Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26900
Title: ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนรัฐบาล เขตการศึกษา 6
Other Titles: Teachers'opinions concerning problems of health education instruction at the lower secondary education level of government schools,Educational Region six
Authors: ศิวิไล กสิกิจสกุลผล
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนรัฐบาล เขตการศึกษา 6 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาระหว่างครูที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกับครูที่มีประสบการณ์การสอนมาก โดยส่งแบบสอบถามไปยังครูที่สอนวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 208 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 196 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.23 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่า “ที” (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยในด้านหลักสูตรและเนื้อหาวิชาสุขศึกษา ด้านการเตรียมการสอนวิชาสุขศึกษา ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ด้านวิธีสอนวิชาสุขศึกษา ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษา ด้านการบริหารการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา และด้านอื่นๆ ในการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา ส่วนด้านวัตถุประสงค์วิชาสุขศึกษา พบว่ามีปัญหาระดับน้อยที่สุด 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาในด้านต่างๆ ระหว่างครูที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกับครูที่มีประสบการณ์มาก พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน ยกเว้นด้านการเตรียมการสอน
Other Abstract: The purposes of the research were to study the teachers’ opinions concerning problems of health education instruction at the lower secondary education level of government schools, Educational Region Six, and to compare the teachers’ opinions concerning problems of health education instruction between the less experienced teachers and the more experienced teachers. The questionaires were sent to 208 teachers in which only 196 questionnaires were returned. The returned questionnaires were figured out as 94.23 percents. The obtained data were analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. The t-test was also employed to test statistically significant differences. The major findings were as follows : 1. Teachers’ opinions concerning problems of health education instruction were “low” in the areas of curriculum and contents, teaching preparation, instructional materials, class administration, and the other problems. But the area of objectives was “lowest”. 2. The comparison of teachers’ opinions concerning problems of health education instruction between the less experienced teachers and the more experienced teachers revealed that there were no statistically significant differences between the two groups at .05 level, but the teaching preparation aspect.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26900
ISBN: 9745687375
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sivilai_ka_front.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open
Sivilai_ka_ch1.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open
Sivilai_ka_ch2.pdf8.98 MBAdobe PDFView/Open
Sivilai_ka_ch3.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Sivilai_ka_ch4.pdf16.97 MBAdobe PDFView/Open
Sivilai_ka_ch5.pdf9.66 MBAdobe PDFView/Open
Sivilai_ka_back.pdf18.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.