Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27592
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภา โรจน์นครินทร์
dc.contributor.advisorมัลลิกา บุนนาค
dc.contributor.authorอรพินท์ ตั้งบรรเจิดกุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-13T08:06:33Z
dc.date.available2012-12-13T08:06:33Z
dc.date.issued2523
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27593
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “การใช้มาตรฐานทางสถิติวัดระดับความยากจนของครัวเรือนในประเทศไทย” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาหาระดับความยากจนของครัวเรือนในประเทศไทย โดยแจกแจงตามเขตภูมิศาสตร์เป็น 4 ภาคและ 1 เขต คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) ภาคใต้และเขตกรุงเทพมหานคร (รวมนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) ในแต่ละภาคจะแจกแจงตามเขตการปกครอง (ประเภทของชุมชน) ออกเป็น 3 เขต คือ ในเขตเทศบาล ในเขตสุขาภิบาล และนอกเขตเทศบาล และในแต่ละเขตการปกครองจะจัดกลุ่มครัวเรือนออกเป็น 3 กลุ่ม ตามขนาดของครัวเรือน (จำนวนสมาชิกของครัวเรือน) ดังนี้คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 1-3 คน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 4-6 คน และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป การวิจัยเริ่มต้นด้วยการศึกษาถึงความสัมพันธ์ (relationship) ระหว่างค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อครัวเรือน กับรายได้ตามปกติต่อเดือนของครัวเรือน ในแต่ละเขตการปกครองและในแต่ละกลุ่มครัวเรือน โดยนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และระเบียบวิธีทางสถิติมาประยุกต์ใช้กับข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลระดับครัวเรือนซึ่งมีจำนวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมด 11,512 ครัวเรือน แจกแจงตามภาค เขตการปกครอง และกลุ่มครัวเรือน ดังแสดงในตารางที่ 3.1 จากข้อมูลในแต่ละเขตปกครองและกลุ่มครัวเรือน ได้นำมาวิเคราะห์หาสมการความถดถอย (regression equation) ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (ordinary least square) โดยมีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical model) 2 แบบ คือ linear form และ double-logarithmic form เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับสมการความถดถอย (regression equation) ที่แสดงการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนในแต่ละเขตการปกครองและกลุ่มครัวเรือนว่าอยู่ในรูปแบบใด ผลการศึกษาสรุปได้ว่าแบบจำลอง (model) ที่เหมาะสมสำหรับสมการความถดถอย (regression equation) ที่แสดงการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในแต่ละเขตการปกครองและกลุ่มครัวเรือน คือ double-logarithmic form ยกเว้นบางกลุ่มครัวเรือนซึ่งมีเป็นส่วนน้อยที่ linear form เหมาะสมกว่า ในการศึกษาหาระดับความยากจน (poverty line) ครั้งนี้ ถือว่าแบบจำลอง (model) ที่เหมาะสมสำหรับทุกเขตการปกครองและกลุ่มครัวเรือน คือ double-logarithmic form จากการคำนวณหาค่าประมาณของสัมประสิทธิ์ความถดถอยในแต่ละสมการความถดถอยแบบ double-logarithmic form สามารถนำมาใช้ในการคำนวณหาค่าระดับความยากจนได้นั่นคือหา จุดเสมอตัว (break even point) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดให้เห็นระดับที่รายได้ตามปกติของครัวเรือนมีความเพียงพอกับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ซึ่งได้แสดงไว้ในตารางที่ 3.8.1 ถึงตารางที่ 3.8.5 เมื่อคำนวณค่า “ระดับความยากจน” ในแต่ละเขตการปกครองและกลุ่มครัวเรือนซึ่งมีประมาณร้อยละ 68.14 ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศที่ยากจนได้แล้ว ได้ทำการประมาณหาอันตรภาคความเชื่อมั่นของระดับความยากจน (confidence interval of poverty line) ซึ่งได้แสดงไว้ในตารางที่ 3.9.1 – 3.9.5 เพื่อเป็นประโยชน์แก่รัฐบาล จะได้เกิดความคล่องตัวและทราบระดับของความเชื่อมั่น (confidence level) ในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่จะทำการช่วยเหลือครัวเรือนที่ยากจน โดยสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ การสาธารณูปโภค และอื่นๆ เพื่อเป็นการยกระดับการครองชีพของประชากรให้ดีขึ้น
dc.description.abstractalternative“The Use of Statistical standard to Measure Poverty among Households in Thailand” is a quantitative research in order to study the poverty line of households in Thailand. The research is divided geographically into 4 regions and 1 area, Northern, Northeastern, Central (excluding Bangkok, Nonthaburi, Pathumthani and Samutprakan), Southern Region and Bangkok Metropolitan Area (including Nonthaburi, Pathumthani and Samutprakan). Each region and area are classified as households living in Municipal Area, Sanitary Districts and Villages, and for each community type is further. Classified into 3 groups of household sizes (household membership), group 1 consists of 1-3 members group 2 consists of 4-6 members and group 3 consists of 7 members and upwards. The research starts with the study of relationship between the monthly household consumption expenditure and the monthly current income of each community type and of each group of household size. By using household as a sampling unit, the economic theory and statistical methods are applied. Table 3.1 shows the distribution of 11,512 household samples by region and area. For each community type and group of household size, the analytical process goes on by estimating regression equation using method of ordinary least square. Two mathematical models, namely, linear form and double-logarithmic form, are in consideration, to search for suitable regression equation. From the results obtained, it is found that double-logarithmic form is more suitable than linear form, except for some groups of household sizes, the linear form is better. In studying poverty line, using double-logarithmic form, break even point or poverty line is computed by setting the monthly household consumption expenditure equal to the monthly current income. The poverty line will indicate how much money one must earn in order to cover for household consumption expenditure. The data distributed by region, area and community type is show in Table 3.8.1 – 3.8.5. After obtaining the poverty line, 95% confidence interval of the poverty line for each community type and each group of household are computed and also the number of peer household can be estimated. It is found that the number of-poor household is 68.14 percent of all household in the country. These data are much helpful to the government, especially in setting policy concerning the guidelines in the matter of fixing the minimum wage, public utilities etc. to raise the living standard.
dc.format.extent648113 bytes
dc.format.extent552728 bytes
dc.format.extent1355636 bytes
dc.format.extent765165 bytes
dc.format.extent1451929 bytes
dc.format.extent771714 bytes
dc.format.extent937958 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้มาตรฐานทางสถิติวัดระดับความยากจนของครัวเรือนในประเทศไทยen
dc.title.alternativeThe use of statistical standard to measure poverty among households in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถิติการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oraphin_Ch_front.pdf632.92 kBAdobe PDFView/Open
Oraphin_Ch_ch1.pdf539.77 kBAdobe PDFView/Open
Oraphin_Ch_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Oraphin_Ch_ch3.pdf747.23 kBAdobe PDFView/Open
Oraphin_Ch_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Oraphin_Ch_ch5.pdf753.63 kBAdobe PDFView/Open
Oraphin_Ch_back.pdf915.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.