Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27620
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง "ลมมรสุม" สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Construction of a programmed lesson on "Monsoon" for mathayom suksa two students
Authors: อรทัย เต็มบุญเกียรติ
Advisors: ลาวัฒน์ วิทยาวุฒิธิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “ลมมรสุม” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่สอง และหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามมาตรฐานร้อยละ 90/90 การวิจัยได้ดำเนินเป็นขั้น ๆ กล่าวคือ ตั้งจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมของบทเรียน แล้วสร้างแบบสอบให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ เพื่อนำไปทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรม ขั้นต่อไปจึงสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “สมมรสุม” แล้วนำบทเรียนนั้นไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง โดยทำการทดลองตามลำดับขั้น คือ ขั้นทดลองหนึ่งคน นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขั้นทดลองกลุ่มเล็ก นักเรียนโรงเรียนผดุงดรุณี จำนวน 10 คน และขั้นตอนทดลองภาคสนาม นักเรียนโรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จำนวน 100 คน ต่อจากนั้นก็นำผลการเรียนมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนตามมาตรฐานร้อยละ 90/90 ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 92.81/89.45 และเมื่อนักเรียนเรียนบทเรียนโปรแกรมที่สร้างขึ้นแล้ว ปรากกฎว่ามีพัฒนาการในการเรียน เรื่อง “ลมมรสุม” อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of the research were to construct a programmed lesson on “Monsoon” for Matayom Suksa Two students and to find out the effectiveness of this lesson according to the 90/90 standard. Research procedures and activities were carried out in the following steps : defining the general and behavioral objectives of the lesson, constructing a test for using as the pretest and post-test, constructing the programmed lesson on “Monsoon”, and trying out the programmed lesson with Matayom Suksa Two students. The three steps in the experiment were one to one testing with the students of Chulalongkorn Demonstration School, group testing with Padoongdarunee School students, and field testing with one kindred students of Arrunpradit School; and determining the efficiency of the programmed lesson with the 90/90 standard. The application of the 90/90 standard showed that the efficiency of the constructed programmed lesson was 92.81/89.45 and the student learning on “Monsoon” had been significantly improved at the level of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27620
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orathai_Te_front.pdf398.06 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_Te_ch1.pdf620.99 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_Te_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_Te_ch3.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_Te_ch4.pdf474.74 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_Te_ch5.pdf350.15 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_Te_back.pdf905.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.