Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27279
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิพนธ์ ไทยพานิช
dc.contributor.authorสุนทร ไคลมี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-30T09:56:55Z
dc.date.available2012-11-30T09:56:55Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745646997
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27279
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี วิธีดำเนินการวิจัย ตอนที่ 1 การสำรวจสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนจากประชากรที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 435 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (check-list) และ แบบปลายเปิด (open-ended) การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามย่านหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้จัดส่งแบบสอบถามไปยังโรงเรียนและรับคืนให้แก่ผู้วิจัย ได้แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์สำหรับใช้ในการวิจัย จำนวน 389 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จ SPSS(Statistical Package for the Social Sciences) หาค่าร้อยละ วิเคราะห์เนื้อหาและจัดเรียงลำดับความถี่ ตอนที่ 2 การศึกษาสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 39 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) เพื่อการสัมภาษณ์แลการศึกษาเอกสารของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง (structured interview) และแบบศึกษาเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์และศึกษาเอกสารของโรงเรียนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัย ปรากฏสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีดังนี้ 1. โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีในทุกขนาดและสภาพที่ตั้งของโรงเรียน ได้ระบุว่าปฏิบัติหรือจัดให้มีงานนิเทศการศึกษา 3 ประเภทขึ้นในโรงเรียน ซึ่งได้แก่ งานด้านวิชาการหรือการเรียนการสอนภายในโรงเรียนโดยตรง งานด้านการพัฒนาครูภายในโรงเรียน และงานสนับสนุนและบริการด้านการเรียนการสอนภายในโรงเรียนโดยตรง เป็นงานที่มีจำนวนโรงเรียนระบุว่าปฏิบัติหรือจัดมากที่สุดโดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูเรื่องการวางแผนการสอนรองลงมาคืองานสนับสนุนและบริการด้านการเรียนการสอน โดยเฉพาะการจัดบริเวณโรงเรียนและห้องเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตร ส่วนงานที่มีจำนวนโรงเรียนที่ระบุว่าปฏิบัติหรือจัดน้อยที่สุดคือ งานด้านการพัฒนาครูภายในโรงเรียน โดยเฉพาะเรื่อง การอบรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะส่วนตัวของครูที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานอย่างมีความสุข 2. กระบวนการจัดดำเนินงานการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏว่าโรงเรียนส่วนมากได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ 5 ขั้นดังนี้ การวางแผน ผู้บริหารประชุมครูทั้งหมดเพื่อร่วมกันพิจารณากำหนดงาน/โครงการของโรงเรียนขึ้น แล้วผู้บริหารสั่งการให้ครูแต่ละคนเป็นผู้วางแผนดำเนินงานและจัดทำโครงการนำเสนอผู้บริหารเพื่ออนุมัติดำเนินการ และก่อนการดำเนินงานได้มีการประชุมชี้แจงงาน/โครงการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ได้มีการมอบหมายให้ผู้มีความรับผิดชอบงาน/โครงการในลักษณะเป็นรายบุคคล โดยผู้รับผิดชอบมีหน้าที่เป็นทั้งผู้ประสานงานและปฏิบัติงาน การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ก่อนปฏิบัติงานผู้บริหารได้มีการประชุมเพื่อสรุปหลักเกณฑ์ต่างๆ และซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงาน การดำเนินงาน ผู้บริหารเป็นผู้ติดตามการปฏิบัติงานในลักษณะของการประชุมปรึกษาหารือ เมื่อพบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ผู้ดำเนินการแก้ไขมี 2 ลักษณะคือ ผู้บริหาร และผู้บริหารร่วมกับผู้ช่วยผู้บริหาร มีการควบคุมการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน และผู้บริหารเป็นผู้ให้การสนับสนุนและบริการด้านวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน การสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ได้มีการชมเชยเป็นการส่วนตัวชมเชยในที่ประชุมครูและให้ความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ หลังจากปฏิบัติงาน/โครงการเสร็จสิ้นแล้ว การประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารเป็นผู้ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยไม่มีเครื่องมือประเมินผล แต่ใช้การสังเกตและสอบถามโดยไม่มีรูปแบบ สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานนั้น ผู้บริหารเป็นผู้ดำเนินการ โดยไม่มีเครื่องมือสำหรับประเมิน แต่ใช้วิธีการประเมินจากผลสรุปที่ได้จากการสังเกตการปฏิบัติงานมาเป็นระยะๆ 3. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการจัดดำเนินงานนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนที่มีโรงเรียนจำนวนมากที่สุดระบุความต้องการคือ ปัจจัยด้านบุคคลากรและการจัดการในเรื่องคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดดำเนินงานนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน โดยเฉพาะการวางแผน การจัดดำเนินงานนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน โดยโรงเรียนมีความต้องการได้รับคำแนะนำพร้อมกันเป็นกลุ่มใหญ่ก่อนที่จะจัดดำเนินงานนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน 4. ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการจัดดำเนินงานนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนที่มีโรงเรียนจำนวนมากที่สุดที่ระบุคือ ปัญหาและอุปสรรคด้านบุคลากรและการจัดการในเรื่องโรงเรียนขาดแคลนวิทยากร และ/หรือแหล่งวิชาการที่จะให้ความรู้แก่ครูเพื่อนำไปใช้ในการจัดดำเนินงานของโรงเรียน โดยโรงเรียนระบุสาเหตุว่าเป็นเพราะวิทยากรหรือแหล่งวิชาการอยู่ห่างไกลโรงเรียนเกินไป สำหรับผลกระทบของปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน โรงเรียนจำนวนมากที่สุดระบุว่าจัดการนิเทศการศึกษาได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพดีพอ
