Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27302
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา ธาดานิติ
dc.contributor.authorเสน่ห์ นิยมไทย
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-01T09:19:45Z
dc.date.available2012-12-01T09:19:45Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745917095
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27302
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractจังหวัดเป็นหน่วยการปกครองภายในประเทศระดับสูงสุดและสำคัญที่สุด ขอบเขตจังหวัดจะเป็นสิ่งที่กำหนดเขตอำนาจในการบริหารการปกครอง การจัดทำบริการสาธารณะ เขตอำนาจศาลและเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่มีความจำเป็นอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดหรือตั้งจังหวัดขึ้นใหม่เพื่อประโยชน์ในด้านการบริหารการปกครอง การรักษาความมั่นคง ตลอดจนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในท้องที่ ระยะที่ผ่านมาปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดยโสธรขึ้นโดยการแบ่งแยกท้องที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี และในปีพ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น โดยการแบ่งแยกท้องที่บางส่วนของจังหวัดเชียงราย การจัดตั้งจังหวัดใหม่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแบ่งแยกท้องที่ของจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งเพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น เช่นเดียวกับจังหวัดมุกดาหารซึ่งเป็นจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ในปีพ.ศ. 2525 จากการแบ่งเขตท้องที่ 4 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ทางตอนใต้ของจังหวัดนครพนมเดิมเพียงจังหวัดเดียว เพื่อประโยชน์ทางการปกครอง การรักษาความมั่นคงและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่ดังกล่าว โดยมิได้มีการพิจารณาว่าจะยังมีท้องที่อำเภอ กิ่งอำเภอ ใดของจังหวัดที่มีอาณาเขตต่อเนื่องอีกบ้างหรือไม่ที่มีความเหมาะสมหรือจะได้รับประโยชน์จากการที่จะรวมอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดมุกดาหาร การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่จะศึกษาว่าจะยังมีท้องที่อำเภอ หรือกิ่งอำเภอใดของจังหวัดที่ที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกับจังหวัดมุกดาหาร ที่มีความเหมาะสมจะรวมอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดมุกดาหารมากกว่าที่จะรวมอยู่ในเขตการปกครองจังหวัดเดิมบ้างหรือไม่ วิธีการศึกษาในการศึกษาวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระดับ ระดับแรก เป็นการศึกษาท้องที่ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ของจังหวัดที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกับจังหวัดมุกดาหาร คือ จังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี เพื่อพิจารณาว่าอำเภอ กิ่งอำเภอใดที่มีความเหมาะสมเบื้องต้น หรือมีแนวโน้มที่น่าจะรวมอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดมุกดาหาร โดยพิจารณาความเหมาะสมในด้านการพึ่งพาระหว่างชุมชนตามลำดับความสำคัญของชุมชน เขตอิทธิพลของจังหวัดมุกดาหาร ระยะห่างจากจังหวัด สภาพภูมิประเทศ และรูปร่าง (Compact Form) เพื่อกำหนดพื้นที่ศึกษา (Study area) ที่จะศึกษาต่อไป ซึ่งจากการศึกษาปรากฏว่ามีพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ที่มีความเหมาะสมเบื้องต้น ที่จะรวมอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดมุกดาหาร ระดับที่ 2 เป็นการเอาพื้นที่ศึกษา (Study area) จำนวน 3 อำเภอ ดังกล่าวข้างต้นมาทำการศึกษาความเหมาะสมในด้านการบริหารงานของจังหวัด ความสะดวกในการเดินทางเข้าไปยังตัวจังหวัดของประชาชน รวมทั้งความคิดเห็นของประชาชนและข้าราชการในท้องที่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าอำเภอที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะรวมอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดมุกดาหาร คือ อำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนสุดท้ายของการศึกษาวิจัยเป็นการเสนอแนวทางในการกำหนดขอบเขตจังหวัดที่เหมาะสม ในกรณีที่รัฐบาลจะจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ว่าสมควรจะได้มีการศึกษาถึงท้องที่ของจังหวัดที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกับจังหวัดที่จะตั้งขึ้นใหม่ ด้วยว่ามีท้องที่ใดอีกบ้างหรือไม่ที่มีความเหมาะสม จะรวมอยู่ในเขตจังหวัดที่จะตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งจะทำให้การจัดตั้งจังหวัดนั้นมีประโยชน์มากขึ้นและคุ้มค่า
dc.description.abstractalternativeThe largest geographic unit of local government is the province or Changwat. More importantly, Changwat boundary will determine its administration power, scope of public services, jurisdiction and electoral boundary. Sometimes, it is necessary to modify Changwat boundary or establish new Changwat for reasons concerning administration and internal security. In the past, the establishment of new Changwat involed the separation of some districts or sub-districts of a single Changwat. Little consideration was given to see whether adjacent districts of other Changwat were suitable or appropriate and would benefit from such separation. For example, Yasothorn was established in 1982 and Payao in 1977 as a result of the separation of some districts from Ubolrajathani and Chiangrai respectively. Similary, Mukdahan was established in 1982 by separating 4 districts and 2 sub-districts in the south of Nakornpanom. The objective of this research is to find out whether there is any districts or sub-districts adjacent to Mukdahan which should be within Mukdahan provincial administration. Research methodology adopted can be divided into 2 levels: 1. Attention will be given to districts or sub-districts in Nakornpanom, Kalasin, Roi-ed, Yasothorn and Ubolrajathani which are adjacent to Mukdahan. Feasibility will be made in terms of inter-community dependency, the order of importance of community, the sphere of influence of Mukdahan, as well as geographical attributes in order to see if any of these localities should be grouped under Mukdahan provincial administration. The research finding is that there are three districts, namely Chanuman and Senangkanikom districts in Ubolrajathani and Loingnoktha district inYasothorn which should be grouped under Mukdahan provincial administration. 2. These localities will be basis of our study area. Feasibility will then be made in terms of provincial administration, the convenience of public access into the province as well as public opinion. The finding at this level is that Chanuman district in Ubolrajathani is the most suitable district to be grouped under Mukdahan provincial administration. Finally, this research proposes some guideline for the determination of provincial boundary in the future. That is feasibility study should include those localities adjacent to the proposed province so that the establishment of a new province would be more beneficial for all concerned.
dc.format.extent536560 bytes
dc.format.extent415940 bytes
dc.format.extent682820 bytes
dc.format.extent1797089 bytes
dc.format.extent1483331 bytes
dc.format.extent1725716 bytes
dc.format.extent1572091 bytes
dc.format.extent383044 bytes
dc.format.extent1230898 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาความเหมาะสมของขอบเขตจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหารen
dc.title.alternativeSuitability of Changwat boundary : a case study of Changwat Mukhahanen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saneh_Ni_front.pdf523.98 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_ch1.pdf406.19 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_ch2.pdf666.82 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_ch3.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_ch4.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_ch5.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_ch6.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_ch7.pdf374.07 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_Ni_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.