Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27149
Title: การวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมกระสอบ ในประเทศไทย
Other Titles: A financial analysis of jute mill industry in Thailand
Authors: สุรทิน เปรื่องเวทย์
Advisors: ธดาวดี มีนะกนิษฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมกระสอบในประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมด้านเกษตรกรรมเนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ ปอ และผลิตผลที่ได้คือ กระสอบป่านที่นำมาบรรจุผลผลิตทางเกษตร ซึ่งก่อน พ.ศ.2495 ประเทศไทยต้องสั่งซื้อกระสอบจากประเทศอินเดียและปากีสถานมาเพื่อใช้บรรจุสินค้าทางเกษตรในประเทศไทย ต่อมาหลังจาก พ.ศ.2495 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ตั้งโรงงานผลิตกระสอบขึ้น จากนั้นก็มีโรงงานตั้งเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยมา กำลังการผลิตกระสอบขยายตัวสูงมากจนกระทั่งผลผลิตเกินความต้องการใช้ภายในประเทศ จนกลายเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกก่อให้เกิดปัญหาการตัดราคากันเอง เพราะราคาที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งบางโรงงานต้องเลิกล้มกิจการไปในที่สุด วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึงฐานะทางการเงินของผู้ผลิตทั้งอุตสาหกรรม โดยทำการวิเคราะห์ตัวเลขจากงบการเงินที่เปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิต สมรรถภาพในการหากำไร สภาพเสี่ยงและแนวโน้มของสภาวะอุตสาหกรรมนี้ในอนาคต อีกทั้งศึกษาถึงภาวะโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมกระสอบเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ และนักลงทุนในการที่จะตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ภาวะการผลิตกระสอบในประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงงานทั้งหมด 14 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง และเป็นของเอกชน 11 แห่ง โรงงานทอกระสอบส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกระสอบคือ ปอแก้วและปอกระเจา ซึ่งต้องใช้ปีละประมาณ 200,000 เมตริกตัน ราคาปอโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 4 - 5.50 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาปอขึ้นอยู่กับปริมาณการปลูกปอของชาวไร่ในแต่ละปี ซึ่งไม่แน่นอน แรงงานที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นหญิงประมาณร้อยละ 90 ของแรงงานทั้งหมด ซึ่งต้องใช้แรงงานประมาณ 30,544 คนต่อปี กำลังการผลิตขณะนี้โรงงานทั้ง 14 แห่งสามารถผลิตกระสอบได้เกินความต้องการใช้ภายในประเทศ จำเป็นต้องส่งออกไปแข่งขันกับต่างประเทศ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากเนื่องจากการปรับอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำ และการขึ้นค่ากระแสไฟฟ้าของรัฐบาล อีกทั้งค่าวัตถุดิบก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้ต้นทุนการผลิตขณะนี้ประมาณ 14.00 – 15.00 บาทต่อใบ ในขณะที่ราคาจำหน่ายในประเทศประมาณ 13.50 – 14.50 บาทต่อใบ และราคาขายส่งกระสอบไปยังต่างประเทศประมาณ 11.00 – 12.50 บาทต่อใบเท่านั้น เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ทำให้พ่อค้าผู้ผลิตกระสอบต้องการขายกระสอบในประเทศให้ได้มากที่สุด จึงเกิดปัญหาขายตัดราคากันเองทำให้ราคาขายลดลงมาเรื่อยๆ ภาวะการค้ากระสอบต้องประสบปัญหาด้านนี้มาโดยตลอด จนเป็นเหตุให้เกิดการรวมกลุ่มโรงงานทอกระสอบขึ้น แต่เนื่องจากมีปัญหาด้านละเมิดกฎข้อบังคับทำให้การรวมกลุ่มต้องสลายตัวไปในที่สุด นอกจากนี้ตลาดต่างประเทศก็ไม่อำนวยให้ส่งกระสอบไปขายยังต่างประเทศได้เพราะมีประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญรายใหญ่คือประเทศอินเดียและปากีสถานอีกทั้งขณะนี้มีประเทศจีนเข้ามาแข่งขันในตลาดอีกด้วย ทำให้ภาวะการค้าของอุตสาหกรรมนี้ไม่แจ่มใสเท่าที่ควร การวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมกระสอบในประเทศไทย ในช่วงปี 2519 – 2522 ได้ทำการวิเคราะห์โดยคำนวณหาอัตราส่วนทางการเงินซึ่งได้ข้อมูลมาจากงบการเงินของอุตสาหกรรมนี้ ในการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ (1) วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของแต่ละบริษัทตามขนาดของอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็นกิจการขนาดใหญ่ กิจการขนาดกลาง และกิจการขนาดเล็ก (2) หาอัตราส่วนทางการเงินโดยเฉลี่ยของกิจการในแต่ละขนาด (3) หาอัตราส่วนทางการเงินโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรมและ (4) วิเคราะห์แนวโน้มของอัตราส่วนทางเงินของแต่ละประเภทเพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหวของอัตราส่วนต่างๆ ของแต่ละบริษัทเปรียบเทียบกับอัตราส่วนโดยเฉลี่ยของกิจการในแต่ละขนาด และของทั้งอุตสาหกรรมด้วย ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบนั้นมีบริษัทที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ทั้งหมด 9 บริษัท ได้ทำการวิเคราะห์โดยคำนวณหาอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ 4 ประเภท ด้วยกัน คือ อัตราส่วนที่แสดงสภาพคล่อง อัตราส่วนแสดงสภาพเสี่ยง อัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการดำเนินงาน และอัตราส่วนที่แสดงสมรรถภาพในการหากำไร ซึ่งอัตราส่วนแต่ละประเภทนี้ได้แบ่งไปตามความเหมาะสมได้อีกทั้งหมด 15 อัตราส่วนซึ่งจากผลการวิเคราะห์ถึงฐานะทางทางการเงินของกิจการในแต่ละขนาด พบว่าบริษัทที่มีกิจการขนาดใหญ่มีสภาพคล่องต่ำกว่ากิจการที่มีขนาดกลาง แต่สูงกว่ากิจการที่มีขนาดเล็ก ทางด้านสภาพเสี่ยงกิจการที่มีขนาดใหญ่มีอัตราส่วนนี้สูงกว่ากิจการขนาดกลางและขนาดเล็กด้วย ส่วนสมรรถภาพในการดำเนินงานพบว่ากิจการที่มีขนาดใหญ่มีอัตราส่วนต่ำกว่ากิจการที่มีขนาดกลางแต่สูงกว่ากิจกรรมที่มีขนาดเล็ก สำหรับสมรรถภาพในการหากำไร พบว่ากิจการขนาดใหญ่มีกำไรจากการดำเนินงานต่ำกว่ากิจการขนาดกลางและขนาดเล็กเช่นเคย จึงพอที่จะสรุปได้ว่ากิจการขนาดกลางมีฐานะทางการเงินเป็นที่น่าพอใจกว่ากิจการที่มีขนาดใหญ่และกิจการที่มีขนาดเล็ก ทั้งในด้านสภาพคล่องสภาพเสี่ยง และสมรรถภาพในการหากำไร ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากสภาพคล่อง ปรากฏว่ากิจการขนาดกลางมีหนี้สินหมุนเวียนใกล้เคียงกับสินทรัพย์หมุนเวียน ในขณะที่กิจการขนาดใหญ่ และกิจการขนาดเล็กมีจำนวนหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน นอกจากนี้กิจการขนาดกลางยังสามารถขายสินค้าที่มีอยู่ได้เร็วกว่ากิจการขนาดใหญ่ ทางด้านสภาพเสี่ยงปรากฏว่ากิจการขนาดกลาง ใช้เงินทุนจากส่วนของหนี้สินที่ไม่สูงจนเกินไป ทำให้สภาพเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี ทางด้านสมรรถภาพในการหากำไร ก็พบว่ากิจการขนาดกลางมีจำนวนขาดทุนสุทธิหลังหักภาษีต่อค่าขายน้อยกว่ากิจการขนาดอื่น แสดงให้เห็นว่าโอกาสที่จะทำกำไรของกิจการขนาดกลางมีมากกว่ากิจการขนาดอื่น จากผลการวิเคราะห์อาจกล่าวโดยส่วนรวมได้ว่าฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรมกระสอบในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่น่าพอใจนัก โดยเฉพาะสภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำ และสมรรถภาพในการหากำไรก็ต่ำมากด้วย ทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนไม่คุ้มค่ากับที่ได้ลงทุน ซึ่งทำให้ไม่สามารถดึงดูดใจแก่นักลงทุนได้ ด้านการบริหารเงินทุนของอุตสาหกรรมกระสอบในประเทศไทย แบ่งออก เป็น 2 ส่วนคือ โครงสร้างของเงินทุนและงบแสดงที่มาและใช้ไปของเงินทุน เพื่อพิจารณาว่าอุตสาหกรรมนี้จัดหาเงินทุนได้โดยวิธีใด และใช้เงินทุนนั้นไปด้วยความเหมาะสมหรือไม่ โดยศึกษาจากงบดุลรวมของกิจการแต่ละขนาดและอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างของเงินทุนของกิจการขนาดใหญ่ กิจการขนาดกลาง กิจการขนาดเล็กและของอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยทุนที่มาจากหนี้สินเฉลี่ยแล้วประมาณร้อยละ 30.28, 66.13, 63.80 และ 75.00 ตามลำดับ และมักจะเป็นหนี้สินระยะสั้นซึ่งได้แก่เงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมจากธนาคาร และตั๋วเงินจ่ายเฉลี่ยแล้วประมาณร้อยละ 64.31, 57.98, 52.99 และ 61.72 ตามลำดับและส่วนที่เหลือมาจากส่วนของเจ้าของประมาณ 19.72%, 33.88%, 37.20% และ 25.00% ตามลำดับ และส่วนของเจ้าของที่มาจากการนำหุ้นสามัญออกจำหน่ายร้อยละ 26.03, 31.11, 42.35 และ 23.54 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาทางด้านแหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียนปรากฏว่าอุตสาหกรรมกระสอบโดยทั่วไปมีเงินทุนหมุนเวียนลดลง เนื่องจากการใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียนมากกว่าที่ได้มาของเงินทุนหมุนเวียน ส่วนทางด้านแหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินทุนนั้นปรากฏว่ามีการใช้เงินทุนที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และนโยบายการใช้เงินทุนที่ดี ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาพเสี่ยงสูง อีกทั้งยังจะก่อให้ได้รับผลตอบแทนต่ำอีกด้วย ทางด้านปัญหาและข้อคิดเห็น ปัญหาที่สำคัญของอุตสาหกรรมกระสอบในประเทศไทยขณะนี้มีมากมายหลายปัญหาด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยปัญหาค่าจ้างแรงงานค่ากระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น วัตถุดิบในการผลิตที่มีปริมาณไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นปัญหาให้ต้นทุนผลิตกระสอบสูงกว่าราคาขายตลอดมา ปัญหาผลิตเกินความต้องการใช้ในประเทศ ต้องส่งออกไปแข่งขันกับต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าในประเทศ ปัญหาที่มากขณะนี้คือ การแข่งขันของวัสดุเส้นใยสังเคราะห์ คือพลาสติกแทนกระสอบป่าน นอกจากนั้นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในการดำเนินงานส่วนใหญ่ต้องอาศัยแหล่งเงินทุนจากหนี้สินระยะสั้น เพราะขาดแหล่งเงินทุนระยะยาว ทำให้นโยบายการจัดหาเงินทุนของอุตสาหกรรมนี้เป็นไปด้วยความไม่สอดคล้องกับอายุการใช้งานของสินทรัพย์ที่จะลงทุน ซึ่งอาจจะพิจารณาได้ว่าอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างเสี่ยงและให้ผลตอบแทนต่ำ แต่ขณะนี้สมาคมอุตสาหกรรมกระสอบไทยได้มีบทบาทที่จะพยายามช่วยเหลืออุตสาหกรรมนี้เพื่อให้อยู่รอดมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการสนับสนุนปลูกปอกระเจาให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะไม่ขาดแคลนวัตถุดิบ ควรระงับการขยายหรือตั้งโรงงานเพิ่มเพื่อไม่ให้ผลผลิตกระสอบเกินความต้องการมาก ในด้านต้นทุนการผลิต ด้านแรงงานและค่ากระแสไฟฟ้าคงจะควบคุมได้ยากเพราะเป็นไปตามคำสั่งรัฐบาลแต่ก็ควรปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน ประหยัดค่าวัตถุดิบโดยการคัดเลือกปอที่มีคุณภาพดีมาผลิตควรประหยัดการใช้กระแสไฟฟ้าเท่าที่สามารถจะทำได้ อีกทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรให้ดีขึ้น สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านจำหน่าย ควรสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มโรงงานไม่ให้ขายราคาตัดกันเอง โดยทางราชการเข้ามามีบทบาทและร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติให้รัดกุม ซึ่งอาจจะออกเป็นกฎหมายบังคับอย่างเช่น การรวมกลุ่มโรงงาน ในการผลิตและจำหน่ายของสมาคมน้ำตาลแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้มีการใช้กระสอบป่านบรรจุสินค้าทางด้านอื่นอีกด้วย ควรเสนอต่อรัฐบาลให้ช่วยจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาว เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ และธนาคารแห่งประเทศไทยควรเร่งรัดพิจารณาการขยายวงเงินเครดิตในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของแต่ละโรงงานเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมนี้ตลอดไป
Other Abstract: Jute industry Thailand is an agre-industry which uses jutes as raw materials. And the products are jute bags which use in containing agricultural products. Before B.E.2495, Thailand used to import jute bag from India and Pakistan. After B.E.2495 jute mills were established in Thailand under government support. The number of jute mills were increasing and jute products were also increasing at a high rate, So the quantity of jute goods in Thailand is now exceeding the normal demand of internal consumption. Later, it become the industry for exporting. The jute mill companies had to compete each other to export their products. While the cost of production is increasing, the export price maintains low in order to survive the foreign market. Many company could not tolerate the heavy loses and had to withdraw from business. This thesis intends to study into financial status of the producers in the whole industry by analyzing status which is publicly revealed in order to find out the cost of production, efficiency of making profit, the debt ratio, and the tendency of jute industry in the future. Moreover, it is aimed to study into the general situation of the jute industry for the future use of those who are interested in it and for the investors who are deciding to invest in this kind of industry. There are 14 factory of