Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27492
Title: | ตัวกำหนดผลิตภาพทางการเกษตร : ปัจจัยการผลิตเทคโนโลยี่และสภาพแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อผลิตภาพของที่ดิน |
Other Titles: | Determinant of agricultural productivity : the impact of inputs, and context on land productivity |
Authors: | อุษณี ภูชัชวนิชกุล |
Advisors: | วิวัฒน์ โชติเลอ |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในระยะที่ผ่านมาผลผลิตทางการเกษตรได้มีการขยายตัวในอัตราที่สูงเป็นผลมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไป แต่การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีดังกล่าวมีขีดจำกัด เนื่องจากพื้นที่ทีจะทำการบุกเบิกมีน้อยและเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะกับการเกษตร ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตในอนาคตจึงขึ้นอยู่กับการปรับปรุงผลิตภาพทางการเกษตร โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น ปุ๋ย เครื่องทุ่นแรง เป็นต้น ซึ้งจะต้องมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจะสนันสนุนการผลิตแบบสินเชื่อและอื่นๆด้วย ในการวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาเพื่อดู มาตรการต่างๆ ดังกล่าวมีส่วนช่ายเพิ่มหรือปรับปรุงผลิตภาพของที่ดินหรือไม่ ในการศึกษาได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis) และทำการหา correlation ระหว่างตัวประกอบที่ได้กับผลิตภาพของที่ดิน โดยตั้งสมมุติฐานว่า ผลิตภาพของที่ดินน่าจะมีความสัมพันธ์กัน 1. ปัจจัยการผลิต เช่น แรงงานคน แรงงานสัตว์ ปริมาณน้ำฝน และเทคโนโลยี 2. การรับและการเผยแพร่เทคโนโลยี 3. การได้รับประโยชน์ทางโครงสร้างขั้นพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมทางการเกษตรโดยใช้ตัวแปรในการศึกษาทั้งหมด 17 ตัว ซึ่งเป็นข้อมูลรายจังหวัดปี 2522 ได้ ผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีผลกระทบและมีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดิน ได้ทำการพิจารณาแยกเป็น 2 ส่วนคือ 1.1 ระดับประเทศ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในการศึกษาระดับประเทศที่มี 5 ตัว คือ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ผลกระทบของ เมือง-อุตสาหกรรม การติดตามข่าวสาร แหล่งนี้เพื่อการเกษตร และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน แต่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ คือ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีนัยสำคัญ 0.01 1.2 ระดับภาค แบ่งออกเป็น 5 ภาค คือ 1.2.1 ภาคเหนือปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินคือ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ โครงสร้างขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยี ผลกระทบของ เมือง-อุตสาหกรรม การใช้ที่ดินและการติดตามข่าวสาร ในจำนวนนี้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ผลกระทบของเมือง-อุตสาหกรรม และโครงสร้างขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ 0.01 0.1 และ 0.01 ตามลำดับ 1.2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพที่ดินได้แก่ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน ผลกระทบของเมือง และการติดตามข่าวสาร โดยมีปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ เพียงตัวเดียวที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ 0.1 1.2.3 ภาคกลาง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินได้แก่ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ ผลกระทบของเมือง โครงสร้างขี้นพื้นฐานอิทธิพลจากสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ accessibility ปรากฎว่าอิทธิพลจากสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 1.2.4 ภาคตะวันออก ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตของที่ดิน ได้แก่ ปัจจัยที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยี โครงสร้างขั้นพื้นฐาน ปัจจัยการผลิตแบบดั้งเดิมและผลกระทบของเมือง-อุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญคือ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 1.2.5 ภาคใต้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตภาพของที่ดินมีเพียง 4 ตัวคือ ปัจจัยการผลิตแบบดั้งเดิม ผลกระทบของเมืองและโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เทคโนโลยีใหม่ และการศึกษา แต่ไม่ปรากฎว่ามีปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญเลย 2. เปรียบเทียบผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศและภาค โดยแยกการพิจารณาเปรียบเทียบออกเป็น 2.1 การเปรียบเทียบผลในการศึกษาระหว่างประเทศกับภาค ปัจจัยหรือตัวประกอบที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศโดยทั่วไปแล้วจะมีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดิน ในระดับภาคด้วยยกเว้นภาคใต้ และตัวประกอบแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศ แต่ไม่มีผลต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับภาค สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลิตภาพของที่ดิน ปรากฏว่ามีเฉพาะ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี เท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศและระดับภาคเฉพาะภาคเหนือ และภาคอีสาน 2.2 เปรียบเทียบผลในการศึกษาระหว่างภาค มีปัจจัย 4 ตัวที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ได้แก่ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ ผลกระทบของเมือง-อุตสาหกรรม การติดตามข่าวสาร และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน สำหรับภาคใต้ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศต่างจากภาคอื่น มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดิน ที่สอดคล้องกับภาคตะวันออก 2 ตัวคือ เทคโนโลยี และปัจจัยการผลิตแบบดั้งเดิม สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลิตภาพของที่ดิน ปรากฎว่ามีเพียงปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่เท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยอื่นจะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลิตภาพของที่ดินในแต่ละภาคจะแตกต่างกันไป โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า การกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อปรับปรุงผลิตภาพของที่ดินควรคำนึงถึงปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่เป็นสำคัญ เนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินไม่ว่าทั่วประเทศหรือรายภาค อย่างไรก็ตามในแต่ละภาคนั้นมีรายละเอียดของการกำหนดผลิตภาพของที่ดินแตกต่างกันอยู่บ้าง ฉะนั้นในการส่งเสริมหรือพัฒนาควรคำนึงถึงรายละเอียดของแต่ละภาคมาประกอบการพิจารณาด้วย |
