Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26912
Title: การศึกษาผลกระทบที่เป็นได้จากการใช้นโยบายรักษาเสถียรภาพของระดับราคาปลาสวายต่อการผลิตและการตลาด:bศึกษาเฉพาะกรณีของภาคกลาง
Authors: สมศักดิ์ ทรัพย์เหลือหลาย
Advisors: ทิพาภรณ์ ทวีกุลวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาคกลางเป็นภาคที่มีการผลิตปลาสวายมากที่สุดของประเทศ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องมาจากความสำเร็จในการผสมเทียมโดยการใช้โฮโมน ในปี 2509 และจากการขยายเนื้อที่การผลิต ปริมาณผลผลิตปลาสวายจากฟาร์มภาคกลางได้เพิ่มสูงขึ้นจาก 878.5 เมตริกตันในปี 2517 เป็น 7032.24 เมตริกตันในปี 2525 ผลผลิตปลาสวายของภาคกลางอีกส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ได้ลดความสำคัญลงเรื่องๆ โดยผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้ลดลงจาก 1858.5 เมตริกตันในปี 2517 เป็น 220 เมตริกตันในปี 2525 ผลผลิตที่ได้จากภาคกลางจะถูกใช้เพื่อการบริโภคภายในภาคกลางเองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกว่า 90% ถูกใช้ไปเพื่อการบริโภคสด นอกจากนี้ยังมีอุปสงค์ที่เกิดจากภาคอื่น จากการศึกษาพบว่าปริมาณผลผลิตจากฟาร์มเพิ่มสูงขึ้นแต่ราคาปลาสวายที่เกษตรกรขายได้กลับมีแนวโน้มลดต่ำลงจาก 17.99 บาท ต่อกิโลกรัมในปี 2517 เป็น 5.09 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2525 ซึ่งความไม่แน่นอนของราคาปลาสวายยังสามารถดูได้จากค่าดัชนีตามฤดูกาล โดยราคาปลาสวายที่จำหน่าย ณ สะพานปลากรุงเทพจะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 91.96 เปอร์เซนต์ในเดือนตุลาคมถึง 107.30 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกุมภาพันธ์ของราคาเฉลี่ยตลอดปี พ.ศ. 2521-2523 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงฤดูฝน ราคาปลาสวายจะต่ำเพราะว่าปลาสวายจะถูกแข่งขันจากสินค้าสัตว์น้ำชนิดอื่น และราคาปลาสวายจะดีขึ้นมากในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากปัญหาของการขยายการผลิตมากเกินไปและปัญหาราคาปลาสวายไม่มีเสถียรภาพ วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งที่จะศึกษาว่าเมื่อรับเข้าแทรกแซงกลไกราคาเพื่อช่วยให้ราคามีเสถียรภาพแล้วจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้ผลิตหรือผู้บริโภคมากน้อยเท่าใด โดยดูที่ผลสะท้อนทางด้านสวัสดิการการศึกษานี้ได้ใช้วิธีการศึกษาของ เบนตั้น เอฟ.มัสเซล ที่ศึกษาถึงราคาเสถียรภาพและสวัสดิการโดยกำหนดสมการอุปสงค์และสมการอุปทานของปลาสวายเพื่อคำนวณค่าตัวแปรไปแทนค่าในแบบจำลองเพื่อหาค่าที่ควรเป็นของผลได้สู่ผู้ผลิตและผู้บริโภคตลอดจนผลได้รวมของสังคมต่อไป จากผลการศึกษาปรากฏว่า เมื่อมีการรักษาเสถียรภาพราคาจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้สวัสดิการรวมของสังคมสูงขึ้นโดยแยกผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้ เมื่อมีการรักษาเสถียรภาพราคาของระดับราคาปลาสวายในภาคกลางแล้วจะทำให้ผู้ผลิตได้รับส่วนเกินเพิ่มขึ้นเท่ากับ 3203.87หน่วย และการรักษาเสถียรภาพราคาจะทำให้ผู้บริโภคได้รับส่วนเกินผู้บริโภคเท่ากับ 2658.78 หน่วยทำให้สังคมได้รับสวัสดิการรวมเท่ากับ 5861.65 หน่วย ฉะนั้นการรักษาเสถียรภาพราคาจะก่อให้เกิดประโยชน์มากแก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยที่ผลได้ของผู้ผลิตจะมากกว่าผลได้ของผู้บริโภค การศึกษานี้ได้เสนอให้ใช้นโยบายมูลภัณฑ์กันชนและการประกันราคาขั้นต่ำในการทำให้ราคาปลาสวายมีเสถียรภาพแต่มาตรการทั้งสองที่เสนอมานี้เป็นมาตรการที่มีต้นทุนสูงมาก เพราะต้องมีการใช้พื้นที่ห้องเย็นในการเก็บรักษาให้ปลาสวายมีความสดอยู่ ฉะนั้นหากรัฐบาลไม่มีงบประมาณเพียงพอมาตรการทั้งสองที่เสนอมาจะดำเนินไปได้ยาก มาตรการเสริมอื่นๆ ที่จะทำได้ง่ายกว่ามีอาทิเช่น การควบคุมอุปทานปลาสวายออกสู่ตลาดโดยการเลี้ยงรอราคาในบ่อเลี้ยงและการจัดให้มีตลาดกลาง กล่าวคือ ในขณะที่ราคาต่ำผู้ผลิตจะยังคงเลี้ยงปลาต่อไปเรื่อยๆและจะขายผลผลิตก็ต่อเมื่อราคาปลาสวายสูงขึ้น ส่วนการจัดให้มีตลาดกลางก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งของการควบคุมอุปทานที่จะออกสู่ตลาด โดยตลาดกลางจะกำหนดปริมาณรับซื้อปลาสวายในแต่ละวันเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณอุปสงค์ในวันนั้นๆ เพื่อเป็นการช่วยให้ระดับราคาปลาสวายไม่ตกต่ำ
