Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพานิช เสือสกุล
dc.contributor.authorอรณา ศันสนะกุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-11T20:14:44Z
dc.date.available2012-12-11T20:14:44Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27569
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractเนื่องจากสวนยางพาราในประเทศไทยเราส่วนมากเป็นสวนยางเก่า ที่หมดสภาพสวนในด้านการเกษตรแล้ว ตามปกติต้นยางจะให้น้ำยางเพียงอายุประมาณ 32 ปี หลังจากนั้นต้องปลูกทดแทนใหม่ แต่ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เกษตรกรมักไม่ค่อยเอาใจใส่คงปล่อยต้นยางไว้แม้จะหมดสภาพสวนแล้วก็ตาม และส่วนมากจะปลูกยางพันธุ์เก่าหรือพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งให้ผลผลิตต่ำ ทางราชการได้เริ่มให้การสงเคราะห์การปลูกต้นยางพันธุ์ดีแทนต้นยางเก่า ตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน รวมกับที่เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดีโดยมิได้รับการสงเคราะห์จากทางราชการ ปรากฏว่าขณะนี้ประเทศไทยมีสวนยางพันธุ์ดีประมาณ 2.8 ล้านไร่ จากเนื้อที่เพาะปลูกยางทั้งประเทศประมาณ 9.8 ล้านไร่ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการปลูกยางพันธุ์ดีให้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้น ให้มีการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดีทั่วประเทศก่อนที่ยางใหม่ที่ปลูกทดแทนนั้นกลายเป็นยางเก่าไปในขณะที่การปลูกทดแทนยางเก่ายังไม่หมด จึงจำเป็นที่จะต้องรีบดำเนินการเร่งรัดการปลูกแทนให้มีมากขึ้น จึงต้องอาศัยแหล่งเงินพิเศษมาช่วยเหลือเพิ่มเติมนอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับอยู่แล้ว เพื่อใช้ดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ การเร่งรัดการปลูกแทน 1 ล้านไร่ ภายใน 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2520 ถึง 2523 โดยแหล่งเงินกู้นั้นมาจากธนาคารโลก 50 ล้านเหรียญสหรัฐและจากบรรษัทพัฒนาการแห่งเครือจักรภพ เป็นเงิน 3.4 ล้านปอนด์สเตอร์ริงก์ (8 ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราดอกเบี้ย 8.5% ต่อปี กำหนดชำระคืนภายใน 22 ปี รวมระยะปลอดหนี้ 7 ปี ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงผลตอบแทนของการลงทุนจากการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ในประเทศไทยเพื่อที่จะนำมาเปรียบเทียบกับประโยชน์หรือผลดีที่เกิดจากการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการนี้ จากผลการศึกษาการปลูกยางพันธุ์ดีในประเทศไทย ปรากฏว่าตั้งแต่เริ่มปลูกจนอายุประมาณ 7 ปี จึงเริ่มกรีดเอาน้ำยางได้ น้ำยางที่ได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุของต้นยาง การพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุนปลูกยางพารานั้น โดยพิจารณาจากค่าของ B/C ratio และ IRR จะพบว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ คือให้ค่า B/C ratio ที่มากกว่า 1 และให้ค่า IRR ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของท้องตลาดในปัจจุบัน คือให้ค่า IRR ถึง 17.25% เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของท้องตลาดในปัจจุบัน คือให้ค่า IRR ถึง 17.25% เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศคือ 8.5% ค่า IRR ที่คำนวณได้นี้ก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่ามาก ย่อมแสดงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เงินกู้นี้มีมากเมื่อหมดอายุของการลงทุน ในด้านการสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวสวนยางให้มีการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดีกันให้มากขึ้น ราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำที่ชาวสวนยางควรจะได้รับ คือ 17.02 บาท เมื่ออัตราดอกเบี้ย 15% เปรียบเทียบกับราคาที่เป็นจริงในปัจจุบันประมาณ 19.00-20.30 บาท ย่อมแสดงถึงว่าชาวสวนยางสามารถดำรงชีพด้วยการทำสวนยางต่อไปได้อย่างสุขสบาย และอายุที่เหมาะสมของการปลูกทดแทนที่คำนวณได้จากการศึกษานี้คือ 24 ปี ดังนั้น ชาวสวนยางจึงไม่ควรปล่อยสวนยางให้มีต้นยางเก่าและแกที่มีอายุมากไว้เพื่อจะได้ไม่ต้องสูญเสียโอกาสจากการที่จะได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นในอนาคต จะเห็นได้ว่าเมื่อพิจารณาทางด้านความเหมาะสมของการลงทุนจากการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดีแล้วก็จะเป็นการลงทุนประเภทหนึ่งที่ให้ผลคุ้มคาแก่การลงทุน
dc.description.abstractalternativeMost of the rubber trees in Thailand are of low-yielding varieties and are now approaching their productivity which has already declining or retiring ages. In general, the productive life of a rubber tree is 32 years after which they should be replanted. Evidences have shown that most rubber growers in Thailand have not yet been interested in solving in this problem. The government, on the other hand, has launched a rubber replanting program since 1961. At present, Thailand has already replanted 2.8 million rais of rubber or approximated 28 percent of the total rubber growing area of about 9.8 million rais. To expedite the rubber replanting program, a special fund to achieve the replanting target of I million rai within 4 years starting from 1977 to 1980 was obtained of which 50 million US. $ from the world bank and from CDC. 3.4 million pounds (8 million US $) at an interest of 8.5 percent per annum, a pay back period of 22 years and a grace period of 7 years. To come up with a firm support of the foregoing investment decision, this thesis emphasized mainly on the economic return of rubber replanting investment in Thailand vis-à-vis the borrowing of the special aid fund to operate the program. Results from the study show that most rubber trees start to produce latex from the 7th year. Of their life span on and the magnitude of the yield depends on the age of rubber trees. With reference to the results from the economic feasibility study of the replanting investment, it was found that this gives A B/C ratio of greater than one and an IRR. Of 17% which is greater than the foregoing market rate of return to capital of 15%. This value of 17% IRR, when compared with the borrowing interest rate of 8.5 shows that it is economic feasible to make use of the special aid fund. Besides, it was also found that the rubber growers’ self confidence in rubber replanting could be enhanced if the minimum or the quaranteed prices of could be kept over 17.02 baht/kg. At the interest rate of 15%. With the no-going market price of about 19.00-20.30 baht/kg., rubber growers in Thailand can proceed with their rubber production without any trouble. The optimum age of rubber replanting found in this study is 24 years. In other words, if rubber growers are maximized income, they should replace their old rubber trees with new ones at the age of 24. From this results we can conclude that the rubber replanting investment is economically sensible for all investors.
dc.format.extent457328 bytes
dc.format.extent519718 bytes
dc.format.extent1047006 bytes
dc.format.extent1050387 bytes
dc.format.extent993040 bytes
dc.format.extent381875 bytes
dc.format.extent450536 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์ผลตอบแทนของการลงทุนจากการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ในประเทศไทยen
dc.title.alternativeAnalysis of return on rubber replanting investment in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aurana_Sa_front.pdf446.61 kBAdobe PDFView/Open
Aurana_Sa_ch1.pdf507.54 kBAdobe PDFView/Open
Aurana_Sa_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Aurana_Sa_ch3.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Aurana_Sa_ch4.pdf969.77 kBAdobe PDFView/Open
Aurana_Sa_ch5.pdf372.92 kBAdobe PDFView/Open
Aurana_Sa_back.pdf439.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.