Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27533
Title: การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซ 4 รูปแบบ
Other Titles: A comparison of the quality among the four types of modiefied cloze tests
Authors: อมรรัตน์ แกมทอง
Advisors: พวงแก้ว ปุณยกนก
วาสนา โกวิทยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคุณภาพในการวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซ 4 รูปแบบ คือ แบบที่มีตัวอักษรชี้แนะ แบบที่มีช่องว่างเท่าจำนวนตัวอักษรที่ต้องเติม แบบจับคู่ และแบบเลือกตอบ ในด้านความเที่ยงและความตรงของแบบสอบ (2) เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากแบบสอบโมดิฟายด์โคลซ 4 รูปแบบ ในกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ (3) ศึกษาปฏิกิริยาร่วมระหว่างลักษณะของแบบสอบกับระดับผลสัมประสิทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อคะแนนในการตอบแบบสอบโมดิฟายด์โคลซทั้ง 4 รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (อ. 015) ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และแบบสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบสอบโมดิฟายด์โคลซ 4 รูปแบบ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากบทความเดียวกัน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งหลายขั้นตอน จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคต้น ปีการศึกษา 2529 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร จำนวน 401 คน แล้วแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เพื่อให้กลุ่มที่หนึ่งตอบแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบที่มีตัวอักษรชี้แนะ กลุ่มที่สองตอบแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบทีมีช่องว่างเท่าจำนวนตัวอักษรที่ต้องเติมกลุ่มที่สามตอบแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบจับคู่ และกลุ่มที่สี่ตอบแบบสอบโมดิฟาย์โคลซแบบเลือกตอบ ได้จำนวนนักเรียนในแต่ละกลุ่มเป็น 98, 90, 109 และ 104 คนตามลำดับ และในแต่และกลุ่มยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลางและต่ำ โดยแบ่งตามคะแนนจากแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (อ. 015) ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งผู้วิจัยนำไปทดสอบกับนักเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดและแบบสอบนี้ยังได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการหาความตรงของแบบสอบที่ศึกษาด้วย แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติต่อไปนี้ (1) หาค่าความเที่ยงของแบบสอบแต่ละฉบับ โดยใช้สูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน 20 (2) หาค่าความตรงของแบบสอบโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (3) เปรียบเทียบค่าความเที่ยงและความตรงของแบบสอบทั้ง 4 รูปแบบ โดยเปลี่ยนเป็นสัมประสิทธิ์ฟิซเชอร์ซี (4) วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนที่ได้จากแบบสอบโมดิฟายด์โคลซทั้ง 4 รูปแบบ ในกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน 3 ระดับ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง และทดสอบความแตกต่างภายหลังด้วยวิธีของเซฟ เฟ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ค่าความเที่ยงของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบที่มีตัวอักษรชี้แนะ และแบบที่มีช่องว่างเท่าจำนวนตัวอักษรที่ต้องเติมไม่แตกต่างกัน ค่าความเที่ยงของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบที่มีตัวอักษรชี้แนะสูงกว่าแบบจับคู่และแบบเลือกตอบ ค่าความเที่ยงของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบที่มีช่องว่างเท่าจำนวนตัวอักษรที่ต้องเติมและแบบจับคู่ไม่แตกต่างกัน ค่าความเที่ยงของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบที่มีช่องว่างเท่าจำนวนตัวอักษรที่ต้องเติมสูงกว่าแบบเลือกตอบ และค่าความเที่ยงของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบจับคู่สูงกว่าแบบเลือกตอบ 2) ค่าความตรงของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซทั้ง 4 รูปแบบ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ไม่มีปฏิกิริยาร่วมระหว่างลักษณะของแบบสอบโมดิฟายด์โคลซกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) นักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และค่าตอบแบบสอบทั้ง 4 รูปแบบ ได้คะแนนเฉลี่ยมีลักษณะเหมือนกันคือ ได้คะแนนเฉลี่ยจากแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบที่มีตัวอักษรชี้แนะและแบบเลือกตอบ สูงกว่าจากแบบสอบโมดิฟายด์โคลซแบบที่มีช่องว่างเท่าจำนวนตัวอักษรที่ต้องเติมและแบบจับคู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this study were : (1) To compare the quality among the four types of modified cloze tests; alphabet clue, word length clue, matching and multiple choice measuring English reading comprehension. (2) To compare the difference of the four types of modified cloze test scored among high, medium and low learning achievement groups. (3) To find the interaction between learning achievement levels and the modified cloze tests using different clues. The instrument included four forms of an English reading comprehension test constructed by the researcher for Mathayomsuksa III and the standardized achievement test in General English Course (Eng. 015) for Mathayomsuksa III of Department of Curriulum and Instruction Development, Ministy of Education. The subjects were 401 Mathayomsuksa III students chosen by multi-stage random sampling from government secondary school in Bangkok. They were divided into four groups by systematic random sampling. The first group took the alphabet clue modified cloze test, the second took the word length clue modified cloze test, the third took the matching modified cloze test and the fourth took the multiple choice modified cloze test. The number of students in each group was 98, 90, 109 and 104 respectively. Each group was further divided into three small groups ; high, medium and low learning achievement according to the scores from the standardized achievement test in General English Course (Eng. 015) for Mathayomsuka III of Department of Curriculum and Instruction Development. The test was also used as the criterion for determining the concurrent validity of all tests constructed. The data were analyzed : (1) The Kuder-Richardson Formular-20 was used to estimate the reliability index of each test. (2) The Pearson’s Product Moment Correlation coefficient was used to determine the validity of each test. (3) the reliability and the validity of al tests were then transformed to the Fisher’s Z coefficient, and then compared. (4) The different scores of the four types of modified cloze test in different groups of learning achievement students were tested by two way analysis of variance and the Scheffe method was used to test the difference between the means in post hoc comparison. The results of the study were : 1) At the 0.05 level, there was no significant difference between the reliability of the alphabet clue modified cloze test and the word length clue modified cloze test. The reliability of the alphabet clue modified cloze test was significantly higher than the matching modified cloze test and the multiple choice modified cloze test. There was no significant difference between the reliability of the word length clue modified cloze test and the matching modified cloze test. The reliability of the word length clue modified cloze test was significantly higher than the multiple choice modified cloze test. The reliability of the matching modified cloze test was significantly higher than the multiple choice modified cloze test. 2) There was no significant difference among the validity of the four types of modified cloze test. 3) There was no interaction between learning achievement levels and the modified cloze tests using different clues. 4) the mean scores from the alphabet clue modified cloze test and the multiple choice cloze test were significantly higher than from those of the word length clue modified cloze test and the matching modified cloze test taken by the high, medium and low achievers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27533
ISBN: 9745675547
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_Ka_front.pdf444.19 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ka_ch1.pdf413.33 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ka_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ka_ch3.pdf463.81 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ka_ch4.pdf375 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ka_ch5.pdf514.72 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ka_back.pdf508.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.