Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27433
Title: | การวิเคราะห์การอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาขั้นปริญญามหาบัณฑิต และงานวิจัยของอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง |
Other Titles: | Citation analysis of master's theses and faculty's research reports, Faculty of Engineering, King Mongkut's Institute of Technology, Chaokhuntaharn Ladkrabang Campus |
Authors: | กมลรัตน์ ตัณฑ์เกยูร |
Advisors: | ศจี จันทวิมล พัลลภ เหล่าเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประเภท ขอบเขตเนื้อหาวิชา อายุ ภาษา และสถานที่พิมพ์ของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาขั้นปริญญามหาบัณฑิตและรายงานวิจัยของอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยวิธีการวิเคราะห์การอ้างถึงเอกสารที่ปรากฏในบรรณานุกรม 1,304 รายการ ของวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาขั้นมหาบัณฑิตและงานวิจัยของอาจารย์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2520 ถึง 2526 และปีพ.ศ. 2520 ถึง 2526 จำนวน 38 เล่ม และ 149 ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปของการแจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ วารสารเป็นเอกสารที่ผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์และงานวิจัยอ้างถึงมากที่สุด รองลงมาคือหนังสือ เอกสารในสาขาเทคโนโลยีได้รับการอ้างถึงมากที่สุดคือร้อยละ 77.84 รองลงคือสาขาวิทยาศาสตร์ ในการวิเคราะห์อายุของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง พบว่า ผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมักอ้างถึงเอกสารใหม่ๆที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี และ 10 ปี สำหรับภาษาของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงนั้น ปรากฏว่าเป็นภาษาอังกฤษมากที่สุดคือร้อยละ 92.94 ที่เหลือเป็นเอกสารภาษาไทยและภาษาอื่นๆ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์สถานที่พิมพ์ของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง พบว่า เป็นเอกสารที่พิมพ์ในสหรัฐอเมริกามากที่สุดคือร้อยละ 71.01 รองลงคือได้แก่เอกสารที่พิมพ์ในไทยและประเทศอื่นๆ จากการวิเคราะห์การอ้างถึงเอกสาร 1,304 รายการ พบว่า เป็นหนังสือภาษาไทย ร้อยละ 1.53 ของการอ้างถึงทั้งหมด หนังสือภาษาอังกฤษ ร้อยละ 41.87 ที่เหลือเป็นหนังสือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ร้อยละ 0.38 เป็นวารสารภาษาไทยร้อยละ 0.54 ของการอ้างถึงทั้งหมด วารสารภาษาอังกฤษร้อยละ 44.71 ที่เหลือเป็นวารสารภาษาต่างประเทศอื่นๆ ร้อยละ 0.46 หนังสือภาษาไทยที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดมี 4 รายการคือ เครื่องจักรไฟฟ้า, วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์สารกึ่งตัวนำ และคู่มือการเขียนโปรแกรมอนาลอกคอมพิวเตอร์ HITACH ALS-240 วารสารภาษาไทยที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดคือ วิศวกรรมสาร วารสารภาษาอังกฤษที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดคือ Proceedings of the IEEE ในการเปรียบเทียบเอกสารประเภทรายงานการวิจัย อายุ และภาษาของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์กับงานวิจัย พบว่า รายงานการวิจัยได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์คิดเป็นร้อยละ 2.74 ของการอ้างถึงทั้งหมด ในขณะที่ได้รับการอ้างถึงในงานวิจัยร้อยละ 4.01 ของการอ้างถึงทั้งหมด สำหรับเอกสารที่มีอายุระหว่าง 0-5 ปี ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ คิดเป็นร้อยละ 18.56 ของการอ้างถึงทั้งหมด ในขณะที่ได้รับการอ้างถึงในงานวิจัยร้อยละ 20.25 ของการอ้างถึงทั้งหมด ในขณะที่ได้รับการอ้างถึงในงานวิจัยร้อยละ 43.71 ผลการวิจัยครั้งนี้ บรรณารักษ์ห้องสมุดทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานเอกสารของห้องสมุดและการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการจัดทำบรรณนิทัศน์ บรรณานุกรม สาระสังเขป ดรรชนี และบริการข่าวสารทันสมัย |
Other Abstract: | The purpose of this research is to determine the form, subject, time span, language, and the country of publication of cited documents in master’s theses and Faculty’s research reports, Faculty of Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology, Chaokhuntaharn Ladkrabang Campus. The source publications used in this research were 38 master’s theses and 149 faculty’s research reports which were completed between 1977-1983. The bibliographies used in this citation analysis totaled 1,304. The data were analyzed and presented in frequency distributions and percentages. The results of the research can be summarized as follows: It was found that journals were the most important forms of literature cited by both the master’s candidates and the faculty’s staffs, second to these were books. The technological documents were the most cited documents (77.84%), second to these were scientific documents. The time span of the cited documents was from recent to about 5-10 years old. The language of the documents cited were mostly English (92.94%),the rest were Thai and other languages. Regarding the source of publications, the documents printed in the United States were mostly cited (71.01%), second to these were the documents printed in Thailand and the rest were from other countries. From the analysis of the total 1,304 citations, it was found that the percentages of Thai, English and other language books cited were 1.53, 41.87 and 0.38 respectively. The language of periodicals cited were English (44.71%) and other languages (0.46%). The Thai books cited most were Electrical Machines (เครื่องจักรไฟฟ้า), Electric Circuit Analysis (วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า), Semiconductor Electronics (อิเล็กทรอนิกส์สารกึ่งตัวนำ) and Handbook of Analog Computer Programming HITACH ALS-240 (คู่มือการเขียนโปรแกรมอนาลอกคอมพิวเตอร์ HITACH ALS-240). Basic Integrated Circuit Engineering was the English book cited most. The Thai periodical cited most was Thailand Engineering Journal (วิศวกรรมสาร) and the English one was Proceedings of the IEEE The citations in Master’s theses and the Faculty’s research reports were comparatively analysed in terms of the percentages of citations from research reports, time span and language of the documents cited, It was found that the percentages of the citations from research reports in Master’s theses and Faculty’s research reports were 2.74 and 4.01 respectively. The recent documents up to 5 years were cited 18.56% in the Master’s theses, but were cited 20.25 % in Faculty’s research reports. The English documents cited in the Master’s these were 48.93%, but in the Faculty’s research reports were 43.71% The benefits of this research to librarians of engineering libraries and retalive disciplinary libraries are that they can use these results to guide them in developing and servicing the documents of libraries with regard to efficiency and the needs of library users and in doing annotations, bibliographies, abstracts, indexes and current awareness services. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27433 |
ISBN: | 9745649325 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamolpis_Su_front.pdf | 631.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kamolpis_Su_ch1.pdf | 496.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kamolpis_Su_ch2.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kamolpis_Su_ch3.pdf | 678.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kamolpis_Su_ch4.pdf | 991.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kamolrat_Ta_ch5.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kamolrat_Ta_back.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.