jute mills in Thailand, 3 of which are state enterprises and the rest are privately owned. The mills are situated in the central and northeastern part of the country. Raw materials are jute and kenaf which are about 200,000 metrictons annually. The average price of raw material is about 4-4.50 baht per kilogramme which depends largely on the quantity of jute plants, 90 percent of labour force are women and they require 30,544 workers per year. Rate of production is now exceeding the domestic demands and has to be exported at he losing price. Because the cost of production of standard rice bag is about 14.00-15.00 baht per bag but the local market price is about 13.50-14.50 baht per bag and the export price is only 11.00-12.50 baht per bag. Firstly, the producers try to increase their local sales as much as possible by cutting the selling price in order to gain market share. The producers have endeavored to solve such problems by forming a jute goods producer group to cooperate in stabilize the price. But it could run for a short period due to the violention of rules by some producers. The competition in the foreign markets are also tough. Among these competitors are India, Bangladesh and China. The situation of the jute industry and jute market is rather obscure. The analysis of the financial aspect of jute industry in Thailand during B.E. 2519-2522 by calculating financial ratio which derive from financial statements of this industry. The analysis consists of four characters as follows (1) analyzing financial ratios of every company in this industry by deviding into large, medium and small size (2) finding average financial ratios of each size (3) finding average financial ratio of the industry (4) studying the trend of financial ratio in order to compare the movement of financial ratio of each company, with the average ratio of each group of companies and compare with the whole industry. In analyzing and comparing of this industry, there are 9 companies for analyzing and calculating in 4 kinds of financial ratios i.e, liquidity ratio, leverage ratio, efficiency ratio and profitability ratio which in each kind of ratios can be devided into 15 ratios appropriately. In our analysis of financial status of the companies in each size we found that liquidity ratio of large size companies is lower than those of medium size but higher than those of small size, leverage ratio of large size is higher than those of medium size, efficiency ratio of large size is lower than those of medium size but higher than those of small size, and profitability ratio of large size is lower than those of medium size and small size. So we can conclude that financial status of medium size is more satisfied than both large and small size in liquidity, leverage, profitability. It might be considered that medium size has favourable liquidity because current liability is almost equal to current asset. But large and small sizes appeared that current liabilities exceed current assets. Besides, medium size can sell products quicker rate than large size. In leverage aspect, it is found that working capital on the liability portion was utilized by the medium size not too high. It mean that, its leverage is rather satisfied. In profitability aspect, it is found that the figure of net loss to sale in medium size is lower than those of others. Therefore, the opportunity to make a profit of the medium size is more than those of others. As a whole industry, it might be concluded that financial status was unsatisfactory; especially liquidity and profitability, which are not yet attractive to the investors. Studying into the capital management of financial administration of the jute industry in Thailand, this thesis concentrates in 2 parts i.e. (1) the capital