Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27567
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของเสียงสระและความหมาย ของคำซ้ำสองพยางค์ในภาษาไทย
Other Titles: Relations of vowel patternings and meanings of disyllabic reduplicatives in Thai
Authors: อภิรดี อุดมมณีสุวัฒน์
Advisors: ปราณี กุลละวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของเสียงสระและความหมายของคำซ้ำสองพยางค์ในภาษาไทย คำซ้ำในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้หมายถึงคำที่มีเสียงซ้ำกัน โดยอาจซ้ำกันทุกเสียง เช่น ดี ๆ /dii dii/ หรือซ้ำเสียงบางเสียงก็ได้ เช่น ดีเดอ / dii dee/ ผู้วิจัยได้จำกัดขอบเขตของการวิจัยด้วยการศึกษา เฉพาะคำซ้ำสองพยางค์ที่พยางค์ทั้งสองมีเสียงซ้ำกันเพียงบางเสียงเท่านั้น คำซ้ำดังกล่าวอาจมีพยางค์หนึ่งเป็นพยางค์หลัก คือพยางค์ที่สามารถเกิดเดี่ยวเป็นคำได้ หรืออาจไม่มีพยางค์หลักเลยก็ได้ ถ้ามีพยางค์หลัก พยางค์ที่เหลือที่แสดงการซ้ำเสียงนั้นจะต้องมีความหมายเกี่ยวข้องกับความหมายของพยางค์หลัก เช่น โครมคราม /khroom khraam/ ถ้าไม่มีพยางค์หลัก พยางค์ทั้งสองจะต้องแสดงเสียงสระที่เป็นรูปแบบ และทั้งสองพยางค์นั้นจะต้องเกิดร่วมกันเสมอเพื่อให้เกิดความหมายของคำซ้ำนั้น ๆ เช่น อ้อแอ้ / วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มี 5 บทรวมทั้งภาคผนวกในตอนท้าย บทที่ 1 เป็นบทนำว่าด้วยวัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย บทที่ 2 เป็นการศึกษาค้นคว้าเรื่องคำซ้ำทั้ง คำว่า ‘เกี่ยวข้อง’ หมายถึงความหมายที่แสดงความรู้สึกนึกคิดในแง่ต่าง ๆ ของผู้พูดต่อสิ่ง, บุคคล หรือกริยาอาการซึ่งเป็นความหมายของพยางค์หลัก ดูบทที่ 4 ในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ บทที่ 3 เป็นการศึกษารูปแบบของเสียงสระของคำซ้ำ บทที่ 4 แสดงความหมายของคำซ้ำและความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของเสียงสระ บทที่ 5 เป็นการสรุปผลการวิจัย ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะ จากการศึกษาปรากฏว่าคำซ้ำสองพยางค์ในภาษาไทยมีรูปแบบของเสียงสระ อยู่ 2 แบบใหม่ๆ แบบที่ 1 คือไม่มีข้อจำกัดของคู่สระที่เกิดร่วมกันในพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สอง กล่าวคือสระในพยางค์หลักจะเป็นสระใดๆ ก็ได้ แต่สระในพยางค์ซ้ำจะต้องเป็นสระใดสระหนึ่งในสระต่อไปนี้ คือ สระกลาง-กลาง //, สระหน้า-ต่ำ // หรือ สระหลัง-กลางสั้น / / ตามด้วยพยัญชนะนาสิก / / เช่นในคำว่า กินเกิน /kin krn/ ตีแต /dii dee/ , น่งนั่ง /non nan/ คำซ้ำที่มีการซ้ำแบบนี้จะเกิดได้กับหมวดคำทุกประเภท แบบที่สอง คือมีข้อจำกัดของคู่สระที่เกิดร่วมกันในพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สองไม่ว่าพยางค์หลักจะอยู่หน้าหรือหลัง อีกทั้งยังมีข้อจำกัดว่าจะการซ้ำแบบนี้ เฉพาะในหมวดคำกริยาอกรรม หมวดคำคุณศัพท์ และหมวดคำกริยาวิเศษณ์ เท่านั้น รูปแบบของเสียงสระในพยางค์ทั้งสองจะเป็นแบบใดแบบหนึ่งในแบบต่อไปนี้ คือ สระหลัง-สระหน้า เช่นในคำว่า โยกเยก /jook jeek/ อ้อแอ้ หรือ สระสูงหรือกลาง-สระต่ำ เช่นในค่ำว่า กรี๊ดกร๊าด /kriit kraat/ ด้วยเหตุที่คำซ้ำแบบที่สองมีข้อจำกัดของคู่สระที่เกิดร่วมกันในพยางค์ทั้งสองนี้เองอาจมีส่วนทำให้คำซ้ำแบบนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าแบบแรก แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดเป็นคำซ้ำได้ คำซ้ำที่มีรูปแบบของเสียงสระอยู่ 2 แบบใหญ่นี้จะมี 2 ความหมายใหญ่ๆ แต่ละความหมายจะมีความสัมพันธ์กับรูปแบบของเสียงสระ ความหมายที่ 1 จะแสดงทัศนคติของผู้พูดที่มีต่อสิ่ง, หรือบุคคลในแง่ไม่สู้ดี รูปแบบของเสียงสระเป็นแบบที่ 1 คือไม่มีข้อจำกัดของคู่สระที่เกิดร่วมกันในพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สอง ความหมายที่ 2 เป็นความหมายที่เกี่ยวกับความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อสิ่งหรือบุคคลที่ใช้คำซ้ำนั้น ๆ มาขยายรูปแบบของเสียสระเป็นแบบที่ 2 คือมีข้อจำกัดของคู่สระที่เกิดร่วมกันในพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สอง ความหมายที่ 2 นี้อาจแยกเป็นความหมายย่อยได้อี 5 ความหมาย คือ ความหมายที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักความหมายของพยางค์หลักที่เกี่ยวกับลักษณะหรืออาการ. ความหมายที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักความหมายของพยางค์หลักที่เกี่ยวกับปริมาณของเสียงให้มีมากขึ้น, ความหมายที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักความหมายของพยางค์หลักโดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงความหมายของพยางค์หลักบ้างเล็กน้อย, ความหมายที่บอกลักษณะเกี่ยวกับเสียง ความหมายที่บอกลักษณะเกี่ยวกับอาการหรือท่าทาง
