Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2715
Title: การออกเสียง /l/ ท้ายคำภาษาอังกฤษในบริบทภาษาไทยและภาษาอังกฤษของผู้พูดคนไทยที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่างกัน
Other Titles: Production of final /l/ in English words in Thai and English contexts by Thai speakers with different English-language experience
Authors: สุชาดา เสริฐธิกุล, 2522-
Advisors: สุดาพร ลักษณียนาวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Sudaporn.L@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ--การออกเสียง
การถ่ายโอนภาษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการออกเสียง /l/ ท้ายคำภาษาอังกฤษในบริบทภาษาไทยและภาษาอังกฤษของผู้พูดคนไทยที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่างกัน โดยศึกษาจากนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคัดเลือกมา 40 คนจากจำนวน 200 คน การคัดเลือกแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูง จำนวน 20 คน และกลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำ จำนวน 20 คน โดยให้อ่านประโยคทดสอบซึ่งมีคำทดสอบปรากฏอยู่ กลุ่มตัวอย่างจะออกเสียงคำที่ต้องการศึกษาใน 2 บริบท คือ บริบทภาษาไทย 30 คำทดสอบ และบริบทภาษาอังกฤษ 30 คำทดสอบ สมมติฐานของการวิจัยนี้คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำจะมีการถ่ายโอนภาษาสูง กล่าวคือ จะมีการออกเสียงพยัญชนะ /l/ ท้ายคำเป็นรูปแปร [n] ซึ่งเป็นเสียงท้ายที่มีในภาษาไทยมาก ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูง จะมีการถ่ายโอนภาษาต่ำ คือ จะมีการออกเสียงใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา คือ เป็นรูปแปร [w] นอกจากนี้เมื่อคำที่ต้องการศึกษาอยู่ในบริบทภาษาไทยจะมีการถ่ายโอนภาษามากกว่าในบริบทภาษาอังกฤษ จากผลการวิเคราะห์พบว่า การแปรในการออกเสียง /l/ ท้ายคำภาษาอังกฤษ มีการปรากฏเป็น 5 รูปแปร ได้แก่ [...], [...], [w], [n] และ [is an empty set]. รูปแปรที่ปรากฏมากที่สุด คือ [w] รองลงมาคือ [is an empty set], [n], [...] และ [...] ตามลำดับ ผลการศึกษาในเชิงสถิติแสดงให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการแปรของตัวแปรภาษากับตัวแปรทางสังคมทั้งสองประการดังกล่าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .01 กล่าวคือ ผู้พูดที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำจะมีการถ่ายโอนภาษามากกว่าผู้พูดที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูง และในบริบทภาษาไทยจะมีการถ่ายโอนภาษามากกว่าในบริบทภาษาอังกฤษ ผลการวิจัย พบว่า รูปแปร [n] ซึ่งเป็นรูปแปรที่แสดงว่าผู้พูดมีการถ่ายโอนภาษามากที่สุดนั้น ในทั้งสองกลุ่มตัวอย่าง มีการปรากฏของรูปแปรนี้ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คำที่นำมาใช้ในการวิจัยนี้หลายคำเป็นคำที่ยืมมาใช้จนกลายคำไทยไปแล้ว นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความโน้มเอียงเข้าสู่ภาษาที่สองมากขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างมีการใช้รูปแปร [w] และ [...] ที่เป็นรูปแปรของภาษาในระหว่าง (interlanguage) ในปริมาณมาก
Other Abstract: The objective of this research is to study the production of final /l/ in English words in Thai and English contexts by Thai speakers with different English-language experience. The subjects were 40 first year students at Faculty of Arts, Chulalongkorn University that were selected from 200 students. The selected group was divided into 2 groups. Half of the subjects were the speakers with high English-language experience and the rest were subjects with low English-language experience. The subjects were to read 30 test items appearing in Thai contexts and 30 test items appearing in English contexts. The hypothesis of this research is that the subjects with low English-language experience will have more L1 transfer effect than those with high English-language experience. Their pronunciation of the variables will be closer to the Thai pronunciation. The subjects with high English-language experience will have less L1 transfer effect. Their pronunciation will be closer to the English pronunciation. Comparing the production in the 2 contexts, it is hypothesized that there will be more L1 transfer effect in the Thai context than the English context. The analysis shows that the final /l/ has five variants: [...], [...], [w], [n] and [is an empty set] [w] occurs in the highest percentage, followed by [is an empty set], [n], [...] and [...]. The findings also reveal a relationship between the variation of the linguistic variables and the social variables. the variation is statistically significant (p = .01). The subjects with low English-language experience have more L1 transfer effect than the subjects with high English-language experience. In Thai context, there was more L1 transfer effect than in English context. The result indicates that [n], which exhibits the strongest L1 transfer effect, appeared almost equally in both groups of subjects. It is possible that most of the words with [n] variants are borrowed words. The result also shows that the subjects have a bias towards the English pronunciation because they perform [w] and [...] which are interlanguage variants.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2715
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1422
ISBN: 9741762399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1422
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuchadaSert.pdf857.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.