Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27665
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์คำประสมในภาษาไทย
Other Titles: An analytical study of compound words in Thai
Authors: อนงค์ เอียงอุบล
Advisors: นววรรณ ตันธุเมธา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มุ่งหมายที่จะศึกษาเกณฑ์ในการพิจารณาคำประสมและศึกษาวิเคราะห์ลักษณะส่วนประกอบ หน้าที่ และความหมายของคำประสม ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า คำประสมจะต้องเป็นคำที่เกิดจากหน่วยคำอิสระที่มีความหมายต่างกัน ตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นไปประกอบกัน คำประสมแต่ละคำจะต้องมีส่วนประกอบ 2 ส่วน แต่ละส่วนนั้นอาจจะเป็นหน่วยคำอิสระ หรือเป็นหน่วยคำอิสระซึ่งประกอบกันเป็นกลุ่มคำ คำประสม หรือคำซ้อนก็ได้ ส่วนประกอบแต่ละส่วนจะต้องทำหน้าที่ร่วมกันเป็นคำเดียว ในเรื่องส่วนประกอบ หน้าที่และความหมายของคำประสมนั้น พบว่า คำประสมจะประกอบด้วยคำตั้งแต่ 2-5 คำ คำเหล่านี้จะได้แก่คำในหมวดคำต่าง ๆ 7 หมวด คำที่นำมาประกอบกันนั้น มีความสัมพันธ์ตามลำดับชั้น เป็น 2 แบบ คือแบบหนึ่งประกอบด้วย ส่วนหลัก + ส่วนขยาย และอีกแบบหนึ่งประกอบด้วย ส่วนหลัก + ส่วนหลัก คำประสมมีทั้งประเภททำหน้าที่เพียงอย่างเดียวและทำหน้าที่ได้หลายหน้าที่ ความหมายของคำประสมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คำประสมที่เป็นชื่อ และคำประสมที่หมายถึงกิริยาอาการ งานวิจัยแบ่งออกเป็น 6 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึงความมุ่งหมายและขอบเขตของการวิจัย บทที่ 2 ว่าด้วยความเป็นมาของการศึกษาและวิจัยคำประสม บทที่ 3 – 5 เป็นการศึกษาวิเคราะห์เกณฑ์ในการพิจารณาคำประสม ส่วนประกอบ หน้าที่ และความหมายของคำประสม โดยจำแนกคำประสมตามลักษณะส่วนประกอบ หน้าที่ และความหมายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง ในบทสุดท้ายเป็นการสรุปผลการวิจัย และเสนอเประเด็นที่น่าสนใจที่ยังมิได้เสนอไว้ในวิทยานิพนธ์นี้ เพื่อให้ผู้สนใจได้ค้นคว้าต่อไป นอกจากนั้น ยังมีภาคผนวกซึ่งเสนอรายคำคำประสมที่จำแนกประเภทตามหน้าที่และความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นของคำเดี่ยว ซึ่งเป็นส่วนประกอบของคำประสม
Other Abstract: This thesis aims to study the criteria used to determine a compound word and to analyse its composition, function and meaning. The research reveals that the main criterion to determine a compound word is that a compound word must be composed of at least two morphemes and that it must have two constituents. Each constituent may be a free morpheme or a phrase, a compound or double world, which is composed of free morphemes. Whatever the constituents are, they must co-function as one word. As for the composition of a compound word, a compound word may consist of two to five words which are from seven classes of words. These words are in two forms of hierarchical relationships : head-attributes, and head-head. Compound words can be divided into two groups : one with a single function and the other with several functions. As far as the meaning is concerned, compound words can roughly be divided into two groups ; names and actions. The findings are described in six chapters. Chapter 1 states the purpose of this study. Chapter 2 presents the historical background of the study and research on compound words. Chapter 3 to 5 analyse the criteria used to determine compound word, their compositions, function and meaning. In the final chapter a summary of the finding is given and several interesting points which are not studied in the thesis are suggested for further research. At the end, an appendix is included. It presents a list of compound words grouped according to their functions and the hierarchical relationships between their compositions.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27665
ISBN: 9745617393
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_Ia_front.pdf364.77 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ia_ch1.pdf277.39 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ia_ch2.pdf807.79 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ia_ch3.pdf461.14 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ia_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Anong_Ia_ch5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Anong_Ia_ch6.pdf474.4 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ia_back.pdf751.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.