models with deep learning as mediator fitted to the empirical data. The partial mediated model fitted with Chi-square = 2.133, df = 4, p-value = 0.7114, GFI = 0.999, RMSEA = 0.000 which was better fit than the complete mediated model whose fit statistics were Chi-square = 9.936, df = 5, p-value = 0.077, GFI = 0.997, RMSEA = 0.032. 3. School engagement had positive effect on academic achievement. In complete mediated model, school engagement had significant indirect effect via deep learning at .01 level. In partial mediated model, school engagement had higher significant direct effect than indirect effect on academic achievement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26808
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1926
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1926
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yuwadee_pa.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.