Other Abstract: | Thailand has recently experienced a rapid rate of growth in agricultural sector. However, the expansion of agricultural production in the past has been due mainly to the expansion of area harvested rather than increased in output per unit area. Because of the limitation in arable land, the past year of gaining increased production through exploitation of new land is at an end. The test is now to increase productivity of land now under cultivation. This study is desired to identify variables contributable to the increase in agricultural productivity. The technique of factor analysis and correlation technique have been used to test the hypothesis of agricultural productivity in regard to 1. Technology and traditional factors of production 2. Absorption and dissemination of technology 3. Infrastructure availability in agricultural context Seventeen provincial level variables of 1979 are included in the model. The finding are presented in the following paragraphs: 1. Impacts on Land Productivity 1.1 National Level. There are five different factor that are significant in the analysis, namely: technology and traditional factors of production, impacts of urbanization and industrialization, mass communication, water supply, and infrastructure. With regrard to correlation it reduces to only two factors: technology & traditional factor of production and water supply with 0.01 level of significant. 1.2 Regional Level Five different regions are classified as follows: 1.2.1 The Northern Region There are five different factors that are significant in the analysis, namely: Technology & traditional factors of production, infrastructure and technology, impact of urbanization & industrialization, land use, and mass communication. With regard to correlation analysis, it reduces to only three factors: technology & traditional factors of production, impacts of urbanization & industrialization, and infrastructure & technology with 0.01, 0.10 and 0.01 level of significant respectively. 1.2.2 The North-East Region There are four different factors that are significant in the analysis, namely: Technology and traditional factors of production, infrastructure, impacts of urbanization, and mass communication. With regard to correlation analysis, it reduces to only technology and traditional factors of production with 0.1 level of significant. 1.2.3 The Central Region There are five different factor that are significant in the analysis, namely: technology & traditional factors of production, impacts of urbanization, infrastructure, credit provided by Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, and accessibility. With regard to correlation analysis, it reduces to only credit provided by Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives with 0.05 level of significant. 1.2.4 The Easthern Region There are five different factors that are significant in the analysis, namely: some factors contribute to technology, technology, infrastructure, traditional inputs and impacts of urbanization-industrialization. With regard to correlation analysis, it reduces to only infrastructure with 0.05 level of significant. 1.2.5 The Southern Region There are four different factors that are significant in the analysis, namely: technology and traditional factors of production, impacts of urbanization and infrastructure new technology and education. It is interesting to note that name of the factors are significantly correlated to land productivity. 2. Comparatives Studies of Impacts on Land Productivity 2.1 Comparision between National and Regional Level The Impacts of various factors on land productivity are generally the same in national and regional comparision with two exceptions. Firstly, water supply is significant in the former but not significant in the latter. Secondary, none of the factors is significant in the Southern region. There is only one factor-technology and traditional factors of production – that is significant correlated with land productivity in both national level and the Northern and the North-East region. 2.2 Comparision Among Regions The are four common factors that are significant in determining land productivity in every region except the South. These factors include technology & traditional factors of production, impacts of urbanization and industrialization, mass communication, and infrastructure. Technology as well as traditional factors of production are two common factors that are significant in determining land productivity in the Southern and Eastern region. In addition, the technology & traditional factors of production is significantly correlated to land productivity only in the Northern and the North-East regions. Consequently, the study suggests that any measure taken to increase land productivity through take into consideration the prionts of factors of production and new technology. Since they have important impacts on land productivity in most cases. However, these are variation among regions and this should be taken into account in policy implementary. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27492 |
ISBN: | 9745631957 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Usanee_Po_front.pdf | 509.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Usanee_Po_ch1.pdf | 552.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Usanee_Po_ch2.pdf | 543.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Usanee_Po_ch3.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Usanee_Po_ch4.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Usanee_Po_back.pdf | 630.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.