Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐนิภา คุปรัตน์
dc.contributor.authorสมชาย วิเชียรเลิศ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-13T18:31:06Z
dc.date.available2012-12-13T18:31:06Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27636
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาวิธีดำเนินการพัฒนาครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อสำรวจความต้องการของจังหวัดบุรีรัมย์และของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์เกี่ยวกับการพัฒนา 3. เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ วิธีดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาแผนและโครงการอบรมครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ในปี 2521 และ 2523 2. ศึกษาความต้องการของจังหวัดบุรีรัมย์และความต้องการของครูใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ได้ข้อมูลจากผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดและหัวหน้าฝ่ายวางแผนและพัฒนา และครูใหญ่ 530 คน นำข้อมูลการสำรวจมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสัมภาษณ์โดยสัมภาษณ์ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดและหัวหน้าฝ่ายวางแผนและพัฒนา และแบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาทักษะการบริหารงานของครูใหญ่ด้วย 3. กำหนดรูปแบบการพัฒนาครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ 1. ส่วนการศึกษา (สำนักงานการประถมศึกษา) จังหวัดบุรีรัมย์ได้จัดโครงการอบรมครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาขึ้น 2 โครงการ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะการบริหารงานและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่ครูใหญ่ด้วย ครูใหญ่ที่เข้ารับการอบรมรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดระยะเวลาที่มีการอบรมทั้ง 3 วัน หลักสูตรการอบรมครอบคลุมการบริหารโรงเรียนทุกด้าน ส่วนเทคนิคการอบรมนั้นใช้วิธีการบรรยายและอภิปรายกลุ่ม 2. สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์มีนโยบายให้ครูใหญ่ได้เพิ่มพูนความรู้ และทักษะการบริหารงานโดยการฝึกอบรม โดยให้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบโครงการอบรมเป็นประจำทุกปี ปีละ 3 รุ่น รุ่นละ 30 – 50 คน และผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาได้นั้น จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารโรงเรียนเสียก่อน 3. ความต้องการในการพัฒนาทักษะการบริหารงาน 3 ด้าน คือ ด้านเทคนิค ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านคตินิยม พบว่า ครูใหญ่ส่วนมาก มีความต้องการพัฒนาทักษะดังกล่าวในระดับมาก ในด้านการดำเนินการ ครูใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ควรจัดงบประมาณสนับสนุน การจัดกิจกรรมพัฒนา และเห็นควารให้จัดโครงการพัฒนาเป็นโครงการตลอดปีการศึกษา ใช้ระยะเวลาตามความจำเป็นในระหว่างปิดภาคเรียน โดยวิธีจัดประชุมสัมมนา หรือ เชิญวิทยากรมาบรรยายเป็นครั้งคราวก็ได้ครูใหญ่ส่วนมากยังต้องการลาศึกษาต่อทางการบริหารการศึกษาด้วยและครูใหญ่ส่วนมากต้องการให้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอได้มีการดำเนินการประเมินผลและติดตามผลอย่างจริงจังโดยใช้แบบสอบถามสังเกตและสัมภาษณ์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา ได้ดำเนินการตามกระบวนของรูปแบบการพัฒนาที่ผู้วิจัยได้เสนอไว้คือหาความจำเป็นหรือต้องการในการพัฒนา กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดหลักสูตร กำหนดรูปแบบการพัฒนา ดำเนินการพัฒนา ประเมินการติดตามผลการพัฒนา
dc.description.abstractalternativePurposes of the Study 1. To study the procedures of principal development of the Buri Ram Elementary Education Office. 2. To survey the needs of the Buri Ram province of principals concerning the principal development in the Buri Ram Elementary Education Office. 3. To suggest a personnel development model for principals of the Buri Ram Elementary Education Office. Methods and Procedures This research was divided into 3 stages as follows : 1. To study the Buri Ram elementary education office’s plans and training programs for principals development in 1978 and 1980. 2. To identify the needs of the Buri Ram province for principals development and the principals’ need for administrative skill. Data were obtained from the director of the Buri Ram elementary education office, the chief of the division of planning to development, and the 530 elementary school principals by using an interviewing form and survey form. The principals’ need were determine by using percentage analysis. 3. To set up a personnel development model for principals of the Buri Ram elementary education office. Findings and Recommendations 1. The Buri Ram education division (The Buri Ram Elementary Education Office) had two principals training programs to give some knowledge in administrative skills and to contribute to the principals morale in their duties. The principals spent their own money in attending the two training programs which lasted three days in each program. The contents of the training programs covered all school administrative task area. The training techniques were lecture and group discussion. 2.The Buri Ram elementary education policy was to giver principals knowledge and skills in administrative task area by training. It was the district elementary education office’s responsibility to set up training programs in a group of 30 to 50 principals and there should not be over three programs per year. Every prospective elementary school principal had to attend this training program. 3. The principals’ need to develop the skills in three administrative tasks were technical skill, human skill and conceptual skill. Most principals indicated their needs to develop those skills in a high level. They agreed that the Buri Ram elementary education office should prepare some budget to support every training program and set up training programs continuously in every academic year. The training programs should take place during school recessions and the length of time of the programs should be varied. The methods used to the principals development programs could be conference, seminar or lecture. Most of principals administration. They suggested that the programs should be evaluated and followed up by the district elementary education office staff by distributing questionnaires, observing, and interviewing. From the results of this research, it was recommended to the district elementary education office staff that a personnel development model for principals should include the needs of principal development, identifying the objectives, curriculum planning, model and processes for the development, evaluation and follow up study.
dc.format.extent524931 bytes
dc.format.extent582459 bytes
dc.format.extent999384 bytes
dc.format.extent608536 bytes
dc.format.extent882968 bytes
dc.format.extent898754 bytes
dc.format.extent913353 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleรูปแบบการพัฒนาครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์en
dc.title.alternativeA personnel development model for principals of the Buri Ram Elementary Education Officeen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_Wi_front.pdf512.63 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Wi_ch1.pdf568.81 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Wi_ch2.pdf975.96 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Wi_ch3.pdf594.27 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Wi_ch4.pdf862.27 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Wi_ch5.pdf877.69 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Wi_back.pdf891.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.