Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27330
Title: | การประเมินผลหลักสูตรประถมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2503 หมวดวิชาพลานามัย |
Other Titles: | Evaluation of 2503 B.E. lower elementary curriculum : Health Studies |
Authors: | เสถียร สมัตถภาพงศ์ |
Advisors: | สุมิตร คุณานุกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2519 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ประเมินผลหลักสูตรประถมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2503 หมวดพลานามัย การประเมินหมวดวิชาพลานามัยนี้จะประเมิน 4 ด้าน คือ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผล 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันในด้าน ความมุ่งหมาย เนื้อหา การนำหลักสูตรไปใช้และการวัดผลวิชาพลานามัย วิธีการดำเนินการ ได้สุ่มตัวอย่างจากประชากร 3 กลุ่ม คือ ครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ที่อยู่ในท้องที่เขตการศึกษา 11 โดยวิธี Stratified Random Sampling Technique จำนวน 12 เปอร์เซ็นต์ วิธีที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มี 2 วิธี คือ การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเอกสารและการสัมภาษณ์เกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการพัฒนาหลักสูตร ตลอดทั้งใช้แบบสอบถามที่ส่งทางไปรษณีย์ มีข้อคำถามแบบ Sematic Differential จำนวน 35 ข้อ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถาม จำนวน 367 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืนและใช้การได้จำนวน 259 ฉบับหรือ 31 เปอร์เซ็นต์ เมื่อได้รับแบบสอบถามแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติเป็นแบบค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Varience) ผลของการวิจัย 1. ประเมินผลของกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันโดยตำแหน่งหน้าที่ คือ ครู ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหาร 1.1 ในด้านความมุ่งหมาย ในกลุ่มนี้มีความเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ในจุดมุ่งหมายข้อ2 ซึ่งมีความว่า “ให้เด็กรู้จักเล่นและทำงานด้วยกันโดยราบรื่น ต่างคนต่างเคารพกฎข้อบังคับและเคารพสิทธิของผู้อื่น” โดยมีค่าความแปรปรวน (F-Test ) = 3.24 ส่วนความมุ่งหมายข้ออื่นๆ มีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันว่า มีข้อความหรือถ้อยคำชัดเจนดี เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียน และไม่ยากต่อการนำไปปฏิบัติ 1.2 ในด้านเนื้อหา ครู ศึกษานิเทศก์และผู้บริหาร มีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ต่อเนื้อหาวิชาสุขศึกษา และมีค่าคะแนนโดยเฉลี่ยที่ต่ำซึ่งชี้ถึงข้อบกพร่อง ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข ส่วนเนื้อหาวิชาพลศึกษานั้นทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่าเหมาะสมกับพัฒนาการทางร่างกายและสภาพทางสังคมของผู้เรียน สามารถสอนได้ครบตามเนื้อหาและความมุ่งหมายตลอดทั้งผู้เรียนที่มีความสนใจอีกด้วย 1.3 ในด้านการนำเอาหลักสูตรไปใช้ ทุกกลุ่มมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 โดยมีค่าความแปรปรวน (F-Test) = 3.30 และมีค่าคะแนนโดยเฉลี่ยที่ต่ำซึ่งระบุถึงข้อบกพร่องว่า ส่วนมากสอนโดยยึดแบบเรียนเป็นหลัก หนังสืออ่านประกอบและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรวิชาพลานามัยน้อย ยังต้องการคำแนะนำช่วยเหลืออยู่มาก 1.4 ในด้านการวัดผล ทุกกลุ่มมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าเหมาะสมแล้ว ยังไม่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข 2. ประเมินผลของกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันตามวุฒิทางการศึกษา คือ กลุ่มวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และกลุ่มวุฒิตั้งแต่ ป.กศ.ลงมา 2.1 ในด้านความมุ่งหมาย กลุ่มต่างๆ มีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันว่า ความมุ่งหมายของหลักสูตรวิชาพลานามัยทุกข้อมีข้อความหรือถ้อยคำชัดเจนดี เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียนและไม่ยากต่อการนำไปปฏิบัติ 2.2 ในด้านเนื้อหา ทุกกลุ่มมีความเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ต่อเนื้อหาวิชาสุขศึกษา และมีค่าคะแนนโดยเฉลี่ยที่ต่ำซึ่งระบุถึงข้อบกพร่องที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข ส่วนเนื้อหาวิชาพลศึกษานั้นทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า สามารถสอนได้ครบตามเนื้อหาและความมุ่งหมาย ตลอดทั้งผู้เรียนก็มีความสนใจในการเรียนอีกด้วย 2.3 ในด้านการนำเอาหลักสูตรไปใช้ ทุกกลุ่มมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 โดยมีค่าความแปรปรวน (F-Test) = 3.21 และมีค่าคะแนนโดยเฉลี่ยที่ต่ำซึ่งระบุถึงความบกพร่องว่าการสอนยังยึดแบบเรียนเป็นหลักมากกว่าหลักสูตร หนังสืออ่านประกอบและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรวิชาพลานามัยน้อย ยังต้องการคำแนะนำและความช่วยเหลือทางวิชาการอยู่มาก 2.4 ในด้านที่เกี่ยวกับการวัดผล ทุกกลุ่มมีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันว่าเหมาะสมแล้วยังไม่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข 3. ประเมินผลของกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันตามระยะเวลาของประสบการณ์ในการทำงาน คือ กลุ่มที่ทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป กลุ่มที่ทำงานระหว่าง 6-10 ปี และกลุ่มที่ทำงานตั้งแต่ 5 ปีลงมา 3.1 ในด้านความมุ่งหมาย ในกลุ่มนี้มีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 มีค่าความแปรปรวน (F-Test) = 4.45 ต่อความมุ่งหมายวิชาพลานามัย ข้อที่ 3 ซึ่งมีความว่า “ให้เด็กรู้จักพักผ่อนหย่อนใจในทางที่เหมาะรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและจิตใจ” ส่วนความมุ่งหมายข้ออื่นๆ มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า ถ้อยคำหรือข้อความชัดเจนดี เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียน 3.2 ในด้านเนื้อหา ทุกกลุ่มมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ต่อเนื้อหาวิชาสุขศึกษา และมีค่าคะแนนโดยเฉลี่ยในแนวโน้มที่ต่ำ ซึ่งชี้ถึงข้อบกพร่องควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข ส่วนเนื้อหาวิชาสุขศึกษานั้นทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า เหมาะสมกับการพัฒนาการทางร่างกายและสภาพทางสังคมของผู้เรียน สามารถสอนได้ครบตามเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย ตลอดทั้งผู้เรียนก็มีความสนในที่จะเรียนอีกด้วย 3.3 ในด้านการนำเอาหลักสูตรไปใช้ ทุกกลุ่มมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยมีค่าความแปรปรวน (F-Test) = 3.15 และมีค่าคะแนนโดยเฉลี่ยที่ต่ำซึ่งระบุถึงความบกพร่องว่า การสอนยังยึดแบบเรียนเป็นหลักมากกว่าหลักสูตร หนังสืออ่านประกอบและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรวิชาพลานามัยน้อย ยังต้องการคำแนะนำและความช่วยเหลือทางวิชาการอยู่มาก 3.4 ในด้านการวัดผล ทุกกลุ่มมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าเหมาะสมแล้วยังไม่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข |
