Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/275
Title: ผลของการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน ต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ และต่อการพัฒนาเมตาคอคนิชันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of learning science by using metacognitive strategies on scientific problem solving ability and metacognition development of lower secondary school students
Authors: พัทธ ทองต้น, 2518-
Advisors: พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: เมตาคอคนิชัน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน
นักเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาเมตาคอคนิชันของนักเรียน ที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน และกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์แบบปกติ ตัวอย่างประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนวิทยาศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.85 ค่าความยากอยู่ในระดับ 0.34-0.63 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในระดับ 0.20-0.33 2) แบบวัดเมตาคอคนิชัน ที่มีความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์หลังการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ สูงกว่า 60% 2. นักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนวิทยาศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน มีการพัฒนาเมตาคอคนิชัน โดยมีเมตาคอคนิชันหลังการเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: To study scientific problem solving ability and metacognition development of the students learning science by metacognitive strategies and to compare scientific problem solving ability of lower secondary school students between the group learning science by using metacognitive strategies and conventional method. The samples were two groups of matthayom suksa three students of Chulalongkorn University Demonstration School with 30 students in each group. One group was an experimental group learning science by using metacognitive strategies. The other was the controlled group learning by conventional method. The research instruments were 1) a scientific problem solving ability test with reliability was 0.85, the difficulty levels were 0.34-0.63 and the discrimination levels were 0.20-0.33 2) the metacognition test which have content validity. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, means of percentage and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The students who learned science by using metacognitive strategies had scientific problem solving ability after learning higher than the criteria of 60%. 2. The students who learned science by metacognitive strategies had scientific problem solving ability higher than those learning by conventional method at the 0.05 level of significance. 3. The students who learned science by metacognitive strategies had metacognition development by having metacognition after learning higher than before learning at the 0.05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/275
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.681
ISBN: 9741797427
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.681
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patt.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.