Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27660
Title: การเปรียบเทียบความเที่ยงและความตรงของแบบสอบสัมฤทธิผล แบบเลือกตอบและแบบถูกผิด
Other Titles: A comparison of reliability and validity of multiple choice and true-false achievement tests
Authors: องุ่น มณีดำ
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) หาค่าอัตราส่วนของจำนวนข้อกระทงแบบถูกผิดต่อแบบเลือกตอบที่นักเรียนทำได้ในเวลาเท่ากัน (2) เปรียบเทียบค่าความเที่ยงของแบบสอบแบบเลือกตอบและแบบถูกผิดเมื่อใช้เวลาในการสอบเท่ากัน (3) เปรียบเทียบค่าความตรงของแบบสอบถามแบบเลือกตอบและแบบถูกผิด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบสัมฤทธิผลวิชาวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 แบบ คือ แบบเลือกตอบ แบบถูกผิดที่แปลงมาจากแบบเลือกตอบโดยวิธีพิจารณาค่าอำนาจจำแนกของตัวลวง และแบบถูกผิดที่แปลงมาจากแบบเลือกตอบโดยวิธีสุ่ม ส่วนเกณฑ์สำหรับหาความตรงของแบบสอบทั้ง 3 แบบดังกล่าว ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบสัมฤทธิผลวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของจังหวัดราชบุรี เป็นหลัก สำหรับกลุ่มตัวอย่างประชากรได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 570 คน ซึ่งสุ่มมาจากโรงเรียน 5 แห่ง ในจังหวัดราชบุรี วิธีเก็บข้อมูลในการสุ่มตัวอย่าง คือให้นักเรียนแต่ละคนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบเพียงแบบเดียวเท่านั้นจาก 3 แบบที่กำหนดให้แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติต่อไปนี้ (1) หาค่าอัตราส่วนของจำนวนข้อกระทงแบบถูกผิดต่อแบบเลือกตอบที่นักเรียนทำได้ในเวลา 10 นาทีแรกของการสอบ (2) หาค่าความเที่ยงของแบบสอบแต่ละแบบโดยใช้สูตรคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 แล้วปรับค่าความเที่ยงของแบบสอบแบบถูกผิดด้วยสูตรของสเปียร์แมนบราวน์ (3) หาค่าความตรงของแบบสอบโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (4) เปรียบเทียบค่าความเที่ยงและความตรงของแบบสอบโดยเปลี่ยนเป็นสัมประสิทธิ์ซีของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. อัตราส่วนของจำนวนข้อกระทงแบบถูกผิดที่แปลงมาจากแบบเลือกตอบโดยวิธีพิจาณาค่าอำนาจจำแนกของตัวลวง ต่อแบบเลือกตอบ และอัตราส่วนของแบบถูกผิดที่แปลงมาจากแบบเลือกตอบโดยวิธีสุ่ม ต่อแบบเลือกตอบ มีค่าเป็น 1.41 : 1 และ 1.5 : 1 ตามลำดับ 2. ค่าความเที่ยงของแบบสอบแบบเลือกตอบกับแบบถูกผิดหลังจากปรับ ให้ใช้เวลาในการสอบเท่ากัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง ค่าความตรงของแบบสอบแบบเลือกตอบกับแบบสอบแบบถูกผิด ที่แปลงมาจากแบบเลือกตอบโดยวิธีพิจารณาค่าอำนาจจำแนกของตัวลวง (p> .05) แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างค่าความตรงขอบแบบสอบแบบเลือกตอบกับแบบสอบแบบถูกผิดที่แปลงมาจากแบบเลือกตอบโดยวิธีสุ่ม
Other Abstract: The purposes of this study were : (1) to determine the ratio of number of the true-false to the multiple-choice items which the subject had attempted to obtain in one period of time ; (2) to compare the reliability and the validity of the multiple-choice and the true-false tests. The instrument used included three forms of the General Science Achievement Test constructed by the researcher. The first one was a multiple-choice from; the second was a true-false formant converted from multiple choices by considering the discrimination power of distractors. The third was a true-false format converted from multiple choices by randomizing the items. The General Science Achievement Test for Mattayomsuksa III students from Rajburi Province Test Bureau was used as a criterion for determining the concurrent validity of all tests constructed. The subjects were 570 Mattayomsuksa III students from 5 secondary schools in Rajburi. Each subject was randomly responded to one of three formats or tests. The data obtained after the first 10 minutes of taking the test were processed to estimate the ratio of number of the true-false items to the multiple-choice items. The Kuder-Richardson Formula 20 was used to estimate the reliability of each test form. The adjusted reliability of the true-false tests was determined by using the Spearman-Brown Formula. The Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient was also used to determine the validity of each test. The reliability and the validity of all tests were next transformed to the Fisher’s Z Coefficient, and they were then compared. The results of study were: 1. The ratic between number of items of the true-false test converted by considering the discrimination power of dis-tractors and the ratio between number of those items of the true-false test converted by randomizing the items to the multiple-choice test were 1.41 : 1 and 1.5 : 1 , respectively. 2. The reliability of the multiple-choice test was significantly different from the other two forms of the true-false tests at a .01 level after adjusted to equate testing time. 3. There was no significant difference between the validity of the multiple-choice test and that of the true-false test converted by considering discrimination power of its dis-tractors. By contrast, there was a significant difference at a .05 level between the validity of the multiple-choice test and that of the true-false test converted by randomizing the items.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27660
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
A-ngoon_Ma_front.pdf391.06 kBAdobe PDFView/Open
A-ngoon_Ma_ch1.pdf485.97 kBAdobe PDFView/Open
A-ngoon_Ma_ch2.pdf925.27 kBAdobe PDFView/Open
A-ngoon_Ma_ch3.pdf462.45 kBAdobe PDFView/Open
A-ngoon_Ma_ch4.pdf366.92 kBAdobe PDFView/Open
A-ngoon_Ma_ch5.pdf566.91 kBAdobe PDFView/Open
A-ngoon_Ma_back.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.