Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27473
Title: การกำจัดสารประกอบอินทรีย์ระเหย ด้วยแผ่นฟอกอากาศโดยกระบวนการโฟโตคะตะไลซีส
Other Titles: Removal of volatile organic compounds using photocatalysis air filter
Authors: เทียนฉาย สถิรภิวงศ์
Advisors: วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wongpun.L@eng.chula.ac.th, Wongpun.L@Chula.ac.th
Subjects: สารประกอบอินทรีย์ระเหย
การเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดสารประกอบอินทรีย์ระเหย คือสารโทลูอีน สารไซลีน สารเอทิลเบนซีน และ สารอินทรีย์ระเหยรวม ที่ความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20 ส่วนในล้านส่วน ด้วยแผ่นฟอกอากาศชิเซน แอร์คลีน โดยกระบวนการโฟโตคะตะไลซีส ซึ่งทำการวิจัยโดยระบบต่อเนื่องและระบบทีละเท โดยใช้ถังปฏิกิริยาขนาด 0.03 ลูกบาศก์เมตร เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของแผ่นฟอกอากาศ ได้แก่ ความเข้มข้นของสารอินทรีย์ระเหย เวลากักพัก พื้นที่แผ่นฟอกอากาศ และความเข้มแสงยูวี การหาสภาวะที่เหมาะสมโดยใช้สารโทลูอีนเป็นตัวแทน พบว่า สภาวะที่เหมาะสม คือ แผ่นฟอกอากาศขนาด 0.15 ตารางเมตร และแหล่งกำเนิดแสงฟลูออเรสเซนต์ ความเข้มแสงยูวี 2.5 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร และเวลากักพักในงานวิจัยนี้ คือ 10 นาที สำหรับระบบต่อเนื่อง และทำการทดลองตลอด 180 นาที สำหรับระบบทีละเท จากสภาวะที่เหมาะสม นำมาศึกษาการกำจัดสารโทลูอีน สารไซลีน สารเอทิลเบนซีน และสารอินทรีย์ระเหยรวม พบว่า ระบบต่อเนื่อง ประสิทธิภาพการกำจัดและค่าคงที่ปฏิกิริยาลดลงเมื่อความเข้มข้นสารอินทรีย์ระเหยแต่ละชนิดสูงขึ้น เนื่องจาก ระบบต่อเนื่องมีปริมาณสารอินทรีย์ระเหยเข้าระบบตลอดเวลาจึงทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์ระเหยน้อยลง ซึ่งประสิทธิภาพการกำจัดสูงสุดสารอินทรีย์ระเหยแต่ละชนิดเท่ากับ 66, 63, 64 และ 44 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนระบบทีละเท พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดและค่าคงที่ปฏิกิริยาสูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นสารอินทรีย์ระเหยแต่ละชนิดสูงขึ้น เนื่องจาก ระยะเวลานานถึง 180 นาทีในการกำปฏิกิริยา ซึ่งประสิทธิภาพการกำจัดสูงสุดของสารอินทรีย์ระเหยแต่ละชนิด เท่ากับ 64, 64, 66 และ 51 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Other Abstract: The aim of this research was to study the removal of Volatile Organic Compounds : Toluene, Xylene, Ethylbenzene and Mixed VOCs at concentrations 5, 10, 15 and 20 ppm using photocatalytic air filter (Shisen filter). The experiment was condition under continuous condition and batch condition using a chamber with a volume of 0.03 m³. The variable parameters concentration of VOCs, retention time, area air filter and UV light intensity. The results showed using that continuous condition were air filter with area of 0.15 m² fluoresence source at UV light intensity 2.5 µW/cm² retention time 10 minutes for continuous condition and time 180 minutes for batch condition. The results showed continuous condition had lower efficiency and rate constant with higher concentration of VOCs because of continuous concentration fresh feed of pollutant. The highest removal efficiency of Toluene, Xylene, Ethylbenzene and Mixed VOCs were 66% 63% 64% and 44% respectively. Experiment on batch condition slowed higher efficiency and rate constant with higher concentration of VOCs due to extanded reaction time up to 180 minutes. The highest removal efficiency of Toluene, Xylene, Ethylbenzene and Mixed VOCs were 64% 64% 66% and 51% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27473
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1982
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1982
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thianchay_sa.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.