Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27231
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเยาวดี วิบูลย์ศรี
dc.contributor.authorสุรินทร์ แพ่งจันทึก
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-30T07:55:45Z
dc.date.available2012-11-30T07:55:45Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745647535
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27231
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจุดตัด และความเที่ยงของแบบสอบอิงเกณฑ์ ระหว่างแบบสอบประเภทเลือกตอบกับตอบสั้นในวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ควอดราติก โดยอาศัยทฤษฎีการตัดสินใจของแกลส ในการกำหนดคะแนนจุดตัด และหาความเที่ยง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ของโลเวตต์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบจำนวนผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ จากผลการตัดสินของแบบสอบทั้งสองประเภท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 260 คน และครูคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน ของโรงเรียน สีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอ สีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบอิงเกณฑ์ วิชาคณิตศาสตร์ ประเภทเลือกตอบ และตอบสั้น ฉบับละ 10 ข้อ ที่วัดในจุดประสงค์เดียวกัน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นและพัฒนาให้เป็นแบบสอบที่มีคุณภาพในด้านความตรงเชิงเนื้อหา และความตรงเชิงทฤษฎี การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากคะแนน ผลการสอบก่อนการเรียนการสอนและหลังการเรียนการสอน การเปรียบเทียบคะแนนจุดตัด สัดส่วนจำนวนผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ และความเที่ยงของแบบสอบทั้งสองประเภทโดยใช้เปอร์เซนต์ความแตกต่างไคสแคว์และสถิติทดสอบซีตามลำดับ ได้ข้อค้นพบที่สำคัญโดยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบสอบอิงเกณฑ์ประเภทเลือกตอบและตอบสั้นมีคะแนนจุดตัดเป็น 5 และ 2 คะแนน ตามลำดับ และมีความแตกต่างกัน 30 เปอร์เซนต์ 2. การจำแนกผู้สอนให้เป็นผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ของแบบสอบอิงเกณฑ์ประเภทเลือกตอบได้เท่ากับ 144 และ 116 คน และแบบสอบประเภทตอบสั้นได้เท่ากับ 156 และ 104 คน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลการตัดสินผู้สอบแล้วปรากฏว่า สัดส่วนจำนวนผู้รอบรู้และไม่รอบรู้ ระหว่างแบบสอบทั้งสองประเภทไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. แบบสอบอิงเกณฑ์ประเภทเลือกตอบและตอบสั้น มีความเที่ยงเท่ากับ .781 และ .913 ตามลำดับ และความเที่ยงของแบบสอบประเภทเลือกตอบน้อยกว่าประเภทตอบสั้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
dc.description.abstractalternativeThe main purposes of the research were 1) to compare cut-off score based on Glass’s Decision Theoretic Approach and reliability coefficients based on Lovett ANOVA method of two criterion-referenced tests in Matayomsuksa III mathematics on “Quadratic”, one was in multiple-choice form and the other in short-answer, and 2) to compare the proportions of masters and nonmasters from mentioned tests. The samples used in the study were 260 Matayomsuksa III students and 5 Mathematics teachers from Sikhui “Swatphadoongwitaya” School in Nakornrajchasima. Two 10-items criterion-referenced tests in mathematics were used as instruments. One was in multiple-choice from a set of objectives and then developed to have content and construct Validities. A pre and post-test method was employed for data collection. The comparisons of the cut-off scores, the proportions of mastery and nonmastery and the reliability coefficients were used different percentages, Chi-square test and Z-test respectively. Finally, The findings can be summarized as follows. 1. The cut-off scores of the multiple-choice and short-answer tests were 5 and 2 respectively and both were 30 percent different. 2. The numbers of masters and nonmasters from the former were 144 and 116 whereas from the latter 156 and 104 respectively. However, the differences of the proportions were not significant. (p < .05) 3. The reliability coefficients of the 2 tests were .781 and .913 respectively different. (p < .01)
dc.format.extent456440 bytes
dc.format.extent680995 bytes
dc.format.extent1777351 bytes
dc.format.extent685096 bytes
dc.format.extent589652 bytes
dc.format.extent497084 bytes
dc.format.extent900667 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบคะแนนจุดตัด และความเที่ยงของแบบสอบอิงเกณฑ์ ระหว่างแบบสอบประเภทเลือกตอบกับตอบสั้น จากการใช้ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลสen
dc.title.alternativeA comparison of the cut-off score and the reliability of criterion-referenced tests between multiple-choice type and short-answer type with Glass's decision theoretic approachen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surin_Pan_front.pdf445.74 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Pan_ch1.pdf665.03 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Pan_ch2.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Surin_Pan_ch3.pdf669.04 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Pan_ch4.pdf575.83 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Pan_ch5.pdf485.43 kBAdobe PDFView/Open
Surin_Pan_back.pdf879.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.