Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27189
Title: การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟาง (Volvariella volvacea) โดยการรวมโปรโตพลาสต์
Other Titles: Strain improvement of straw mushroom (Volvariella volvacea) by protoplast fusion
Authors: วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
Advisors: สุมาลี พิชญางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Abstract: การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟางโดยวิธีรวมโปรโตพลาสต์ของสายพันธุ์ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ไทยครีบน้ำตาล (TH) สายพันธุ์ไทยครีบขาว (WG) และสายพันธุ์ไต้หวัน (TA) ใช้เส้นใยที่มีอายุ 4 วันนำมาย่อยผนังเซลล์ด้วยไซโมไลเอส 0.20 มก. ต่อ มล. ผสมกับเซลลูเลส 2% ที่ 30๐ซ. บ่มเป็นเวลา 4 ซม. โดยมีปริมาณโปรโตพลาสต์ที่เตรียมได้เท่ากับ 7.33x104, 8.50x104 และ 8.67x104 เซลล์ต่อ มล. ตามลำดับ แล้วนำโปรโตพลาสต์แต่ละคู่มาหลอมรวมโดยใช้สารละลายโพลิเอทธิลีนไกลคอล-8000 ได้ฟิวแสนท์ที่เกิดจากการรวมโปรโตพลาสต์ บนอาหารรีเจนเนอเรทที่ให้โคโลนีใหม่เกิดขึ้น ได้ทำการศึกษาสายพันธุ์ฟิวแสนท์ในด้านขนาดของเส้นใย และปริมาณดีเอนเอทั้งหมดของฟิวแสนท์ พบว่าสายพันธุ์ฟิวแสนท์มีขนาดของเส้นใยใหญ่ขึ้น และมีปริมาณดีเอนเอเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเซลล์รวมกัน เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ต้นแบบ คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีการเพิ่มของปริมาณดีเอนเอเป็น 2 เท่า และ 3 เท่า นำไปทดสอบความสามารถในการออกตุ่มดอกบนอาหารเสริมคัดเลือกสายพันธุ์ 6 สายพันธุ์ที่สร้างตุ่มดอกดี ไปเพาะทดสอบในตะกร้าทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ต้นแบบถึงผลผลิตและลักษณะบางประการของฟิวแสนท์ พบว่าสายพันธุ์ฟิวแสนท์ที่ทดลอง เพาะให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์ต้นแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่จำนวนดอกและน้ำหนักแห้งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มทดลองที่ระดับความเชื่อมั่น 95% น้ำหนักสดของแต่ละกลุ่มการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99% และพบว่าในจำนวน 6 สายพันธุ์ สายพันธุ์ F (TA-WG6) ให้ผลผลิตสูงสุด และมีความถี่ของการออกดอกมากที่สุด
Other Abstract: Three strains of straw mushroom, Volvariella volvacea; brown gills, Thai strain (TH); white gill, Thai strain (WG) and Taiwan strain (TA) were cultivated for 4 days. Their cell walls were lysed by mixed enzymes of zymolyase 0.2 mg/ml and cellulose 2% incubated at 30๐C 4 hours. There were 7.33x104, 8.50x104 and 8.67x104 protoplasts/ml, respectively. The each tube of protoplasts were mixed in pair in polyethylene glycol (MW .-8000) solution. The regenerating colonies were isolated and compared to the parental strains, the size of hyphae and the total DNA content. It was found that hyphae were larger and the total DNA content of fusants were higher than the parental strains. Selected fusants, which possess total DNA in double or triple times than parents, were grown on specific medium in order to induce the fruiting primordia formation. Only six strains were selected for fruiting bodies cultivation. The results showed that fusants gave higher numbers of fruiting body production, wet weight and dry weight, when compared to parents. Statistically tested showed the significant 95% of fruiting body production and dry weight. Wet weight of fruiting body was significant at 99 percentage. It found out that when compared within 6 strains, the fusant F (TA-WG6) gave the highest frequency of fruiting bodies formation and productivity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27189
ISBN: 9745786209
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Verawat_Ka_front.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Verawat_Ka_ch1.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Verawat_Ka_ch2.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open
Verawat_Ka_ch3.pdf16.06 MBAdobe PDFView/Open
Verawat_Ka_ch4.pdf921.83 kBAdobe PDFView/Open
Verawat_Ka_back.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.