Other Abstract: | The purposes of study 1. To evaluate Health Program of the 2503 B.E. Lower Elementary Curriculum. The program was evaluation in four elements namely: objectives; content; implementation; and evaluation. 2. To compare the opinions of the three groups of people involved in the implementation of the program. They differed in 1) roles; 2) academic status; 3) working experiences. Research Procedures Twelve percent of each of the 3 groups namely: teachers, administrators and supervisors in Educational Region 11 were selected by stratified random sampling technique. Data were collected by means of documentary research, interviews and questionnaires. The questionnaires included 35 items of sematic differential type. Three hundred and sixty seven copies of questionnaires were mailed and 259 or 71 percent returned. The data were processed and analyzed by various statistical techniques: Means, Standard Deviation, and Analysis of Variance. Findings 1. Evaluation by Those with different roles: teachers, supervisors, and administrators: - 1.1 Objectives: the three groups had significantly different opinions on the objective number two: “for the pupils to know how to play and work together coorperatively, to act according to rules and regulations and respect the rights of others.” The three groups had no difference in opinions on other objectives. They agreed that those objectives were clear, appropriate to the needs of the learners, and implementable. 1.2 Content: the three groups had significantly different opinions on content of Health-Education but expressed no different opinions on the content of physical Education which indicated that the content was appropriate with the physical development, interest, and social background of the learners. There was also sufficient amount of time to cover all of the content in the program. 1.3 Implementation: the three groups had significantly different opinions on the implementation of the programs. They obtained low average score which indicated that most of the teachers strictly taught according to the textbooks: that supplementary materials were lacking: and the teachers need supervision due to their lack of knowledge and understanding of the curriculum. 1.4 Evaluation : the three group agreed that the evaluation was appropriate. Improvement was not necessary. 2. Evaluation by those who had different educational background; bachelor or higher, diploma or equivalent, certificate of education and lower: 2.1 Objectives: the three groups agreed that the objectives of the program were clearly stated, responding to the learners interest, and easy to implement. 2.2 Content: the three groups had significantly different opinions on contents of Health Education and expressed no difference in opinions on contents of Physical Education which indicated that the content was appropriate with the physical development, interest, and social background of the learners. There was also sufficient amount of time to cover all of the content in the program. 2.3 Implementation: the three groups had significantly different opinions on the implementation of the programs. They obtained low average score which indicated that the instruction mostly followed the textbooks and that there was a lack of understanding of the curriculum. 2.4 Evaluations: the three groups agreed that the evaluation was appropriate. Improvement was not necessary. 3. Evaluation by those with different working experiences: 10 years and over, 6-10 years, and 5 years or lower: 3.1 Objectives: the three groups had significantly different opinions on objective number three: “for the pupils to know how to spend their leisure time for the development of their body and mind” The three groups agreed that the rest of the objectives were clear and responding to the needs and interests of learners. 3.2 Content: the three groups had significantly different opinion on the contents of Health Education and demonstrated no difference in opinions on contents of physical Education which indicated that the content was appropriate with the physical development interest, and social background of the learners. There was also sufficient amount of time to cover all of the content in the program. 3.3 Implementation: the three groups had significantly different opinions on the implementation of the curriculum. They obtained low average score which indicated that the instruction of the subject strictly followed the textbooks. There was a great need for supervision. 3.4 Evaluation: the three groups agreed that the evaluation was appropriate. Improvement was not necessary. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27330 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Satian_Sa_front.pdf | 939.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satian_Sa_ch1.pdf | 682.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satian_Sa_ch2.pdf | 949.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satian_Sa_ch3.pdf | 572.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satian_Sa_ch4.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satian_Sa_ch5.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satian_Sa_back.pdf | 744.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.