dc.description.abstractalternativeResearch Objective The main objective of this research is to study the current supervisory management in primary schools under the jurisdiction of Kanchanaburi Provincial Primary Education Office. Research Procedures Part I the survey of the current supervisory management in primary schools from the population, consisted of 435 primary schools administrators. As instrument used in the part consisted of questionnaires constructed in forms of check – list, fill in the blank and open – ended. Data collection was carried by the researcher asking for help from the head office to operate the collection for him. Three hundred and thirty eight complete questionnaires or 89.4% were returned to be analysed. Percentage, frequency, content analysis and SPSS program computer are used in data analysis. Part II The study of the current supervisory management in primary schools from a sample group. Thirty nine primary school administrators selected by using the simple random sampling technique, were interviewed and the school decuments concerning the educational supervisory were analysed. Instruments used in this part consisted of structured interview guidelines and guidelines for the study of documentary data. Data collection, the interview and document analysis, was carried out by the researcher. Research Findings The current supervisory management in primary schools under the jurisdiction of Kanchanaburi Provincial Primary Education Office can be summarized as follows : 1. All primary schools under the jurisdiction of Kanchanaburi Provincial Primary Education Office operated three supervisory tasks ; the academic task or instructional task, the teacher developmental task and the instructional supporting task. The greatest number of the schools operated the academic task or instructional task especially training teachers in instructional planning. The next was the teacher developmental task especially setting suitable surrounding to serve the curriculum. The least number of the schools operated the teacher developmental task concerning developing teacher’s characters that would help them work happily. 2. Concerning the supervisory processes in primary schools under the jurisdiction of Kanchanaburi Provincial Primary Education Office which was the study from the sample group, it was found that most of the schools operated the five steps of the processes as follows: Planning The school administrators and teachers had together conferred in order to set the school supervisory projects Then the administrators ordered each teacher to present his own projects for granting. Those projects were clarified beforepractice. Also each teacher would be assigned to those projects and had to cooperate with others. Clarifying Before practice, the administrators and teachers had together conferred to make sure that they could understand how and what to do. Organizing The administrators followed up the projects by conferring with teachers. When problems and obstacles were found, there were two ways to solve by the administrators themselves or the administrators and their assistants. Planning schedules for work and facilitating would be used by the administrators. Reinforcing The administrators admired teachers both informally and fomally and specially rewarded them after the projects had already well practiced. Evaluating The administrators evaluated the projects by using informal methods ; observing and talking with teachers. In evaluating the efficiency of the projects, the administrators themselves decided by concluding what they had observed while the projects were acting 3. Concerning the factors of the supervisory management in schools, the greatest number of schools required the personal and management factor in advice about the supervisory management in schools especially planning the supervisory management in schools. They offered to be advised in large groups before practice. 4. The problems and obstacles which the greatest number of schools found were about the personal and management. It occurred that the schools lack of experts and/or academic centers for teachers to serve their work in school. The cause of those was that the schools were too far. For the impact of the problems and obstacles which effected the supervisory management in schools, it was found that the greatest number of the schools could operate supervisory management in school but the operation were inefficient.
dc.format.extent1035619 bytes
dc.format.extent812147 bytes
dc.format.extent1149810 bytes
dc.format.extent502074 bytes
dc.format.extent10830340 bytes
dc.format.extent1314394 bytes
dc.format.extent1342342 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด :bการศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดกาญจนบุรีen
dc.title.alternativeSupervisory management in primary schools under the jurisdiction of the Provincial Primary Educationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soontorn_Kl_front.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Soontorn_Kl_ch1.pdf793.11 kBAdobe PDFView/Open
Soontorn_Kl_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Soontorn_Kl_ch3.pdf490.31 kBAdobe PDFView/Open
Soontorn_Kl_ch4.pdf10.58 MBAdobe PDFView/Open
Soontorn_Kl_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Soontorn_Kl_back.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.