Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27527
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากเกม สถานการณ์จำลอง และเกมจำลองสถานการณ์ ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกับต่ำ
Other Titles: A comparison of achievement of learning from games, simulations and simulation games in the area of life experiences of high and low learning achievement of prathom suksa four students
Authors: อมรา รสสุข
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากเกมสถานการณ์จำลอง และเกมจำลองสถานการณ์ ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกับต่ำ วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เขตห้วยขวาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2528 จำนวน 144 คน ซึ่ง ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และกลุ่มตัวอย่างที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มละ 72 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายทั้งสองกลุ่ม เข้ากลุ่มการทดลอง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 24 คน กลุ่มที่ 1 เรียนโดยใช้เกม กลุ่มที่ 2 เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มที่ 3 เรียนโดยใช้เกมสถานการณ์จำลอง โดยใช้เวลาเรียนกลุ่มละ 7 คาบ (คาบละ 20 นาที) ในเนื้อหาวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หน่วยที่ 5 เรื่องการค้าขายแลกเปลี่ยน ข้อมูลที่ได้จากแบบทดสอบหลังสอนได้นำมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอนทั้ง 3 รูปแบบ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และหาความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเรียนทั้งสามคือ เกม สถานการณ์จำลอง และเกมจำลองสถานการณ์ กับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงไม่ว่าจะเรียนโดยวิธีใดเรียนได้ดีกว่ากลุ่มที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำทุกกลุ่ม 2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนจากเกม สถานการณ์จำลอง และเกมจำลองสถานการณ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ถึงแม้ว่ากลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เมื่อเรียนโดยวิธีต่างกันจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเมื่อเรียนโดยวิธีต่างกันจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน โดยที่กลุ่มที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลอง และเกมจำลองสถานการณ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้เกม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Abstract: Objectives : The purpose of this study was to compare the achievement of learning from games, simulations, and Simulation games for Life Experience subject of high and low learning achievement of Prathom Suksa four students. Methodology : Seventy-two Prathom Suksa four students with high learning achievement and seventy-two students with low learning achievement were stratified random sampling from Pibulprachasun School, Huay Kwang, Bangkok. Each group was randomly assigned into three experimental groups, twenty four students in each group. The experimental group l of both high and low learning achievement students were learning from games, the students in second group were learning from simulations, and the students in the last group were earning from simulation games. All subjects attended seven 20 minutes sessions of experiments. The data obtained from the posttest were analyzed by means of two-way analysis of variance. Findings : 1. There was no interaction between three methods of learning : games, simulations and simulation games and levels of students learning achievement at 0.05 level of confidence. However, the result of the study indicated that the subjects with high learning achievement learnt better, in any method of study, than the subjects with low learning achievement 2. The learning achievements of subjects learnt from games, simulations, and simulation games were found significantly different at 0.05 level of confidence. Although, the subjects with high learning achievement showed no significant difference in learning from three methods of learning, but the subjects with low learning achievement were found significant difference in learning from different methods of learning ; learning from simulations and simulation games found to be superior to learning from games.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27527
ISBN: 9745662452
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amara_Ro_front.pdf424.75 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ro_ch1.pdf496.91 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ro_ch2.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Amara_Ro_ch3.pdf286.12 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ro_ch4.pdf335.54 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ro_ch5.pdf426.99 kBAdobe PDFView/Open
Amara_Ro_back.pdf672.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.