Other Abstract: The Central Plain is the region in the country in which most Pla Sawai is produced. Outputs have been increased due to the success in the artificial insemination by using hormone in 1966, and from the expansion of aquaculture land. As a result the quantity of Pla Sawai output from the Central farm region has increased from 878.5 metric ton in 1974 to 7032.34 metric ton in 1982. However, a part of Pla Sawai productions of the Central Plain which come from the natural river source has been declining. The trend of the output from the natural river source has been reduced from 1858.5 metric ton in 1974 to 220 metric ton in 1982. A lot of productions from Central Plain is absorbed by the consumer within the region, with 90 percent being consumed fresh from the market, while relatively small quantity is absorbed by the demand from other regions. From the past study, it has been found that while the quantity of farm output has increased, The price trend of Pla Sawai has shown a marked decline, i.e, from 17.99 baht per kilogram in 1974 to 5.09 baht per kilogram in 1982. The instability of Pla Sawai pricing can also be checked form the seasonal index which shows that the selling price at Bangkok Fish Market Organization tended to move between 91.96 percent in October to 107.30 percent in February of mean price through the year 1978-1980. This movement indicates that in the rainy season the price of Pla Sawai is low due to competition from other fisheries, but in winter, its price again picks up. The over expansion of Pla Sawai output and its apparent price instability has given the impetus to this thesis study. The aim of the thesis is to explore the result of government intervention with the present pricing mechanism by setting the stabilizing prices. Whether the producer or the consumer will gain from this effort can be analysed through the welfare aspect of this study. The methodology employed here is adapted from Benton F. Massell’s study on stabilizing price and welfare. Demand and supply equations of PlaSawai are estimated to provide certain coefficients in the model of the expected value of gain to consumer, producer and the total social gain. From the study it appears that when there is stabilizing price the gain will occur to both producers and consumers together and total welfare will increase. From the analysis when there is price stabilization policy of Pla Sawai in the Central Plain, The producer will receive a surplus of 3202.87 units, while the stabilizing price gain to consumer is 2658.78 units and the net total welfare to society will become 5861.65 units. So in practice the gain from price stabilization will occur to both producers and consumers. Comparatively speaking, however, price stabilization will lead to gain in producer more than the gain to consumer. This study has suggested the application of buffer stock and minimum price support to stablilize the price of Pla Sawai. But these two suggested policies involve a large amount of budget for the government has to use freezing room for storage for instance. So if the government has not enough budget, the two suggested policies will be difficult to manage. Other policies to help support the stabilizing price schemes are, for example, the control of the supply of Pla Sawai by continuing feeding the fish in the pond waiting for a better price in the future and/or organizing a central market that will regulate the supply each day in correspond with the demand of that day.
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26912
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_Su_front.pdf476.72 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Su_ch1.pdf568.92 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Su_ch2.pdf681.1 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Su_ch3.pdf803.1 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Su_ch4.pdf581.08 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Su_ch5.pdf582.73 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Su_back.pdf938.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.