structure (2) the statement of the source of funds and the uses of funds for the purpose of finding out the methods of securing the funds, the ways of spending those funds by studying from the balance sheets of each size of the industry. It is found that the capital structure of the large, medium, small companies and of the industry is consisted of the average liability by 80.28 %, 66.13 %, 63.80 % and 75.00 % respectively, and most of them are current liability in form of overdraft and bank loans approximately 64.31 %, 57.98 %, 52.99 % and 61.72 % respectively, and the rest from the manufacturing companies themselves approximately 19.72 %, 33.88 %, 37.20 % and 25.00 % respectively. When we consider about the source of funds and the uses of working capital, it appeared that, generally, working capital has decreased due to using working capital more than getting it. For statement of the source of funds and the uses of funds, it is found that there are signs of unsuitable use of funds which cause the high rate of debt ratio and the low rate of profitability ratio, lest that the industry may not be able to repay in each in time, if this is still consistently practised, the industry will be undergoing high risk and may effect its future financial security. The major problems in the jute industry in Thailand are wage problems, high cost of electricity, the unstable supply of raw materials and the increasing cost of raw materials which cause the high cost of production while the marketing price of jute products is maintaining at the low level. Moreover, there are the problems of over production and the most critical of all, the competition of the synthesis fabric sacks. There are still some problems of capital and the source of funds and the uses of funds among others. The Thailand Jute Mill Association is always playing an important role to help surviving the whole industry. It is believed that the Government should pay more attention in encouraging and promoting the jute plantation and planning a suitable production scheme to meet market demands. The number and size of jute mills should be limited to what they are now to prevent the over-production situation. At the cost of production side, though wage price and electricity cost are uncontrollable, the companies should keep operation cost as low as possible through improving job enrichment and cost reduction. In solving the problems of marketing, the jute industry companies should be encouraged to cooperate in stabilizing the price through their association and the Government should come in to help drafting rules and orders to keep the jute mills together. Moreover, the Government should encourage the use of jute bag for containing various kind of products widely as possible. On financial aspect, the jute companies should review their funding policies to suit the spending terms such as borrowing a short-term loan for really short-term investment. In case of looking long-term funding sources, the Government, again, should come in to find the funding sources to help the whole industry, The Bank of Thailand too, should increase the amount of credit at the low-rate interest for the survival of jute industry companies through the critical period.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27149
ISBN: 9745609676
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suratin_Pr_front.pdf704.48 kBAdobe PDFView/Open
Suratin_Pr_ch1.pdf308.62 kBAdobe PDFView/Open
Suratin_Pr_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Suratin_Pr_ch3.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open
Suratin_Pr_ch4.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Suratin_Pr_ch5.pdf764.88 kBAdobe PDFView/Open
Suratin_Pr_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.