Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27530
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุมน อมรวัฒน์ | |
dc.contributor.author | อมรา เย็นเปี่ยม | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-11T15:11:38Z | |
dc.date.available | 2012-12-11T15:11:38Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745662976 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27530 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองสอนหน่วยการเรียนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อสร้างเสริมเจตคติต่อวัฒนธรรมไทยแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวัฒนธรรมไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ครูสอนโดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย และที่ครูสอนโดยใช้สื่อที่ไม่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการสอน 20 แผน ที่ได้ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นแผนการสอนเรื่อง “ชุมนุมชน” ซึ่งเป็นหน่วยการเรียนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย 10 แผน สำหรับสอนนักเรียนกลุ่มทดลองและแผนการสอนเรื่อง “ชุมนุมชน” โดยใช้สื่อที่ไม่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย 10 แผน สำหรับสอนนักเรียนกลุ่มควบคุม 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ชุมนุมชน” ซึ่งเป็นหน่วยการเรียนในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ผ่านการตรวจแก่ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปทดลองใช้ จำนวน 10 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ ข้อสอบเรื่องชุมนุมชน มีระดับความยาก 0.58-0.73 ค่าอำนาจจำแนก 0.23-0.38 เรื่องสถานที่สำคัญในชุมนุมชน (โรงเรียน) มีระดับความยาก 0.66-0.76 ค่าอำนาจจำแนก 0.23-0.46 ข้อสอบเรื่องสถานที่สำคัญในชุมนุมชน (ตลาด) มีระดับความยาก 0.31-0.77 ค่าอำนาจจำแนก 0.31-0.31 ข้อสอบเรื่องการประกอบอาชีพในชุมนุมชน มีระดับความยาก 0.27-0.73 ค่าอำนาจจำแนก 0.23-0.23 ข้อสอบเรื่องผลผลิตในชุมนุมชน มีระดับความยาก 0.58-0.61 ค่าอำนาจจำแนก 0.23-0.77 ข้อสอบเรื่องการปฏิบัติตนต่อเพื่อนบ้าน มีระดับความยาก 0.69-0.77 ค่าอำนาจจำแนก 0.31-0.31 ข้อสอบเรื่องการเดินทางติดต่อในชุมนุมชน มีระดับความยาก 0.73-0.77 ค่าอำนาจจำแนก 0.38-0.46 ข้อสอบเรื่องการทำประโยชน์ในชุมนุมชน มีระดับความยาก 0.61-0.69 ค่าอำนาจจำแนก 0.73-0.77 ข้อสอบเรื่องการรักษาความสะอาดและความสวยงามตามธรรมชาติของชุมนุมชน มีระดับความยาก 0.73-0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.22-0.38 ข้อสอบเรื่องการทำตนให้เหมาะสมเมื่อตามผู้ใหญ่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ มีระดับความยาก 0.69-0.78 ค่าอำนาจจำแนก 0.31-0.54 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบสอบโดยใช้สูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (Kuder – Richardson 20) เท่ากับ 0.75 3. แบบวัดเจตคติต่อวัฒนธรรมไทยที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ได้ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้ จำนวน 20 ข้อ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบวัด โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ (Alpha-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) มีค่าเท่ากับ .66 วิธีการวิจัย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน รวม 50 คน ผู้วิจัยได้ทดลองสอนนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยตนเองตามแผนการสอนเรื่อง “ชุมนุมชน” ซึ่งเป็นหน่วยการเรียนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยสอนห้องละ 6 คาบต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ แล้วนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชุมนุมชน และแบบวัดเจตคติวัฒนธรรมไทยไปทดสอบนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม โดยทดสอบก่อนทำการสอนและหลังทำการสอน แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยการทดสอบค่าที สรุปผลการวิจัย 1. นักเรียนที่เรียนตามแผนการสอน โดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ชุมนุมชน” ซึ่งเป็นหน่วยการเรียนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนโดยใช้สื่อที่ไม่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนโดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ชุมนุมชน” ซึ่งเป็นหน่วยการเรียนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตมีการเรียนรู้โดยมัชฌิมเลขคณิต คะแนนหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และนักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนโดยใช้สื่อที่ไม่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย มีการเรียนรู้โดยมัชฌิมเลขคณิต คะแนนหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนโดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย มีเจตคติต่อวัฒนธรรมไทยสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนโดยใช้สื่อที่ไม่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. นักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนโดยใช้สื่อที่ไม่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย มีเจตคติต่อวัฒนธรรมไทยในทางลบ โดยมัชฌิมเลขคณิตคะแนนหลังสอบแตกต่างจากก่อนสอบที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 5. นักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนโดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย มีเจตคติต่อวัฒนธรรมไทยในทางบวกมากขึ้น โดยมัชฌิมเลขคณิตคะแนนหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to experiment on teaching the Unit in the area of Life Experiences by using media emphasizing Thai cultural art for the enhancement of Prathom One Students’ attitudes towards Thai culture and to compare academic achievement of the students who were taught by using media emphasizing Thai cultural art and who were not, and also to compare Prathom One students’ attitudes towards Thai culture of those students Instruments 1. Twenty lesson plans, improved by the experts, on the topic “the community of the Unit in the Area of Life Experiences. Ten Lesson plans using media emphasizing Thai Cultural Art for teaching the experiment group and ten lesson plans without emphasizing used in teaching the control group. 