Other Abstract: This thesis is a study of the relation of vowel patternings and meanings of disyllabic reduplicatives in Thai. Reduplicatives here words which show sound reduplication, either complete reduplication i.e. / dii dii/ or partial reduplication i.e. / dii drr/. In this study reduplicatives are restricted only to disyllabic words which have partial sound reduplication. They may or may not have a main syllable which can occur alone as a word. In the former case, the syllable with sound reduplication must be related in meaning to that of the main one1 i.e. /khroom khraam/. In the latter case, the vowels of both syllables must be in a certain vowel patterning and both syllables must co-occur to form the meaning of the reduplicative i.e. / 1 ‘related’ means the meaning which adds the speaker’s feeling or thought about the thing, person or manner to the meaning expressed in the main syllable. The thesis is devided into five chapters with two appendixes. Chapter one describes the purposes and the scope of the study. Chapter two is a review of the studies on reduplicatives in Thai and foreign languages. Chapter three is study of the vowel patternings in the disyllabic reduplicatives in Thai. Chapter four shows the correlation between vowel patternings and meanings of reduplicatives. Chapter five contains the conclusion, and some observations as well as some suggestions for further studies along the same line. The study reveals that there are two main types of vowel patternings. The first pattern is productive-it has no restriction for the vowel in the main syllable nor any restriction in terms of word class. The vowel in the reduplicated syllable however must be mid-central vowel i.e. //, low-front vowel i.e. // or mid-back-short vowel /o/ with the the final consonant / / . For example, /kin krn/ /dii daa /non nan /. The other main pattern is not as productive-it has restriction for both vowels which must co-occur to form the reduplicative. Also, there is a restriction for the word class: only intransitive verb adjective or adverb can undergo this pattern. The vowel patternings of reduplicatives must be either back vowel-front vowel or high or mid vowel-low vowel. For example, /jook jeek/ /kriit kraat/. Probably due to this vowel restriction, this pattern does not occur as much as the first pattern. However. it serves a potential patterning for reduplication. It has been found that there are two main types of meanings for these two types of vowel patternings. Each requires certain vowel patternings. The first meaning gives the speaker’s negative attitude about things or persons. The patterning for this meaning is the first type of vowel patterning i.e. no restriction for the vowel in the main syllable but /r/, / / or /on/ in the reduplicated syllable. The second meaning gives the speaker’s feeling about the thing or person. This thing or person is expressed in the construction of N+modifiers in which the modifiers are reduplicatives. The vowel patterning of this meaning is the second type of vowel patteming i.e. restriction for both vowels which must co-occur to form the redulicatives. This second meaning is devided into five sub-meanings : the intensification of the meaning of the main syllable which is about manner; the intensification of the meaning of the main syllable which is about the sound; the intensification of the meaning of the main syllable with some modification of it; meaning expressing aspects of sound and meaning expressing aspects of manner.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27567
ISBN: 9745621218
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apiradee_Ud_front.pdf525.85 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ud_ch1.pdf362.03 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ud_ch2.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ud_ch3.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ud_ch4.pdf659.82 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ud_ch5.pdf465.75 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ud_back.pdf405.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.