Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27460
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
dc.contributor.advisorชัยพร วิชชาวุธ
dc.contributor.authorอุดม จำรัสพันธุ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-11T02:34:46Z
dc.date.available2012-12-11T02:34:46Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745614262
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27460
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักที่จะศึกษาบทบาทของการเสริมแรง 2 แบบ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องในกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนให้กับนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์คือ แบบที่ 1 ให้การเสริมแรงและรายงานให้ผู้ปกครองทราบ ประกอบด้วย (ก) ป้อนผลกลับทางบวกพร้อมคำชม และใช้อุปกรณ์การเรียนที่มีราคาเพิ่มขึ้นตามลำดับเป็นตัวเสริมแรง (ข) ใช้แผนการเสริมแรงแบบอัตราส่วนแปรผันที่เพิ่มอัตราการตอบสนองต่อการเสริมแรงขึ้นเป็นลำดับ (ค) ใช้เกณฑ์การเสริมแรงแบบกลุ่มร่วมมือ และ (ง) มีจดหมายรายงานให้ผู้ปกครองทราบเพื่อให้กำลังใจอีกทางหนึ่ง แบบที่ 2 ให้การเสริมแรงเพียงอย่างเดียวประกอบด้วย (ก) ถึง (ค) ในแบบที่ 1 ตัวแปรตามคือแรงจูงใจต่อเนื่องในกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนซึ่งได้จากการวัด 3 ตัวแปรเกณฑ์ ต่อไปนี้คือ (1) การเลือกทำกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่าง (2) ความต้องการร่วมกิจกรรมในอนาคต และ (3) การใส่ใจกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่าง ผู้รับการทดลองเป็นนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาล จังหวัดอุดรธานี จำนวน 54 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 18 คนสุ่มเข้ากลุ่มตามเพศและระดับความสามารถ จัดเข้ารับการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องในกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนภายใต้เงื่อนไขการเสริมแรงแบบที่ 1 แบบที่ 2 และไม่ได้รับการเสริมแรงแต่อย่างใด (กลุ่มควบคุม) โดยการสุ่มกลุ่มเข้าเงื่อนไข สมมติฐานการวิจัยมีว่า นักเรียนด้อยสัมฤทธิ์กลุ่มที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขการเสริมแรงแบบที่ 1 มีแรงจูงใจต่อเนื่องซึ่งวัดโดยการเลือกทำกิจกรรเมื่อมีเวลาว่าง ความต้องการร่วมกิจกรรมในอนาคต และการใส่ใจกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่าง สูงกว่านักเรียนด้อยสัมฤทธิ์กลุ่มที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขการส่งเสริมแรงแบบที่ 2 และกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริมแรงแต่อย่างใด ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้ปรากฏว่า (1) นักเรียนด้อยสัมฤทธิ์กลุ่มที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขการเสริมแรงแบบที่ 2 มีการเลือกทำกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่างสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขการเสริมแรงแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ยังไม่แน่ชัดว่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริมแรงแต่อย่างใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล ส่วนกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขการเสริมแรงแบบที่ 1 กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริมแรงแต่อย่างใด มีความต้องการทำกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่างไม่แตกต่างกัน (2) นักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ที่ได้รับการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขการเสริมแรงแบบที่ 1 แบบที่ 2 และกลุ่มควบคุมมีความต้องการร่วมกิจกรรมในอนาคต และการใส่ใจกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่างไม่ต่างกัน (3) การเลือกทำกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่างและการใส่ใจกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่างมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความต้องการร่วมกิจกรรมในอนาคตไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกทำกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่างหรือการใส่ใจกิจกรรมเมื่อมีเวลาว่าง
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this study was to investigate the roles of two types of reinforcement in developing continuing motivation in learning activities of underachievers: Type I using reinforcement and home-report, consisted of (a) positive feedback, praise and increasing prize reinforcers; (b) variable ratio, with stretching the ratio of responses, schedule of reinforcement; (c) cooperative group reinforcement contingency; and (d) home-report to elicit parents’ praise and approval. Type II using reinforcement only, consisted of (a), (b) and (c) from Type I. The dependent variable was continuing motivation in learning activities defined by three criterion variables: (1) selection of the activity at any free-time; (2) desire to perform the activity in the future; and (3) attention given to the activity during a free-time period. The subjects were 54 underachievers from Pratom Suksa VI of a municipal school in Changwat Udornthani. Three equal groups were formed by stratified randomly sampling by sex and ability. The groups, then, were assigned randomly to one of two types of reinforcement and a no-reinforcement (control group) conditions. It was hypothesized that continuing motivation as measured by selection of the activity at any free-time, desire to perform the activity in the future, and attention given to the activity during a free-time period, of underachievers who received Type I reinforcement would be higher than those who received Type II reinforcement and those who were in the control group, respectively. The results showed that (1) The underachievers who received Type II reinforcement were significantly higher in selection of activity at any free-time than those who received Type I reinforcement, however, the underachievers who received Type II reinforcement was not conclusively higher in this measure than those who were in the control group. This point depends on the statistical procedure used. Additionally the underachievers who received Type I reinforcement were not found to be different from those who were in the control group, (2) The desire to perform the activity in the future and attention given to the activity during a free-time period of the three groups of underachievers were not significantly different, (3) There was significant correlation between the selection of the activity at any free-time and the attention given to the activity during a free-time period, but the correlations between the desire to perform the activity in the future and the selection of the activity at any free-time or the attention given to the activity at a free-time period were not statistically significant.
dc.format.extent554458 bytes
dc.format.extent2185390 bytes
dc.format.extent906947 bytes
dc.format.extent662048 bytes
dc.format.extent845833 bytes
dc.format.extent695365 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleบทบาทของการเสริมแรงในการพัฒนาแรงจูงใจต่อเนื่อง ให้กับนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์en
dc.title.alternativeThe roles of reinforcement in the development of continuing motivation of underachieving pupilsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Udom_Ch_front.pdf541.46 kBAdobe PDFView/Open
Udom_Ch_ch1.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Udom_Ch_ch2.pdf885.69 kBAdobe PDFView/Open
Udom_Ch_ch3.pdf646.53 kBAdobe PDFView/Open
Udom_Ch_ch4.pdf826.01 kBAdobe PDFView/Open
Udom_Ch_back.pdf679.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.