Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26830
Title: การควบคุมของรัฐและการแทรกแซงสื่อมวลชนในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (2544-2545)
Other Titles: Statestate manipulationand professional intervention of the mass media during "Thaksin Shinawatra government" (2001-2002)
Authors: สิริลักษณ์ พัฒนลีลาวงศ์
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มิวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการในการควบคุม และแทรกแซงการทำงานของ สื่อมวลชนในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งศึกษามิติของอุดมการณ์ทางวิชาชีพของสื่อมวลชนวิทยุโทรทัศน์ และ นักหนังสือพิมพ์ โดยวัดจากการปฏิบัติหน้าที่และวิธีการนำเสนอข่าวสาร รวมทั้งศึกษาแนวทางในการ ป้องกันการแทรกแซงสื่อมวลชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยวิธีการวิจัยผู้วิจัยศึกษาจากกรณีตัวอย่าง (Case study) เอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางวิชาชีพสื่อมวลชน รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพภายใต้กรอบ รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2540 ผลจากการวิจัยมีดังนี้ รัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มีการควบคุมการนำเสนอข่าวและการแทรกแซงสื่อมวลชนทั้ง รูปแบบเก่าที่รัฐบาลในอดีตเคยนำมาใช้ และวิธีการแบบใหม่ในรูปของทุนนิยมทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้รวมศูนย์อำนาจด้วยฐานการเมืองที่แข็งแกร่ง และเครือข่ายทางธุรกิจของบุคคลในรัฐบาลเข้าแทรกแซง ในลักษณะของอำนาจนิยมแบบแฝงเร้น รวมทั้งการเข้าซื้อหุ้นในสถานีโทรทัศน์ไอทีวี จนกระทั่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยประกาศให้ช่วงเวลา 1 ปีที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเป็นรัฐบาลในปี 2544 เป็นปีแห่งการแทรกแซงสื่อมวลชน สำหรับสื่อมวลชนมีการแสดงออกของอุดมการณ์ทางวิชาชีพสื่อในระดับที่แตกต่างกันคือ สื่อมวลชนที่มีแนวคิดแบบอิสรภาพนิยมจะทำหน้าที่รับใช้สังคม และมักต้องต่อสู้กับกลุ่มอำนาจเพื่อความชอบธรรมในการ นำเสนอข่าวสารเพื่อประชาชน ส่วนสื่อมวลชนที่ยึดแนวคิดแบบอำนาจนิยม มักทำหน้าที่รับใช้กลุ่มอำนาจหรือ องค์กรเจ้าของสื่อรวมทั้งยังทำหน้าที่รับใช้รัฐบาล ผลการศึกษาในเรื่อง แนวทางการป้องกันการควบคุมและการแทรกแซงสื่อมวลชนพบว่า ทุกฝ่ายควรให้ ความร่วมมือ และรัฐบาลควรแสดงความจริงใจในการส่งเสริมให้ประชาชนและสื่อมวลชนมิสิทธิเสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยการเร่งกระบวนการการปฏิรูปสื่อกระจายเสียงวิทยุและ โทรทัศน์ให้เป็นรูปธรรม ส่วนภาคประชาชนควรรวมตัวกันในรูปขององค์กรต่างๆ หรือร่วมกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลและกดดันให้รัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ประชาชน ต้องคอยตรวจสอบมาตรการทางกฎหมายที่รัฐบาลจะผลักดันให้ออกมาบังคับใช้ในการควบคุมอิสรภาพของ สื่อมวลชนอันอาจสวนทางกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
Other Abstract: The objective of this research is to study the forms and methods used by the Thaksin Administration to control and interfere with the media. It also studies the journalistic principles on the part of both the print and broadcast media under such circumstances based on how journalists perform their duty and their news presentation. How the media devise their defence mechanisms against such political interference is also covered in this research. The methodology in the research includes the use of case study and documentary evidence as well as in-depth interviews as the basis for the study within the framework of political economics, journalistic professionalism and concept of civil liberty under the 1977 Constitution. The research concludes that the Government of Prime Minister Dr. Thaksin Shinawatra has extensively exercised control and interfered with the media - so much so that the Thai Journalists Association (TJA) described the year 2001 - the first year Prime Minister Thaksin was in power - as “The Year of Media Interference.” The research also finds that different branches of media have reacted differently to the political interference. Those with a history of standing up for press freedom have resisted the interference while those traditionally supportive of authoritarianism readily follow the political agenda of those in power. The research suggests that all sectors of the society, including the government, should promote media freedom and political participation of the public by accelerating the process of broadcast media reform while members of the civil society should work to pressure the government to respect media freedom.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26830
ISBN: 9741750641
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriluck_pa_front.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_pa_ch1.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_pa_ch2.pdf14.66 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_pa_ch3.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_pa_ch4.pdf29.82 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_pa_ch5.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_pa_ch6.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open
Siriluck_pa_back.pdf862.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.