Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27363
Title: การศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานสำหรับท่อไอเสีย
Other Titles: Study of supply chain managemaent for exhaust pipe
Authors: ปิยพร นาคะนุภาพ
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงการจัดการห่วงโซ่อุปทานสำหรับท่อไอเสียของบริษัทผู้ประกอบรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยพิจารณาสภาพปัญหาในด้านคุณภาพ การจัดส่ง ต้นทุนและการให้บริการเพื่อการปรังปรุงความสามารถของห่วงโซ่อุปทาน จากการศึกษาได้พบว่าปัญหาในผู้ผลิตชิ้นส่วนท่อไอเสียลำดับที่ 1 มาจากการขาดความรู้ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ผลิตรายย่อยลำดับที่ 2 ของตนและไม่มีความสามารถที่จะปรับปรุงการทำงานของผู้ผลิตรายย่อยเหล่านั้น จากการดำเนินการตรวจสอบในระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 พบว่าไม่สามารถรู้ถึงแผนผังการเชื่อมโยงลำดับขั้นผู้ผลิตชิ้นส่วนในปัจจุบัน ซึ่งโดยหลักการของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดีนั้น จะต้องมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพในส่วนของการจัดซื้อ การผลิต และสินค้าคงคลังควบคู่กับระบบการควบคุมคุณภาพสำหรับผู้ผลิตทุกลำดับขั้น รวมทั้งมีระบบการกระจายสินค้าและการจัดการด้านข้อมูลที่ดีด้วย โดยการปรับปรุงแก้ไขสภาพปัญหาสำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทานท่อไอเสียนี้ได้ใช้หลักการ 3E อันประกอบไปด้วย การให้การศึกษา การออกกฎข้อบังคับ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลของการดำเนินการ ทำให้สามารถลดจำนวนครั้งการจัดส่งชิ้นส่วนล่าช้าได้เป็นลำดับ จากมีอัตราเฉลี่ยร้อยละของการส่งชิ้นส่วนล่าช้าเท่ากับ 3.8% ในปี พ.ศ. 2545 ลดลงมาถึง 2.0% ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2546 และสามารถลดจำนวนของเสียลงได้จากมีอัตราเฉลี่ยร้อยละของจำนวนของเสียเท่ากับ 0.67% ในปี พ.ศ. 2545 ลดลงเป็น 0.40% ในปี พ.ศ. 2546 จากผลการดำเนินงานการปรับปรุงดังกล่าวมีผลทำให้เกิดความสูญเสียที่น้อยลงอันจะส่งผลถึงต้นทุนที่สามารถลดลงได้ และในท้ายที่สุดการให้บริการของผู้ผลิตชิ้นส่วนสามารถปรับปรุงการตอบสนองของผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาและการตอบกลับของข้อมูลได้
Other Abstract: The objective of this research is to study the Supply Chain Management for exhaust pipe in Thai car assembler. Problems in terms of quality, delivery, cost and service were considered to improve supply chain capability. From the study, it is found that the problems in supplier tier 1 who is the main supplier are caused by the lack of knowledge of their second tier suppliers‘ problems and the ability to improve their operations ' An investigation was conducted in Supply Chain Management for tier 1 supplier and it was revealed that no business process links define to exist. For a good Supply Chain Management, it is required to have efficient operations in purchasing, production and inventory as well as quality control system for all for all tiers of suppliers. In addition, the good logistic and information system are also needed. By using the concepts of 3E, Education, Enforcement and Engineering, the problems for the Supply Chain Management were improved‘ As a result, the percentage of late delivery improved gradually from average 3.8% in 2002 to average 2.0% during January - August 2003. The defect percentage reduced from average 0.67% in 2002 to average 0.4% in 2003, From those improvements, loss could be decreased that effected to cost which could be reduced also. Finally, the service for defects replacement was improved.
Description: วิทยานิพนธ์(วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27363
ISBN: 9741738943
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaporn_na_ch1.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_na_ch2.pdf13.66 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_na_ch3.pdf17.88 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_na_ch4.pdf14.02 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_na_ch5.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_na_ch6.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_na_back.pdf999.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.