Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26843
Title: การใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลกลาง
Other Titles: Use of Aspirin in Diabetic Patients at Bangkook Metropolitan Administration General Hospital
Authors: ภัทรา สาลวโนทยาน
Advisors: อัจฉรา อุทิศวรรณกุล
กันทิมา ธัญญะวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้แอสไพรินเพื่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งแบบปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิ ในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยทั้งหมด 226 ราย ถูกสุ่มจากแผนกผู้ป่วยนอก อายุรกรรม ที่โรงพยาบาลกลาง ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2546 ถึงเดือน มีนาคม 2547 ผู้ป่วยทั้งหมด 226 ราย เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.8, มีอายุเฉลี่ย 61.5±10.5 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 31.9 ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 2-5 ปี มีโรคอื่นร่วมด้วย 1.9 โรค โดยเฉพาะโรคความดันโลหิต (ร้อยละ 42.5) และไขมันในเลือดผิดปกติ (ร้อยละ 42.1) และมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 26.5 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเป้าหมาย (ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) โดยการคัดกรองจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ทางคลินิก เพื่อการใช้แอสไพรินตามแนวทางของสมาคมโรคเบาหวาน แห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association; ADA ค.ศ. 2003) พบผู้ป่วย 24 รายจาก 179 รายและ 32 รายจาก 37 ราย ได้รับแอสไพรินเพื่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ (ร้อยละ 13.4 และ 86.5) ตามลำดับ และผู้ป่วย 10 ราย (ร้อยละ 4.4) ไม่ได้รับแอสไพรินเนื่องจากไม่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภายหลังการคัดกรองโดยเภสัชกร มีผู้ป่วย 151 ราย (ร้อยละ 66.8) ได้รับแอสไพริน โดยผู้ป่วย 115 ราย (ร้อยละ 64.2) ใช้แอสไพรินเพื่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบปฐมภูมิ และผู้ป่วย 36 ราย (ร้อยละ 97.3) ใช้แอสไพรินเพื่อการป้องกันแบบทุติยภูมิ ขนาดใช้ยาของแอสไพริน คือ 60-325 มิลลิกรัมต่อวัน และผู้ป่วยส่วนมากได้รับแอสไพรินขนาด 120 มิลลิกรัมต่อวัน (ร้อยละ 50.3) มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้แอสไพริน 16 อาการ (ร้อยละ 10.1) และต้องหยุดใช้แอสไพรินในผู้ป่วย จำนวน 6 ราย พบปัญหาจากการรักษาด้วยยา 82 ปัญหา จากผู้ป่วย 76 ราย และปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 70.7) เนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การคัดกรองโดยเภสัชกรทำให้มีการใช้แอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้น 97 ราย (ร้อยละ 45) ช่วยแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา และเพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
Other Abstract: The purpose of this study was to evaluate aspirin therapy for cardiovascular disease (CVD) prevention, both primary and secondary, in diabetic patients. 226 patients were recruited and randomized from the ambulatory clinic at Bangkok Metropolitan Administration General Hospital during November 2003 to March 2004. All of 226 patients were type 2 diabetes, 66.8% were female, mean age 61.5±10.5 years, 31.9% with duration of diabetes 2-5 years, with 1.9 co-morbid diseases expecially hypertention (42.5%) and dyslipidemia (42.1%) and only 26.5% reached the goal of glycemic control (FPG<130 mg/dl). By screening with medical records and clinical interviews for aspirin therapy, base on ADA guidelines 2003, 24 from 179 patients and 32 from 37 patients received aspirin therapy for primary and secondary prevention (13.4% and 86.5%) respectively, and 10 patients (4.4%) did not receive because of no risk factor for CVD. After pharmacist intervention, 151 patients (66.8%) received aspirin, 115 patients (64.2%) for primary prevention and 36 (97.3%) for secondary prevention. The daily dose of aspirin was 60-325 mg. and most patients received aspirin 120 mg. daily (50.3%). There were 16 adverse drug reactions from aspirin (10.1%) and aspirin was discontinued in 6 patients. The drug-related problems were identified, 82 problems in 76 patients, and the most common were non-compliance (70.7%) due to lack of knowledge about their medicine. The results showed that the pharmacist's intervention increased aspirin therapy in 97 diabetic patients (45%) for cardiovascular prevention, resolved drug-related problems and improved diabetic patient care.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26843
ISBN: 9741756925
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patra_sa_front.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Patra_sa_ch1.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Patra_sa_ch2.pdf9.17 MBAdobe PDFView/Open
Patra_sa_ch3.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open
Patra_sa_ch4.pdf18.38 MBAdobe PDFView/Open
Patra_sa_ch5.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Patra_sa_back.pdf13.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.