2. The Learning Achievement tests on “the Community” were constructed by the researcher, examined by the experts and has already been tried out for 10 topics in 20 questions each. It was found out that, on the Community topic, the level of difficulty was 0.58-0.73 and the power of discrimination was 0.20-0.38; the specific charactes of the community (school), the level of difficulty was 0.65-0.76 and the power of discrimination was 0.23-0.40 ; the specific characters of the community (market), the level of difficulty was 0.31-0.77 and the power of discrimination was 0.31-0.31 ; the community occupation, the level of difficulty 0.27-0.73 and the power of discrimination was 0.23-0.23; the community product, the level of difficulty was 0.58-0.61 ; the power of discrimination was 0.23-0.77; the reaction to the neighbours in the community, the level of difficulty was 0.69-0.77 and the power of discrimination was 0.31-0.31; the community transportation, the level of difficulty was 0.73-0.77 and the power of the discrimination was 0.38-0.46; the community participation, the level of difficulty was 0.61-0.68 and the power of discrimination was 0.74-0.62; the community hygiene and the reservation of the community nature, the level of difficulty was 0.73-0.80 and the power of discrimination was 0.23-0.38; the good manners and courtesy accompainied with the adults in different places, the level of difficulty was 0.60-0.73 and the power of the discrimination was 0.31-0.54 respectively. The co-efficiency of test reliability was 0.75 by using Kuder-Richardson 20 3. Attitude towards Thai Culture test constructed by the researcher and examined by the experts were tried out to test twenty questions. A Reliablity Coefficient was 0.68 by Using the Alpha-coefficient of Cronbach. Precedure The sample were two groups of Prathom Suksa One of Pratamnuksaunkularb School. There were 25 students in each group. The researcher had experimented teaching in each class 6 periods per week for five weeks. The statistical method for data analysis was the t-test. Results 1. The learning achievements of the students on the “community topic”, who were taught by using media emphasizing Thai cultural art, were higher than the students who were taught by non-using media emphasizing Thai cultural art at the statistically significant of .01 level 2. The arithmetic mean of the post-test of the students taught by using media emphasizing Thai cultural art on the Unit in the Area of Life Freperiences media emphasizing Thai cultural art were higher than pre-test at the significant of .01 and .05 respectively. 3. The students’ attitudes towards Thai cultural who were taught by using media emphasizing Thai cultural art, were higher than the students who were taught by non-using media emphasizing Thai cultural art at the statistically significant of .01 level. 4. The arithmetic mean of the post-test of the students who were taught by non-using media a emphasizing Thai culture art do not have an increase in positive attitudes towards Thai culture and were different from the pre-test at the significant of .01 level. 5. The arithmetic mean of the post-test of the students, who were taught by using media emphasizing Thai culture were higher than the pre-test at the significant of .01 level. | |
dc.format.extent | 529417 bytes | |
dc.format.extent | 636398 bytes | |
dc.format.extent | 2287476 bytes | |
dc.format.extent | 552887 bytes | |
dc.format.extent | 344679 bytes | |
dc.format.extent | 713955 bytes | |
dc.format.extent | 4839378 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การทดลองสอนหน่วยการเรียนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยใช้สื่อที่เน้นศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อสร้างเสริมเจตคติต่อวัฒนธรรมไทย แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่หนึ่ง | en |
dc.title.alternative | An experiment on teaching a unit in the area of life experiences by using media emphasizing Thai cultural art for the enhencement of prathom suksa one student attitudes towards Thai culture | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amara_Ye_front.pdf | 517.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_Ye_ch1.pdf | 621.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_Ye_ch2.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_Ye_ch3.pdf | 539.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_Ye_ch4.pdf | 336.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_Ye_ch5.pdf | 697.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amara_Ye_back.pdf | 4.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.