Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27198
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorวีรวัฒน์ อำพันสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-30T06:44:48Z-
dc.date.available2012-11-30T06:44:48Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746313177-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27198-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวกับลักษณะภาพรวมของจินตภาพทางศิลปวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร จากมุมมองทางการสื่อสารมวลชน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ความหมายของจินตภาพดังกล่าว เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ กัน ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อขนาดเล็กซึ่งได้สุ่มเลือกมาศึกษาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 120 ตัวอย่าง โดยเน้นเฉพาะภาพสถาปัตยกรรมสำคัญของเมืองกรุงเทพฯ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง 2.โบสถ์วัดเบญจมบพิตร 3.พระปรางค์วัดอรุณฯ ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีและวิธีการวิเคราะห์เชิงสัญญะวิทยาโดยประกอบด้วย เกณฑ์การพิจารณาคือ (ก) คุณค่าทางศิลปะ (ข) ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และ (ค) ความเป็นภูมิสัญลักษณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ภาพรวมของจินตภาพทางศิลปวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ ได้รับการนำเสนอโดยคงลักษณะความเป็น “ภาพนิ่งอันสวยงาม” ที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพความเป็นจริงของกาลเวลา โดยอาศัยการผลิตซ้ำด้วยเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย การใช้มุมกล้อง และการจัดฉาก ทั้งนี้เพื่อให้ดึงดูดใจ และกระตุ้นเร้าจินตนาการของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ดังที่ปรากฏอยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ สำหรับในสื่อขนาดเล็ก ภาพสถาปัตยกรรมดังกล่าวนอกจากจะเป็นตัวแทนทางศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นส่วนบ่งบอกถึงประโยชน์ใช้สอยและมูลค่าแลกเปลี่ยนอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า ความหมายดั้งเดิมของจินตภาพความเป็นศาสนสถานของสถาปัตยกรรมทั้ง 3 แห่งได้ถูกทำให้แปรเปลี่ยนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีจุดดึงดูดใจด้านความสวยงาม กลายเป็นสินค้าเพื่อการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การสื่อความหมายที่ปรากฏในสื่อขนาดเล็กของรัฐ เช่น เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และแสตมป์ ยังคงดำรงเอกลักษณ์ในการสะท้อนถึงอุดมการณ์รวมศูนย์ของวัฒนธรรมหลวงอยู่ต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research is to gain insight into media visualization of Bangkok aesthetic and cultural images through mass communication perspectives. Emphasis is on a holistic approach within a theoretical framework of semiological analysis to interpret visual meaning of the most three significant symbolic models of the city. They are (1) the temple of the Emerald Buddha; (2) Benchamabopitra temple; and (3) Wat Arun Buddhist Prang. An analysis of 120 randomly selected media pertaining to the above (magazines, postcards, bank notes, stamps, coins, calendars, and etc.) was performed under three different criteria: (a) artistic value; (b) historical significance; and (c) landmarks. Results show that the media portrayal of those three symbolic models is most likely a representation of consistent images over time which is quite discrepant with changes in reality. The reproduction of images to be attracted to tourists and their imagery through advanced production techniques of camera angles and scene settings are the most concern of tourism printed materials. For other media, they carry the images which are not only attributable to utilities and exchange values, but also their lalent function as aesthetic and cultural representation. It is also found that the signification of the three images as “sacred places” was influenced by tourism and has served as commodities for these media target groups. The communicative meaning represented in the nation’s media such as coins, bank notes, and stamps remain in their uniqueness as a reflection of the centralized ideology of court culture.-
dc.format.extent2821772 bytes-
dc.format.extent6578317 bytes-
dc.format.extent10275299 bytes-
dc.format.extent3050014 bytes-
dc.format.extent27998019 bytes-
dc.format.extent15738093 bytes-
dc.format.extent2556969 bytes-
dc.format.extent6191390 bytes-
dc.format.extent34756032 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถาปัตยกรรม -- แง่สัญลักษณ์-
dc.subjectศิลปวัฒนธรรม -- แง่สัญลักษณ์-
dc.subjectการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectสื่อมวลชน-
dc.titleจินตภาพทางศิลปวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครที่นำเสนอผ่านสื่อen
dc.title.alternativeCultural image of Bangkok presented through mass mediaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Werawat_am_front.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_ch1.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_ch2.pdf10.03 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_ch3.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_ch4.pdf27.34 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_ch5.pdf15.37 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_ch6.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_ch7.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open
Werawat_am_back.pdf33.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.