Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27187
Title: ภาวะเหมาะสมสำหรับการละลายตะกอนผลึกโครเมียมเพื่อใช้ใหม่ในการฟอกโครม
Other Titles: Optimum Condition for dissolution of chromium precipitate for reuse in chrome tanning
Authors: ศศิธร เจริญวิเศษศิลป์
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงภาวะเหมาะสมในการละลายตะกอนผลึกโครเมียมด้วยกรดซัลฟุริกให้เป็นสารละลายโครเมียม III ซัลเฟต เพื่อการใช้ใหม่ในการฟอกโครมโดยนำน้ำเสียฟอกโครมที่ไม่มีและมีสารช่วยตรึงมาตกตะกอนผลึกด้วยสารเคมีประเภทด่าง ได้แก่ แมกนีเซียมออกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมออกไซด์ร่วมกับปูนขาว ตะกอนผลึกในรูปสลัดจ์ได้ถูกนำมาละลายด้วยกรดซัลฟุริกเข้มข้น ส่วนกากตะกอนได้ละลายด้วยกรดซัลฟุริกเจือจาง 1 + 4 ทำการศึกษาแบบแผนการละลายตะกอนผลึกโครเมียมและเปรียบเทียบการละลายแบบเพิ่มอุณหภูมิห้องด้วย พบว่าการละลายของตะกอนผลึกโครเมียมขึ้นอยู่กับเวลา ทั้งนี้เวลาที่เหมาะสมในการละลายสลัดจ์แบบมีการกวนต่อเนื่อง สลัดจ์แบบมีการกวนเฉพาะตอนแรก กากตะกอนแบบมีการกวนต่อเนื่อง และกากตะกอนแบบมีการกวนเฉพาะตอนแรก คือ 60, 60, 60 และ 90 นาทีตามลำดับ การละลายตะกอนผลึกโครเมียมขึ้นอยู่กับพีเอชโดนละลายได้ดีที่พีเอชต่ำกว่า 3.5 การเติมกรดมากขึ้นไม่ช่วยให้ประสิทธิภาพการนำกลับมากขึ้นและยังทำให้มีพีเอชต่ำเกินไปด้วย การกวนต่อเนื่องช่วยให้ประสิทธิภาพการนำกลับดีขึ้นเฉพาะตะกอนผลึกบางประเภทเท่านั้น ประสิทธิภาพการนำกลับโครเมียมจากการละลายตะกอนผลึกประเภทต่าง ๆ มีค่าอยู่ในช่วง 70.7 – 94.2 % ในสภาพการละลายที่มีการเติมกรดซัลฟุริกในปริมาณที่เหมาะสมแล้วการเพิ่มอุณหภูมิไม่ช่วยให้ประสิทธิภาพการนำกลับดีขึ้น ในการละลายตะกอนผลึกจากน้ำเสียที่ไม่มีสารช่วยตรึง ได้สารละลายที่มีความเข้มข้นโครเมียมสูงกว่าน้ำเสียที่มีสารช่วยตรึง โดยสลัดจ์ที่ให้สารละลายที่มีความเข้มข้นโครเมียมสูงที่สุด (ประมาณ 13,346 มก./ล.) คือสลัดจ์แมกนีเซียมออกไซด์ การละลายกากตะกอนแต่ละประเภทได้สารละลายที่มีความเข้มข้นโครเมียมใกล้เคียงคือ 31,824-46-216 มก./ล. การละลายตะกอนผลึกแมกนีเซียมออกไซด์จากน้ำเสียที่มีสารช่วยตรึงต้องการกรดซัลฟุริกมากที่สุด คือ 3.0-3.8 เท่าของค่าความต้องการทฤษฎี เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทางด้านสารเคมีในการนำกลับโครเมียม พบว่าการนำกลับโครเมียมจากตะกอนผลึกแมกนีเซียมออกไซด์ร่วมกับปูนขาวจากน้ำเสียที่ไม่มีสารช่วยตรึงเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด คือ 28 – 40 บาทต่อกก. โครเมียมที่นำกลับมาได้ หรือ 82 – 86 บาท/ลบ.ม. น้ำเสีย ในกรณีน้ำเสียที่มีสารช่วยตรึงการนำกลับโครเมียมจากตะกอนผลึกแมกนีเซียมออกไซด์และโซเดียมคาร์บอเนตต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ไม่คุ้มต่อการลงทุน
Other Abstract: This study was to determine the optimum condition for dissolution of Cr precipitate by sulphuric acid treatment. The resulted chrome(III) sulfate could be recovered and subsequently reused directly in the chrome-tanning process. The wastewaters with and without tanning additive were collected from two local factories and treated with MgO, Na2 CO3 and MgO + Ca(OH)2 solutions. The precipitated sludge and the subsequent dewatered cake were dissolved (under continuous-mixing and no-mixing conditions at room and raised temperatures) with conc. H2 SO4 and 1+4 H2 SO4 solutions, respectively. The required dissolution time for chrome cake under no-mixing condition was 90 min whereas in other conditions the corresponding time was only 60 min. The pH lower than 3.5 was found to be optimal for the dissolution purpose and the recovery efficiency was as high as 70.7-94.2 % while the raised temperature did not have significant effect on the dissolution performance. The recovered Cr2 (SO4)3 solution was 13,376 mg/l and 31,824-46,216 mg/l concentrated for the scenarios of acid treatment of sludge and cake, respectively. The acid requirement was highest at 3.0-3.8 times stoichiometric value, for the case of Cr sludge resulting from MgO treatment of wastewater from ‘with-additive’ tanning process. The best condition found in this study was to recover chrome from precipitate got from MgO+Ca(OH)2 treatment of ‘non-additive’ tanning wastewater, with the least cost of 28-40 baht/Kg Cr or 82-86 baht/m3 of wastewater. On the other hand, in the ‘with-additive’ tanning, the recovery cost was normally high, making the process not very attractive.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27187
ISBN: 9745833576
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasithorn_ch_front.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ch_ch1.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ch_ch2.pdf649.09 kBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ch_ch3.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ch_ch4.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ch_ch5.pdf24.41 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ch_ch6.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ch_back.pdf16.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.