Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26840
Title: ระบบแผ่นกั้นไร้อากาศร่วมกับถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนสำหรับบำบัดน้ำเสียอาคารสูง
Other Titles: Combined anaerobic baffled reactor and membrane bioreactor for high-rise building wastewater treatment
Authors: จักรพันธ์ เจริญผล
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: เครื่องปฏิกรณ์แบบเยื่อแผ่น
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน
น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัส
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบในการกำจัดสารอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสโดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นกั้นไร้อากาศร่วมกับถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการนำไปใช้งานต่อไป ในงานวิจัยนี้มีทั้งหมด 2 ระบบโดยมีความแตกต่างของจำนวนแผ่นกั้นของถังปฏิกรณ์ไร้อากาศอยู่ที่ 3 และ 5 แผ่น โดยทำการทดลองพร้อมกันและแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของเวลากักเก็บน้ำเสียที่มีผลต่อการบำบัดสารอาหารของระบบการทดลองที่ 2 ศึกษาผลของอัตราส่วนการเวียนสลัดจ์จากถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนเข้าสู่ระบบแผ่นกั้นไร้อากาศ โดยการแปรอัตราส่วนการเวียนสลัดจ์เข้าสู่ส่วนของระบบแผ่นกั้นไร้อากาศที่หัวถังต่อกลางถัง และการทดลองที่ 3 ศึกษาผลของอายุสลัดจ์ที่มีผลต่อการกำจัดสารอาหารของระบบ โดยเพิ่มอายุสลัดจ์เป็น 40 วัน น้ำเสียที่ใช้ในงานวิจัยเป็นน้ำเสียจริงจากอาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีค่าซีโอดีของน้ำเสีย ไนโตรเจนทั้งหมด และค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดที่ป้อนเข้าระบบอยู่ในช่วง 150-250, 35-65 และ 5-8 มก./ล. ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ทั้ง 2 ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี ไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสทั้งหมดสูงกว่าร้อยละ 95 90 และ 85 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดของระบบพบว่าระยะเวลากักเก็บน้ำเสียที่เหมาะสมที่สุดในงานวิจัยนี้คือ 3 ชั่วโมง อัตราส่วนการเวียนสลัดจ์ที่เหมาะสมคือ 100:0 อายุสลัดจ์ที่เหมาะสมคือ 40 วัน และระบบแผ่นกั้นไร้อากาศแบบ 5 ห้องมีประสิทธิภาพการกำจัดสารอาหารของระบบได้ดีกว่าระบบแผ่นกั้นไร้อากาศแบบ 3 ห้อง ค่าฟลักซ์เฉลี่ยของแผ่นเยื่อเท่ากับ 30 ลิตร/ตร.ม.-ชม. โดยควบคุมความดันลดของระบบไม่เกิน 10 กิโลปาสคาล
Other Abstract: In this research, the development of biological nutrient removal system, especially for nitrogen and phosphorus using the combined Anaerobic Baffled Reactor (ABR) and Membrane Bioreactor (MBR) for high-rise building wastewater treatment and reuse has been proposed. This research had two experimental sets-up with different amount of baffle at 3 and 5, running in parallel. The effects of hydraulic retention time (HRT), return sludge ratio and sludge age for nutrient removal by the combined systems were investigated. The wastewater used in this study came from a twenty-story Charoen Wisawakam Building, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University. The concentrations of COD, TKN and total phosphorus in influent were in the range of 150-250, 35-65 and 5-8 mg/l, respectively. The results showed that both systems had average removal efficiencies for COD, TKN and phosphorus higher than 95, 90 and 85% , respectively. The optimal HRT from this study was 3 hours. The optimal return sludge ratio was found to be 100:0. The sludge age was 40 days and ABR system with 5 baffles had nutrient removal efficiency higer than that of ABR with 3 baffles. The average flux through the membrane was 30 liters / m3-hr. The suction pressure was kept less than 10 kPa.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26840
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1927
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1927
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chakraphan_ch.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.